วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

บทสัมภาษณ์ "ใจ อึ๊งภากรณ์" ที่มีต่อระบบ SOTUS

สืบเนื่องจากสารคดี โซตัส ระบบที่ต้องการคำอธิบาย ใน ผู้จัดการปริทรรศน์ มีการระบุส่วนหนึ่งของคำกล่าวจากอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ ที่วิเคราะห์และกล่าวถึงข้อเสียของระบบนี้ ทางเราเห็นว่าการวิเคราะห์ของอาจารย์ในส่วนดังกล่าวนั้นอาจจะยังไม่กระจ่าง และสามารถตอบคำถามมากพอกับคนที่ยังสงสัยในการหาทางออกของเรื่อง SOTUS ในแง่ของกลุ่มผู้ที่คัดค้าน อีกทั้งเนื้อความที่นำเสนอไปก่อนนั้นเป็นแต่เพียงการตัดตอนไปบางส่วน จึงขอนำเสนอบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มไว้ ณ ที่นี่

อาจารย์คิดว่าสถานการณ์เรื่องการใช้ระบบโซตัสปัจจุบันเป็นอย่างไร?

หลัง ยุค 14 ตุลาคม ซึ่งนักศึกษาหัวก้าวหน้า แต่ตอนหลังมันเปลี่ยน มีการนำระบบโซตัสเข้ามา มีการนำระบบแกล้งน้อง รับน้องใหม่ ที่จุฬาฯ นี่หนัก หลายๆ สถาบันก็หนัก

หลายคนบอกว่าระบบนี้จำเป็น?

มัน เป็นระบบสร้างเผด็จการ เป็นกบฏแบบเผด็จการในสังคม เป็นการกล่อมเกลานักศึกษาไม่ให้คิดเองเป็น เป็นระบบที่ใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อที่จะกล่อมเกลาให้คน เชื่อฟัง เป็นการผลิตซ้ำระบบความรุนแรงในสังคม นี่เป็นสิ่งสะท้อนการกลับมาของพวกแนวปฏิกิริยาอนุรักษ์นิยมหลัง 6 ตุลาคม 2519

มองได้หรือไม่ว่านี่คือระบบการเปลี่ยนผ่านเพื่อเข้าสู่สังคมมหาวิทยาลัย?

นี่ เป็นการเมืองล้วนๆ ประเทศที่ขบวนการนักศึกษาของเขาสามารถคิดได้เองเขาไม่ได้ทำงี่เง่าแบบนี้ อังกฤษก็มี ยุโรปก็ไม่มี นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศที่เจริญแล้วเขาไม่แต่งเครื่องแบบ เวลาเขามาดูเมืองไทยเขาบอกว่าเหมือนเด็ก เขาไม่เห็นกระบวนการ SOTUS ถ้าเขาเห็นเขาจะมองว่าเหมือนกับระบบทาส

เราพอจะมีข้อมูลแค่ว่าโซตัสมาจากอเมริกา และฟิลิปปินส์?

มัน มาจากสหรัฐ เป็นการกล่อมเกลานักศึกษาในสหรัฐ ซึ่งมาจากประเพณีในสถาบันที่ล้าหลัง เน้นการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เป็นเรื่องของทหาร บางส่วนก็มาจากสถาบันการฝึกทหารในยุโรปและอังกฤษ

ฟิลิปปินส์ ได้รับอิทธิพลของสหรัฐ และไทยก็เอามาหลายส่วน ซึ่งที่สำคัญก็คงจะมีสองประเทศนี้ แต่นั่นเป็นประเด็นรอง หลักๆ คือมีการจงใจผลิตซ้ำเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ มันไม่ใช่แค่การกระทำของนักศึกษาเท่านั้น อาจารย์เองก็มีส่วนในการบังคับนักศึกษา ที่จุฬาฯ อาจารย์ผู้ควบคุมหอพักบังคับนักศึกษาซึ่งมาจากต่างจังหวัดและส่วนใหญ่มีฐานะ ยากจนด้วยซ้ำต้องเข้าร่วมกับกิจกรรมแบบนี้ โดยมีทั้งที่คณะและหอพัก ถ้าไม่เข้าร่วมอาจารย์เหล่านั้นก็จะตัดคะแนนความประพฤติให้ต่ำ ความเป็นไปได้ที่จะได้ห้องพักในปีต่อไปก็ลดลง ซึ่งถ้าเป็นอาจารย์แล้วทำแบบนี้ก็สมควรที่จะถูกลงโทษ

เป็นขนาดนั้น?

จุฬาฯ เป็นแบบนี้ และฝ่ายบริหารก็ไม่คิดจะทำอะไรทั้งสิ้น มันเป็นระบบมาเฟียภายในมหาวิทยาลัย แบบนี้คือการบีบบังคับให้นักศึกษาทำกิจกรรมซึ่งไม่อยู่ในหลักสูตร ของมหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมของเผด็จการ เป็นกิจกรรมที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์ ทั้งที่ความจริงมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นแหล่งเพาะความคิดแบบนี้ของนักศึกษาให้ คิดเป็น แต่อาจารย์กลุ่มนี้และนักศึกษารุ่นพี่พยายามที่จะสืบทอดความคิดว่าเราไม่ ต้องคิดเอง โดนด่าก็ต้องทำตาม และเวลาถูกท้าทายจะมีข้ออ้างเหลวไหลว่า ประเพณี บ้าง สามัคคี บ้าง ซึ่งตรงนี้จริงๆ เป็นคำโกหก

มีนักศึกษา หลายคนไม่พอใจ มันทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มันขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดกับความเป็นธรรมขั้นพื้นฐาน หลายคนกลัวอาจารย์ที่หอพัก กลัวรุ่นพี่ มีการสร้างความกลัวในประชาคมนักศึกษาว่าหากใครไม่เข้าก็จะเป็นคนภายนอก อันนี้เป็นการกดดันทางจิตใจ ไม่ถูกต้อง

ถามว่าทำเพื่ออะไร ทำเพื่อที่จะต้องรู้ว่าใครเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง คือต้องไหว้กันแบบไร้สาระ ที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ รุ่นน้องจะไหว้รุ่นพี่ มันต่างกันแค่หนึ่งปีก็ไหว้กันแล้ว แสดงว่าการไหว้ไม่ได้อยู่ที่การพิจารณาว่าใครน่าเคารพหรือไม่เคารพ กลายเป็นการบังคับ เป็นเรื่องที่แย่มากๆ เราต้องถามสาเหตุที่คุณภาพการศึกษาต่ำ แล้วจุฬาฯเองก็ไม่ได้มีมาตรฐานดีเท่าใดในระดับโลก เพราะส่วนหนึ่งมาจากความคิดแบบนี้

เราต้องถามกับผู้บริหารจุฬาฯ ผู้บริหารสถาบันต่างๆ ก่อน อย่างที่ราชภัฏบางแห่งอาจารย์จะบังคับให้เด็กเข้าร่วมห้องเชียร์ ถ้าไม่เข้าก็ไม่จบ สถาบันการศึกษาของไทยหลายแห่งเอาตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร

นี่คือซากเดนของเผด็จการในสังคมภายนอกและมันก็ยังเพาะเชื้ออยู่ในสังคมมหาวิทยาลัย

มีคนบอกว่าระบบนี้ส่งผลทำให้ความคิดเป็นเผด็จการในอนาคต?

มันส่งผลตลอดครับระบบนี้ไม่ใช่แค่อนาคต

ตอน นี้นักศึกษาจะสู้เรื่องนี้ในลักษณะปัจเจกได้ยาก ตอนนี้เรามีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาคือ พรรคแนวร่วมประชาชน แกนนำสำคัญก็เป็นนักศึกษาด้วย กิจกรรมสำคัญอันหนึ่งของปีการศึกษานึ้คือการรณรงค์คัดค้านระบบ Sotus ในสถาบันหลายแห่ง จะพยายามชวนนักศึกษาที่ไม่พอใจมารวมตัวกันแบบข้ามสถาบันในลักษณะที่เกิดขึ้น คล้ายช่วง 14 ตุลาคม 2516 ตอนที่นักศึกษาตื่นตัวแล้วมีความเข้าใจในปัญหาของสังคม

ที่อาจารย์รณรงค์เรื่องนี้มานาน มีผลสะท้อนกลับสู่ตนเองอย่างไร?

มี คนแสดงความไม่พอใจและใช้คำหยาบคาย เราต้องถามว่าเขาปกป้องอะไรอยู่ ตอนรับน้องหากเข้าไปตามที่ต่างๆ เราจะเห็นนายพลน้ำนมทั้งหลายที่ไม่ทราบว่าตัวเองมีปมด้อยหรืออะไรกันแน่ แต่รู้สึกว่าจะได้อะไรจากการเป็นผุ้บังคับบัญชาคนอื่นในเรื่องไร้สาระ ไม่มีผลงานอะไรเลย ไม่ได้ทำอะไรสร้างสรรค์ แค่การตะโกนด่าคน ทำลายศักดิ์ศรีของคน พวกที่ไม่พอใจการวิจารณ์แสดงว่ามันฝังลึกและผูกพันผลประโยชน์ของคนมีปมด้อย เหล่านี้

มีบทความที่น่าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เขียนขึ้นที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเปรียบเทียบสิ่งที่ทำในห้องเชียร์กับสิ่งที่ทหารอเมริกันทำในอิรัก การทรมาน การจับคนมาแก้ผ้าถ่ายรูป มันชัดเลยว่าเกี่ยวข้องกับการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มันเป็นสิ่งซึ่งนำไปสู่สุดขั้วคือกรณีการทรมานนักโทษ การลงโทษคนในชั้นศาล มันอาจช่วยให้เกิดกรือเซะ ตากใบ หกตุลาคมอีก

ระบบนี้อย่างน้อยทำให้ ตัวเองรู้สึกไม่มีค่า ทำลายความเป็นพลเมือง มองเราแค่เพียงไพร่ มองแบบมีชนชั้น เราต้องไหว้รุ่นพี่ รุ่นพี่ก็ไหว้รุ่นก่อนต่อๆ กันไป ซึ่งมันกับประชาธิปไตยทั้งปวง

อาจารย์พอจะวิเคราะห์ได้หรือไม่ทำไมระบบนี้ถึงฝังลงในความคิดจากเด็กปีหนึ่งขึ้นปีสอง เวลาปีเดียวเขายึดมั่นระบบนี้เสียแล้ว?

มี จำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งกลายเป็นพวกที่ว้าก ที่เหลืออเขาไม่สนใจ คือเขาไม่มีส่วนร่วม คนที่ไปทำส่วนนี้เป็นส่วนน้อย และเป็นคนมีปมด้อย ซึ่งในวันต่อไปจะทุบตีลูกเมีย ไม่มีศักดิ์ศรีในโลกภายนอกก็ต้องหาศักดิ์ศรีจอมปลอมด้วยการทำร้ายคนอื่น แล้วอ้างว่าสร้างความสามัคคี

เวลาผมวิจารณ์การที่เขาจับนักศึกษาเข้า ไปรวมกันในห้อง ปิดแอร์ พัดลม จนคนเป็นลมซึ่งผิดมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งมหาวิทยาลัยก็ไม่ทำอะไรอีก บ่อยครั้งที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นคนส่งเสริมด้วยซ้ำ ซึ่งควรจะมีการลงโทษอาจารย์เหล่านี้

วลีอมตะคือระบบนี้สร้าง ความสามัคคี ?

หาก ใครบอกว่าการทารุณแบบนี้สร้างความสามัคคี ผมเคยแนะนำว่าคุณจะสร้างความสามัคคีภายในใต้ความยากลำบากก็ลองไปทำงานแบบที่ เราเห็นนักโทษถูกบังคับให้ทำคือลงไปขุดโคลนออกจากท่อระบายน้ำ กวาดถนน ทำอะไรที่เป็นสาธารณะประโยชน์ซึ่งมันยากลำบาก ลองทำถ้าอยากสร้างความสามัคคีพร้อมกับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่เขาไม่ทำเพราะจริงๆ ไม่เกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีจริงๆ มันสร้างวินัยและการเคารพรุ่นพี่มากกว่า

บางคณะอ้างว่าเป็นวิชาชีพพิเศษ อย่างต้องเรียนไปทำงานในป่า?

ถ้า เป็นแบบนั้นจริงนี่คงเป็นสาเหตำให้ป่าไม้ไทยสูญหายไปหมดแล้ว เพราะมีการคอรัปชั่น การขายไม้ ทฤษฎีที่เขาเสนอมันงี่เง่า เขาเสนอว่ายามยากลำบากคนต้องไม่คิดเอง ต้องฟังคำสั่งอย่างเดียวคือเหตุผลทั้งหมด ถ้าเช่นนั้นต้องเอาวัวควายมาทำตรงนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริงมันตรงกันข้าม ยามวิกฤตควรจะร่วมกันคิด ช่วยกันหาทางออก ไม่ใช่ใครคนหนึ่งสั่งทุกคนทำตาม เป็นข้ออ้างที่เหลวไหลมากที่สุด ในระบบที่มีการทำงานเป็นทีมและอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากต้องมีการร่วมแสดง ความเห็น แสดงแบบมีวินัยในตนเอง มีวุฒิภาวะ ไม่มีการถือว่าใครสูงกว่าใคร นี่คือการแก้ แต่ของเขาจะให้ไม่คิดอะไรเลย

ถ้ามาจากทหาร ช่วง พ.ค. 35 ทหารธรรมดาเขารู้ คนที่ถูกสั่งให้ยิงเป็นญาติพี่น้องเขา ลูกหลานเขา การที่ให้ทหารยิงประชาชนในเหตุการณ์ต่างๆคุณต้องเอาสมองออกจากหัวคนถึงสั่ง ได้ ถ้าเราศึกษาการต่อสู้ภายในศาสตร์ของทหารเองก็จะเห็น

มันยังมีกรณีที่ชัดมากซึ่งบอกว่าระบบจากบนลงล่างเช่นนี้ไร้ประสิทธิภาพ คือการ ต่อสู้ของกองทัพสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่เพิ่งก่อตั้งหลังปฏิวัติ กับกองทัพของพวกขุนนางเก่าในยุโรป ฝ่ายฝรั่งเศสทหารทุกคนรู้ว่าสู้เพื่ออะไร ขณะที่อีกฝ่ายโนบังคับมา ผลสุดท้ายฝรั่งเศสชนะ ไม่ต่างกับกรณีชัยชนะของกองทัพแดง หรือในเวียดนามที่ทหารสหรัฐถูกส่งไปรบ ขณะที่ทหารเวียดกงกลับรู้ว่าตนไปสู้เพื่ออะไร ก็ชนะ

เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ถึงกับเคยอธิบายว่าเราใช้ระบบทหารแบบกลไกมากจึงแพ้

สิ่ง ที่ต้องทำคือการจัดการขบวนการนักศึกษา และพรรคเรากำลังจะทำ ระบบนี้มันหยั่งรากลึก กลายเป็นไม่ตีลูกลูกไม่รักพ่อแม่ นี่คือความคิดเขา หลายกรณีนักศึกษาถูกกดดัน และความหมกมุ่นของอาจารย์กับรุ่นพี่คือการเบี่ยงเบนคุณภาพการศึกษา

การ จะสร้างมิตรภาพ ความรักระหว่างกันมันต้องไม่มีความโหดร้าย ถ้าโหดร้ายแสดงว่ามีการบีบบังคับของอำนาจ แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้การตัดสินใจอาสาสมัครจะหายไป มันไม่ใช่มิตรภาพที่แท้จริงหรอก

บางคนบอกถ้าไม่มีระบบนี้มันอยู่ไม่ได้?

ถ้า คิดว่าระบบนี้ไม่มีแล้วอยู่ไม่ได้แสดงว่าเขาคิดว่าเมืองไทยเป็นวัวและควาย ในต่างประเทศเขาไม่มีแบบนี้ ถ้ามองแบบนี้เขากำลังดูถูกคนไทย สังคมไทย ซึ่งผมจะไม่ทำ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีคนเชื่อเรื่องพวกนี้ไม่ได้มากขึ้น เกิดการตั้งคำถามพอสมควร เพียงแต่คนคัดค้านมันไม่ได้ประสานกัน

เคยมีการถกเถียงเรื่องนี้ในเว็บบอร์ดต่างๆ?

คน ที่มาโพสส่วนมากไม่กล้ารับผิดชอบกับแนวทางของเขา ไม่กล้าประกาศชื่อ ไม่กล้าเถียงบนเวที ผมท้าว่าถ้าเขาคิดว่าระบบของเขาดี ผมท้าว่าให้จัดโต้วาทีต่อหน้าน้องปีหนึ่งในห้องเชียร์ ระหว่างนักศึกษาของพรรคแนวร่วมประชาชนกับรุ่นพี่คนหนึ่ง เอาข้อดีข้อเสียของระบบมาคุยกัน ถ้าเขาคิดว่ามีเหตุผลพอ เขาต้องเปิดโอกาสให้ปี 1 ฟังความคิดที่ขัดแย้งกัน 2 แนว แล้วตัดสินใจเอง ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าจัด เพราะเขาไม่สามารถ ไม่ได้มีการคิดเอง ใช้แต่อำนาจกดดันคน

ผมเชื่อว่าถ้าคุณรักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตย คิดเป็น คุณย่อมไม่เห็นด้วยกับโซตัส...