วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"SOTUS The Series" ภาค SOTUS ไม่ใช่พ่อ : ปฐมบทแห่ง SOTUS

....หลังจากที่ได้เกริ่นนำถึงจุดประสงค์ของการเขียนบทความแล้ว วันนี้เราจะมาพูดกันถึงความเป็นมาของระบบการรับน้องแบบ SOTUS กันนะครับว่ามีประวัติความเป็นมายังไง ทำไมมันถึงฝังลึกลงในระบบการศึกษาของไทยจนยากที่จะโค่นล้มมันออกไป

..... ระบบSOTUS ในประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อมีการก่อตั้งวชิราวุธวิทยาลัยตามแบบโรงเรียนกินนอนในอังกฤษ เมื่อมีการตั้งโรงเรียนนายร้อยสำหรับฝึกทหารและตำรวจ เพื่อส่งคนไปปกครองตามหัวเมืองต่างๆ และดินแดนอดีตอาณานิคมของสยาม อย่างล้านนา อีสาน มลายูปัตตานี ที่ทั้งหมดเพิ่งถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่หลัง ร.5 เป็นต้นมาเมื่อก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนซึ่งต่อมากลายเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระบบอาวุโสถูกนำไปใช้ที่นั่น และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการส่งคณาจารย์รุ่นแรกๆ ไปเรียนเกษตรที่ Cornell University สหรัฐอเมริกา กับ University of the Philippines ที่ฟิลิปปินส์

.....ระบบSOTUS จึงเริ่มที่มหาวิทยาลัยเกษตร และแพร่ขยายไปทั่วประเทศ ลามไปที่จุฬาด้วย ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งตามแบบมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และการเมือง (Ecole des Sciences et Politiques) ของฝรั่งเศสจึงไม่มีระบบนี้ โดยมหาวิทยาลัยในภาคพื้นยุโรป จะไม่มีการรับน้อง ไม่มีระบบอาวุโส หรือยึดติดกับสถาบันมากเท่า พวก อังกฤษและอเมริกา (Anglo-Saxon)


....จะเห็นได้ว่าระบบ SOTUS นั้นมีมายาวนานเกือยร้อยปีแล้วจึงทำให้มีผู้เทิดทูนระบบ SOTUS กันมากมายจนหลงลืมประเด็นสำคัญไปว่าระบบนี้ยังสามารถนำมาใช้ในยุคที่ประชาธิปไตยเฟื่องฟู ยุคที่เสรีภาพกำลังเบิกบาน ได้จริงหรือ ถ้าหากเรากลับมาหวนคิดสักนิดใช้เวลาแค่เพียงสักหน่อยก็จะได้พบกับความจริงที่เราตามหาคำตอบกันมายาวนานคือ "ไม่เหมาะนำมาใช้ในการรับน้องหรือปกครองน้อง"

.... คำตอบนี้คงไม่ถูกใจนักสำหรับคนที่เป็นพวกรุ่นพี่ที่ชื่อชอบระบบ SOTUS หรือ พวกวากเกอร์ เพราะถ้าหากมีการล้มล้างระบบพวกนี้ลงสิ่งที่พวกเขาโดนกระทำมาตอนเป็นรุ่นน้อง พวกเขาก็จะไม่ได้ทำการแค้นคิดแต่เพียงว่า "ถ้าโดนรับมายังไงก็ปล่อยไปแบบนั้น" ถ้าโดนมาหนักรุ่นน้องก็ซวยถ้าโดนมาเบารุ่นน้องก็โชคดีไป ชะตาชีวิตรุ่นน้องขึ้นอยู่กับรุ่นพี่

.... ดังนั้นถ้าหากรุ่นพี่ยึดหลักการปล่อยวางตามแนวพุทธศาสนายอมรับที่จะเก็บความรุนแรงที่ได้รับมาแต่ไม่นำมาใช้กับรุ่นน้อง และหันมาใช้กระบวนการคิดตามหลักพุทธศาสนาก็จะช่วยให้เกิดปัญญาพบกับแนวทางที่จะช่วยทำให้เกิดความสามัคคีในรุ่นน้องโดนไม่ต้องใช้ระบบ SOTUS หรือใช้ความรุนแรง

วันตา กราบไหว้ : Ris Niat

**บทความนี้ผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้อ่านหันมาคิดทบทวนระบบการรับน้องในมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเจตนาที่จะดูถูก กล่าวร้ายผู้ใด ถ้าหากคุณไม่สามารถที่จะรับความเห็นนี้ได้กรุณากดปิดเสีย หากผู้ใดนำบทความไปเผยแพร่กรุณาทำลิ้งกลับมายังบทความนี้ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง**

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"SOTUS The Series" ภาค SOTUS ไม่ใช่พ่อ : เกริ่นนำ

SOTUS ถือเป็นระบบการปกครอง/การรับน้อง ที่มีมาอย่างยาวนานและทรงอิทธิพลมากที่สุดในรั้วมหาวิทยลัยอันเป็นแหล่งที่ใครๆต่างก็เชิดชูว่า "เป็นแหล่งที่สร้างและรวมปัญญาชน " ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า "จริงหรือที่มหาวิทยาลัยนั้นเป็นแหล่งสร้างและรวมปัญญาชน?"

ในมหาวิทยาลัยนั้นถ้าหากเป็นแหล่งรวมปัญญาชนจริงๆเชื่อว่าคนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ไม่อยากที่จะนำระบบ SOTUS มาใช้ในการปกครองน้องหรือรับน้องหรอก เพราะถ้ามีปัญญาชนจริงๆ เขาคงคิดหาวิธีการรับน้องที่มีความเหมาะสมมากกว่านี้ได้ ไม่ต้องให้เกิดปัญหาการรับน้องที่มีแต่ความรุนแรง ความเกลียดชัง ความเลวร้าย เหมือที่ท่านผู้อ่านเคยพบเห็นในข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ช่วงที่มีการรับน้อง ทุกๆปีเราจะเห็นข่าวการเสียชีวิต การบาดเจ็บของรุ่นน้องปี 1 ทุกปีปีละ2-3 รายแต่ในความเป็นจริงแล้วการบาดเจ็บหรือเสียชวิตน่าจะมีมากกว่านั้นเพียงแต่ว่าทางสถาบันนั้นได้มีการปิดข่าวไมม่ให้รั่วไหลต่างหาก เพื่อไม่ให้เกิดชื่อเสียขึ้นต่อมหาวิทยาลัยหรือคณะของตน

ดังนั้นเพื่อไม่ต้องให้มีใครต้องมาบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ หรือไม่ต้องให้มีผู้สังเวยชีวิตให้กับการรับน้องที่ป่าเถื่อน ถึงเวลาแล้วที่ควรมีการกลับมาวิเคราะห์วิจารณ์ว่าระบบนียังสามารถใช้ได้ดีในสังคมปัจจุบันนี้หรือไม่ หรือมาร่วมคิดกันว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควรจะหยุดยั้งระบบนี้เสียที


วันตากราบไหว้ : Ris Niat

**บทความนี้ผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้อ่านหันมาคิดทบทวนระบบการรับน้องในมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเจตนาที่จะดูถูก กล่าวร้ายผู้ใด ถ้าหากคุณไม่สามารถที่จะรับความเห็นนี้ได้กรุณากดปิดเสีย หากผู้ใดนำบทความไปเผยแพร่กรุณาทำลิ้งกลับมายังบทความนี้ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง**