วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

SOTUS : Dek-D.com

SOTUS ซึ่งถ้ามองอย่างเป็นกลาง และตัดความคิดที่ว่า SOTUS กับวาก เป็นอย่างเดียวกันออกไปเสีย จะพบว่า หลักการสำคัญทั้ง ๕ นั้น เป็นคุณธรรมที่หากมีอยู่ในสังคมใด ๆ ก็ตาม สังคมนั้น ๆ น่าจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ความเจริญ
แต่เนื่องจากผู้ที่ต้องการปลูกฝัง SOTUS ได้นำระบบวิธีการว้ากมาใช้ ทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิด คิดว่า SOTUS กับ ว้าก คืออย่างเดียวกัน
แล้วการว้ากคืออะไร ? การว้าก หรือ ที่เรียกกันเป็นทางการว่าการประชุมเชียร์ นั้น เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่รุ่นพี่ กระทำกับรุ่นน้องโดยการสร้างความกดดัน ให้เกิดความเกลียด ความกลัว รวมก็คือ ทำให้เห็นว่าพี่ ๆ ที่เป็น ว้ากเกอร์ นั้น เป็น ศัตรู เพราะว่า การว้ากนั้น ใช้แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานว่า คนที่มีศัตรูเดียวกัน จะสามัคคีกัน ให้รุ่นพี่ ทำตัวเป็นศัตรูกับรุ่นน้อง เพื่อให้รุ่นน้องสามัคคีกัน โดยอาวุธ ที่จะกำจัดศัตรูได้ คือ การที่รุ่นน้องได้แสดง SOTUS ในตัวออกมา เมื่อใดที่รุ่นน้องมี SOTUS เมื่อนั้น ศัตรูที่ร้ายกาจ ก็จะกลับกลายเป็นมหามิตร ที่ว่ามาทั้งหมด เป็นการว้ากชนิดที่มีกุศล หรือ ความดี เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ยังมีรุ่นพี่อีกประเภท ที่อาศัย SOTUS ปลอม ๆ มาบังหน้า มีอกุศลเป็นเหตุ แสวงหา ความสนุก ความสะใจ ส่วนตัว หาเรื่อง แกล้งน้อง รังแกน้อง แล้วอ้างว่า เป็น SOTUS พวกนี้เอง ที่ทำให้คำว่า SOTUS คำว่ารับน้อง คำว่าประชุมเชียร์ ต้องตกเป็นจำเลยของสังคม

ความจริงการสร้าง SOTUS นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการว้ากเสมอไป โดยเฉพาะยุค สมัยที่ สิทธิ เสรีภาพ เบ่งบาน การว้าก คงกลายเป็นเรื่องล้าสมัย ไม่เหมาะสมแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของรุ่นพี่ ที่จะต้องเปิดใจ ให้กว้าง อย่ายึดติดกับรูปแบบ วิธีการ แม้ T ใน SOTUS จะมาจาก Tradition หรือ ประเพณี ก็ตาม แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องยึดติด ประเพณี ที่ดี ขึ้นอยู่กับสภาพสังคม ยุค สมัย ด้วย อย่างประเพณีคลุมถุงชนในสมัยโบราณ ถามคนสมัยใหม่ คงว่าไม่ดี ไม่มีสิทธิ เสรีภาพ ( แต่ก็เห็นกันอยู่จะจะ ว่า การหย่าร้าง ในปัจจุบัน ที่เลือกจับคู่กันเองนั้น สูงกว่ารุ่นปู่ รุ่นย่า ขนาดไหน ) สมัยนี้สิทธิ เสรีภาพ ของคนทุกคน ได้รับความคุ้มครองมากกว่าแต่ก่อน ว้ากไปว้ากมาอย่างแต่ก่อน อาจมีความผิดทางกฎหมายได้ง่าย ๆ

วิธีการหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาแทนที่การว้าก เช่น การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ก็ดูจะได้ผลดี ในทางธรรม SOTUS สามารถ สร้างได้ด้วยธรรมะหลาย ๆ อย่าง
เช่น ธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ระลึกนึกถึงกันในทางที่ดี คือ การให้ปัน การทำตัวให้เป็น ประโยชน์ การพูดจาน่าฟัง และ การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย สามารถสร้าง Seniority
ได้ถ้ารุ่นพี่มีธรรมทั้ง ๔ กับรุ่นน้อง Order ระเบียบวินัย มีได้ด้วยศีล ไม่ต้องมาก แค่ ๕ ข้อก็เพียงพอแล้ว พี่ ๆ เป็นตัวอย่างที่ดี นำน้อง ๆ รักษาศีล Tradition ประเพณีที่ดี เลือกรักษา ประเพณีไว้ด้วยหลัก รู้ ๗ อย่าง คือ รู้จัก เหตุ ผล ตน ประมาณ กาลเวลา บุคคล และ ชุมชน
คือ ต้องรู้ทั้ง ๗ เรื่องนี้ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่า ประเพณีไหนดี น่าเก็บไว้ ประเพณีไหนเป็นไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ก็ยกเสีย
Spirit ความมีน้ำใจ สร้างด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา ความรักใคร่ กรุณา สงสาร มุทิตา ร่วมยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี และ อุเบกขา วางเฉยในเมื่อผู้อื่นจำเป็นต้อง
รับผลกรรมที่ตนก่อขึ้น โดยที่เราไม่สามารถช่วยได้ นี่แค่ตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ นะ
ที่สำคัญคือ รุ่นพี่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง แนะนำ ชักชวนไปในทางที่ดีอยากให้น้องเป็นอย่างไร มี SOTUS แค่ไหน ถ้ารุ่นพี่ยังไม่มี ก็เท่านั้น เราต้องมีเองก่อน ถึงจะให้ผู้อื่นได้ ถูกหรือไม่ครับ


SOTUS เมล็ดพันธุ์เผด็จการ และการอุปถัมภ์ในรั้วมหาวิทยาลัย กับภาวะเสื่อมโทรมของสมองนักรัฐศาสตร์ไทย



SOTUS หรือระบบอาวุโส เป็นระบบการ “ควบคุม” พฤติการณ์ทางประเพณีนิยม ของบรรดารุ่นพี่นิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยโดยมากของประเทศไทย โดยสิ่งที่ระบบนี้จะทำการเน้นว่าเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างหาค่าไม่ได้ที่สุด ก็คือ ความเป็น “รุ่นพี่รุ่นน้อง” ซึ่งผมมองว่าเป็นเพียงลมปากมากกว่า เพราะคำจำกัดความที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็น “ความเป็น นายกับบ่าว” ซึ่งผมมองว่าระบบอาวุโส ของบรรดารุ่นพี่รุ่นน้องทั้งหลายนั้นมีจุดบ่งชี้หลายจุดมากที่เหมือนกับระบบ นาย และบ่าวที่เคยใช้กันตั้งแต่ยุคพ่อขุนรามฯ ยังไม่ทันประสูติด้วยซ้ำ

ในระบบนาย – บ่าว นั้นก็อย่างที่รู้กันดีว่าผู้ที่เป็นนาย มีสิทธิ์สั่งการให้ผู้เป็นบ่าวกระทำพฤติการณ์ใดๆ ก็ได้ตามความต้องการของผู้เป็นนาย ในขณะที่ผู้เป็นบ่าวไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะท้วงติง หรืออิดออด แต่กระนั้นการที่บ่าวยอมทำตามแต่โดยดีก็เพราะ เมื่อยามใดผู้เป็นบ่าวถึงคราวเคราะห์เดือดร้อนขึ้นมา ผู้เป็นนายก็มักจะให้การช่วยเหลือ ซึ่งพฤติการณ์ทั้งหมดที่ว่ามาโดยองค์รวมนี้เรามักเรียกกันว่า “ระบบอุปถัมภ์”

ทีนี้เราลองเอาระบบอาวุโส หรือโซตัสมาเปรียบดูกัน จะพบได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะรุ่นพี่สั่งรุ่นน้องได้ทุกอย่าง โดยที่รุ่นน้องไม่สามารถขัดขืนได้ ซึ่งบางครั้งคำสั่งรุ่นพี่ที่สั่งมานั้นก็งี่เง่า และไร้เหตุผลอย่างเหลือประมาณ (เช่น เอากล้วยซุกหว่างขาชาย แล้วให้ฝ่ายหญิงกิน, การอมอมยิ้มต่อๆ กัน - กูอยากถามนานแล้วว่าถ้าเกิดมีรุ่นน้องสักคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบแต่ตัวเอง ไม่รู้ตัวว่าเป็น แล้วมาอมไอ้อมยิ้มเนี่ย สุดท้ายเกิดติดโรคกันแม่งทุกคน อย่างนี้จะแปลว่าพวกรุ่นพี่ทีสั่งเป็นฆาตกรได้ป่าววะ?, การต้องมาเต้นท่าปัญญาอ่อนทั้งที่ไม่ได้อยากจะเต้น เป็นต้น) แต่ก็ต้องทำ
คำถามคือ ทำไม? เพราะหากไม่ทำก็จะโดนเขม่น หากขัดขืนก็จะโดนยำตีน นอกจากนี้รุ่นน้องก็ยังมองกันอีกว่าหากดำเนินรอยตามระบบอาวุโสนี้แล้ว เมื่อถึงเวลาที่ตนต้องทำงานก็จะได้รับการ “อุปถัมภ์” จากเหล่าบรรดารุ่นพี่อีกต่างหาก

จากที่ผมได้ชักแม่น้ำฮวงโห และอเมซอนอย่างยืดยาวจนมาบรรจบกันได้นี้ก็เพราะผมต้องการจะเสนอว่าระบบ อาวุโสนี้นั้นเป็นการวางรากฐานทางความคิดที่สำคัญ 2 ประการคือ ระบอบเผด็จการ ซึ่งมาจากการมีอำนาจสั่งการอย่างเด็ดขาด ไม่อนุญาตให้ท้วงติง หรือคิดต่าง (อารมณ์ประมาณว่าพวกมึงน่ะโง่ มีแต่กูฉลาด เพราะฉะนั้นมึงต้องฟังกู - อยากจะแหวะว่ะเจอพวกนรกลืมเผาพวกนี้) และอีกหนึ่งคือระบบอุปถัมภ์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าการเล่นเส้น เล่นสาย ที่สุดท้ายก็จะพัฒนามาเป็นการรับสินบน และทุจริตคอรัปชั่นในที่สุด (อย่างที่พวกนรกในปัจจุบันกำลังด่าอยู่ และพวกนรกในอดีตกำลังทำกันอย่างไม่อายโค อายควาย – สัตว์พวกนี้ทำงาน แลกอาหารอย่างสุจริตยิ่ง)

ระบบทั้งสองที่กล่าวมานั้น เรียกได้ว่าเป็นตัวฉุดความเจริญทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างมาก ยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะแนวคิดแบบเผด็จการ ที่ไม่มีสิทธิ หรือความเท่าเทียมใดๆ (ภาษาพี่น้อง คงต้องพูดว่า “ไม่อนุญาตให้ปีนเกลียว” กระมัง) น้องจำเป็นต้องโง่กว่า, สิทธิเสรีภาพต่ำกว่า (อยากจะรู้จริงๆ ว่าทำไมวะ พวกมึงเอาอะไรมาคิดกัน ถึงได้ทำเรื่องเอี้ยๆ งี้) อย่างกรณีของจุฬาฯ (และอีกหลายมหาวิทยาลัย) ผมอยากรู้จริงๆ ว่าทำไมรุ่นพี่แต่งตัวแบบนั้นได้ แต่รุ่นน้องไม่มีสิทธิ? ถ้ารุ่นน้องแต่งตามพวกมึงแล้วผิดกฎ ก็แปลว่าพวกมึงเองก็ผิดกฎด้วยอยู่แล้ว (นอกจากกฎจะลำเอียงเสียเอง ซึ่งนับเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด) แล้วมึงกล้าเอาหนังด้านๆ ส่วนไหนไปด่ารุ่นน้อง ไปห้ามรุ่นน้องวะ ไม่เคยคิดเลยว่าน้องก็อยากใส่ชุดรัดนมปลิ้น กับกระโปรงโค้งตามตูดเหมือนกัน แล้วมีสิทธิ์อะไรไปห้าม แน่จริงอธิบายมาหน่อยดิ๊?

ส่วนระบบอุปถัมภ์นั้นก็เห็นได้ชัดเช่นกันในความเป็นเครื่องกีดขวางระบบ ประชาธิปไตย คือพวกอยากจะถามว่า “พวกเราจะไปตามเส้นสายหรือ? ไม่ไปตามแรงสมอง กับมือตีนตัวเองหรือ?” เพราะพวกเรามัวแต่คิดกันอยู่นี่แหละว่า “จะอยู่ประเทศไทยให้รอดสบาย ยังไงก็ต้องมีเส้นมีสาย” มันถึงได้จำเป็นต้องมี (ลอง 63 ล้านคนคิดว่าไม่จำเป็นเหมือนกันดูสิ เดี๋ยวมันก็ไม่จำเป็นเอง) แล้วทีนี้เป็นไง ก็จะมีแต่พวกที่มีเส้นสาย แต่บางทีไร้สมองไต่ระดับการงานได้ ซึ่งจุดนี้เท่ากับเป็นการ “แบ่งวรรณะ และกีดกันทางสังคม” โดยอ้อมอยู่แล้ว เพราะมึงเล่นเอาแต่พวกมึง อย่างนี้คนอื่นก็ไม่ต้องมีโอกาสดิ แล้วอย่างนี้ประชาธิปไตยมันจะรอดได้ยังไง ผมไม่ได้พูดเล่นๆ ด้วยนะ เพราะช่วงหลัง 14 ตุลา นั้นระบบอาวุโสดับลง, พลังของ สนนท. รุนแรง และอุดมการณ์ประชาธิปไตยก็ก้าวไกล จนกระทั่งพอเกิดระบบเผด็จการขึ้นมาอีกครั้ง ระบบโซตัสก็เริ่มฟื้นขึ้นมาอีก ปลูกฝังอุดมการณ์ชั่วเข้าหัวนิสิตนักศึกษา หรือแม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก จนสุดท้ายพอเกิดการรัฐประหาร 19 กันยา ขึ้น สนนท. ที่เคยเข้มแข็งก็กลับอ่อนแอ, ปัญญาชนต่างๆ ก็ดันกลายเป็นคนเขาคู่ที่กลายเป็นผู้สนับสนุนการรัฐประหารไป เหล่านี้ล้วนได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากระบบโซตัสที่ว่านี้เอง


ทีนี้ผมจะขอเข้าประเด็นเรื่องนักรัฐศาสตร์ดูบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอะไรใหม่ (จากที่ผมได้พรรณนามา) เลย แค่อยากจะตอกย้ำสักหน่อยว่า นักรัฐศาสตร์ ควรจะเป็นบุคคลที่เชิดชู และหาทางพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ใช่หรือไม่? เช่นนั้นแล้วทำไมไอ้ระบบโซตัส และห้องเชียร์จึงยังมีอยู่? พวกมึงเป็นนักพัฒนาประชาธิปไตย หรือขี้ข้าเผด็จการกันแน่วะ? อาจมีหลายคนโต้แย้งผมด้วยเหตุผลแรกเริ่ม และดั้งเดิมที่สุดที่ทำให้ระบบโซตัสเกิดขึ้น นั่นคือ “ความสามัคคีของรุ่นน้อง” เพราะมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่คนจากทุกที่ ทุกอาชีพ และทุกฐานะมารวมกันดังนั้นการจะให้อยู่ร่วมกันได้ก็ต้องจับมาด่า มาว่า ให้พวกมันรวมหัวกันเกลียดรุ่นพี่...นี่หล่ะข้อดีของโซตัส

ทีนี้ตูจะถามกลับบ้างล่ะว่า “พวกมึงคิดหาวิธีที่จะทำให้คนเราสามัคคีกันที่ดีกว่านี้ไม่ได้แล้วรึไงวะ?”, “แล้วความสามัคคีที่เกิดจากการรวมหัวกันเพราะความเกลียดเป็นเหตุเนี่ย มันดีแน่เหรอ?” ทำไมไม่ทำอะไรเพื่อให้สามัคคีกัน โดยยอมรับกันอย่างจริงใจเอง และเป็นประชาธิปไตยด้วยหล่ะ มึงอยู่คณะรัฐศาสตร์กันนะโว้ย ทำไมไม่ลองเปิดสภาจำลอง แทนห้องเชียร์วะ ให้ทั้งรุ่นน้อง รุ่นพี่เข้าไปอภิปรายกันสิ อย่างนี้แล้วจะไม่เป็นการฝึกให้เคารพความคิดเห็นของกันและกันมากกว่าหรือ, ได้ยอมรับในแนวคิด อุดมการณ์ของคนอื่นอย่างจริงใจมากกว่ามั๊ย, เป็นประชาธิปไตยมากกว่ารึเปล่า?

อย่างนี้แล้วจะมีไปทำไมไอ้ห้องเชียร์บ้าๆ กับระบบโซตัสเผด็จการนั่น

ระบบ SOTUS...การสืบทอดระบบขูดรีดของทุนนิยม



เดือนมิถุนายน เดือนนรกที่ให้รุ่นพี่เลวใช้กดขี่นักศึกษาใหม่เวียนมาบรรจบอีกแล้ว ตลอดเดือนนี้หากไปเดินดูตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จะพบว่าช่วงเขากำลังต้อนรับน้องใหม่ แต่ไม่ใช่การร้องรำทำเพลงสนุกสนานแบบที่เราเห็นในทีวีตอนเอ็นท์ติดใหม่ๆ อีกแล้ว เดือนนี้เป็นเดือนนรกสำหรับนักศึกษาปี 1 เพราะพวกเขาจะถูกรุ่นพี่กดขี่เยี่ยงทาส ราวกับรุ่นพี่ได้รับอำนาจจากฮิตเลอร์ให้มาลงโทษเชลย มันคือมิถุนาทมิฬในเดือนมิถุนาทมิฬ จะมีการเปิดห้องเชียร์ ให้นักศึกษาปี 1 เข้าไปนั่งในห้องเรียนแคบๆ ให้รุ่นพี่ใช้อำนาจภายใต้ระบบโซตัส (SOTUS) ทำการ ว้าก หรือการตะคอกข่มขู่ เสียดสีดูถูกต่างๆ นานาราวกับน้องไม่ใช่คน มีการบังคับให้น้อง บูมหรือตะโกนดังๆ ในเพลงที่ร้องแทบไม่เป็นสำเนียง ...ที่เริ่มต้นเป็นเสียงหวีดร้องของผู้หญิง ตามมาด้วยการเลียนเสียงระเบิดของผู้ชาย ตามด้วยภาษาคนป่าอีกสองวรรค แล้วก็ภาษาต่างด้าวยุโรป แปลออกมาจากน้ำเสียงที่โอหังว่า "ข้าคือใคร ข้าจะบอกให้ก็ได้ (แล้วก็ลงชื่อสถาบัน)" ลงท้ายด้วยเสียงหวีดร้องและเสียงเลียนแบบระเบิด และปรบมือให้ตัวเอง ที่เก่งกล้าตะโกนอะไรบ้าๆทำนองนี้ออกมาได้ และดัง!? นอกจากนั้นแล้วก็จะถูกบังคับให้ร้องเพลงซ้ำๆซากๆ ถ้าไม่ใช่เพลงที่มีเนื้อหาลามกชักชวนให้ร่วมเพศ ก็เป็นเพลงที่มีเนื้อหาโอ้อวดเชิดชู ว่าสถาบันกูแน่ ข้าเป็นใหญ่ ใครมาลองดี มีหวังตาย เพราะข้าพร้อมพลีชีพเพื่อคณะ เพื่อสถาบันของข้า ทั้งหมดนี้น้องจะต้องร้องซ้ำไปซ้ำมา จนกว่ารุ่นพี่จะพอใจ ร้องดีก็ด่า ร้องไม่ดีก็ด่า หากรุ่นพี่ไม่พอใจ ก็สั่งน้องมุดโต๊ะ กลิ้งไปมากับพื้นห้อง หรือสั่งให้มอบกองรวมๆ กัน รุ่นน้องจึงมีสภาพไม่ต่างอะไรกับเชลย

นอกจากนี้ ยังมีการบังคับรุ่นน้อง ให้ทำอะไรแปลกๆ พิเรนทร์ๆ ที่คนปกติไม่ทำกัน ตามแต่รุ่นพี่จะคิด เช่น ให้คลานลอดหว่างขารุ่นพี่, ให้น้องผู้หญิงปิดตาแล้วเอาเงาะลอดขากางเกงน้องผู้ชาย จากขากางเกงซ้ายทะลุขากางเกงขวา, ให้ผู้ชายแต่งตัวแบบซุปเปอร์แมน คือให้ถอดกางเกงต่อหน้ารุ่นพี่ เพื่อเอากางเกงในออกมาใส่ข้างนอก, ให้อมลูกอมแบบปากต่อปากต่อๆกัน, ให้น้องผู้หญิงไปอยู่ในน้ำ เพราะรุ่นพี่ชายอยากดูหุ่น ฯลฯ แล้วแต่รุ่นพี่จะคิด อยากให้น้องทำอะไร ซึ่งดูๆ แล้ว ไม่ผิดอะไรกับการทรมานคนอิรัก ในเรือนจำอาบู - กราอิบ หรือว่ามันมาจากวิธีคิดเดียวกัน!!!


SOTUS มันมาจากไหน
ระบบโซตัส เกิดขึ้นจากระบบอาวุโสในโรงเรียนกินนอนของอังกฤษ (Public School) ทั้งสถาบันของพลเรือนอย่าง Oxford และ Cambridge และโรงเรียนนายร้อย Sand Hurst ที่ฝึกคนไปปกครองอาณานิคม ประมาณปี 1850 โรงเรียนทหารของสหรัฐจึงนำไปพัฒนาเป็นระบบโซตัส ที่เข้มข้นขึ้นเพื่อใช้ฝึกให้นักเรียนนายร้อยเหล่านี้มีความสามัคคี เข้มแข็งโดยมี ประเพณีรับน้องใหม่ (Initiation ritual) ที่ทดสอบความอดทน ของน้องใหม่ มีการขู่ตะคอก (Scold) หรือว้าก หรือการดูหมิ่นต่างๆ เป็นต้น ต่อมาระบบนี้ก็ได้แพร่หลายไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วสหรัฐ มีการตั้งกลุ่ม Fraternity ของนักศึกษาชาย และกลุ่ม Sorority ของ นักศึกษาหญิง ซึ่งกลุ่มทั้ง 2 แบบก็จะมีการรับน้องของกลุ่ม และระบบนี้ก็ถูกนำไปใช้ที่ University of the Philippines (UP) หลังจากที่ฟิลิปปินส์ ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐนิคมของสหรัฐในปี ค.ศ. 1900
โซตัสลามเข้าไทย เมื่อมีการก่อตั้งวชิราวุธวิทยาลัยตามแบบโรงเรียนกินนอนในอังกฤษ เมื่อมีการตั้งโรงเรียนนายร้อยสำหรับฝึกทหารและตำรวจ เพื่อส่งคนไปปกครองตามหัวเมืองต่างๆ และดินแดนอดีตอาณานิคมของสยาม อย่างล้านนา อีสาน มลายูปัตตานี ที่ทั้งหมดเพิ่งถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่หลัง ร.5 เป็นต้นมา
เมื่อก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนซึ่งต่อมากลายเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระบบอาวุโสถูกนำไปใช้ที่นั่น และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการส่งคณาจารย์รุ่นแรกๆ ไปเรียนเกษตรที่ Cornell University สหรัฐอเมริกา กับ University of the Philippines ที่ฟิลิปปินส์ ระบบโซตัสจึงเริ่มที่มหาวิทยาลัยเกษตร และแพร่ขยายไปทั่วประเทศ ลามไปที่จุฬาด้วย ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งตามแบบมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และการเมือง (Ecole des Sciences et Politiques) ของฝรั่งเศสจึงไม่มีระบบนี้ โดยมหาวิทยาลัยในภาคพื้นยุโรป จะไม่มีการรับน้อง ไม่มีระบบอาวุโส หรือยึดติดกับสถาบันมากเท่า พวก อังกฤษและอเมริกา (Anglo-Saxon)


มีอะไรอยู่ใน SOTUS
โซตัส มีอักษรย่อ 5 ตัว SOTUS คือ 1.S = Seniority เคารพผู้อาวุโส 2.O = Order ต้องทำตามคำสั่งผู้อาวุโส ต้อง 3.T = Tradition ทำตามประเพณีที่ผู้อาวุโสคิดเอาไว้ 4. U = Unity ต้องคิดเหมือนๆกันอย่างเป็นเอกภาพห้ามคิดต่าง และ 5.S = Spirit พร้อมพลีชีพเพื่อสถาบัน ระบบโซตัส คือแนวคิดที่อังกฤษและอเมริกาใช้ปกครองคนในอาณานิคม คือแนวคิดที่อยู่ในหัวของชนชั้นปกครองไทย โซตัสทำให้เห็นคนอื่นไม่ใช่คน เห็นว่ามึงไม่เหมือนกู มึงไม่เท่าเทียมกู ดังนั้นกูจะทำอะไรกับมึงก็ได้เข้าใจไหม ดังนั้นรูปธรรมของโซตัสที่เราเห็น คือสงครามเวียดนามที่นายทหารสหรัฐสั่งพลทหารล้อมฆ่าคนเวียดนามที่ไม่มีอาวุธ คือการทรมานนักโทษอิรักในเรือนจำอาบู - กราอิบ คือการสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ใน 6 ตุลา 2519 ในพฤษภาทมิฬ 2535 และล่าสุดคือการใช้รถหุ้มเกราะ และอาวุธนานาชนิดถล่มมัสยิดกรือเซะ โดยที่คนมลายูปัตตานีที่อยู่ในกรือเซะ ไม่มีสิทธิแม้แต่จะขอมอบตัวที่จริงแล้ว SOTUS มันน่าจะเป็น 1.Stupid โง่ 2.Out-Dated ล้าสมัย 3.Tyranny เผด็จการ 4.Uncivilized ป่าเถื่อนไร้อารยธรรม 5.Stop It เลิกเถิดเรื่องโง่ๆ ไร้สาระมากกว่า เพราะ SOTUS ไม่ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เลย
ในสมัยสงครามเย็น สหภาพโซเวียตยึดครองอัฟกานิสถาน หน่วยสืบราชการลับ CIA ของสหรัฐเข้าไปตั้งกลุ่มมูจาฮิดิน (นักรบศักดิสิทธิ์) เพื่อต่อต้านโซเวียต จนกลายเป็นอัลกออิดะห์ เป็นหอกทิ่มอเมริกาในปัจจุบัน ทั้งนี้อัลกออิดะห์ ที่เรียกร้องให้ทำสงครามพลีชีพ ก็ไม่ผิดอะไรกับรุ่นพี่โซตัสที่ให้น้องร้องเพลงเชียร์ที่มีเนื้อหาให้ยอมพลี ชีพหากคู่อริมาลองดี ที่น่าสนใจคือ ทั้งอัลกออิดะห์ และรุ่นพี่โซตัส ได้ไอเดียมาจากที่เดียวกัน คือ อเมริกา!!

SOTUS กับการสืบทอดระบบขูดรีดของทุนนิยม
รุ่นพี่ได้พยายามเชื่อมโยงโซตัส ให้เข้ากับวิถีการผลิตปัจจุบัน เพราะการผลิตสมัยใหม่ต้องการคนจำนวนมากๆ ป้อนเข้าสู่ระบบสายพาน นักศึกษาที่เรียนจบก็ต้องเข้าไปทำงานในสำนักงาน ในโรงงาน หรือเป็นไปเป็นข้าราชการ รุ่นพี่มักอ้างว่าการรับน้องเป็นไปเพราะพี่รักน้องจริงๆ แต่จริงๆคำว่ารักของรุ่นพี่เป็นเพียงลมปาก ที่จริงแล้วเขามักขู่รุ่นน้องเวลาเลิกการรับน้องในทุกๆวันว่า หากรุ่นน้องไม่เชื่อฟัง จะถูกลอยแพ จะทำให้ 1) ไม่มีใครสมาคมด้วยในมหาวิทยาลัย และรุ่นพี่จะไม่ให้ยืมสมุดหนังสือ 2) จบออกไปแล้ว เครือข่ายของรุ่นพี่ศิษย์เก่าจะทำให้รุ่นน้องที่จบไปไม่มีงานทำ ซึ่งมันได้ผลมากในการ "เอาความไม่แน่นอนของการผลิตแบบทุนนิยม มาตั้งเงื่อนไขเพื่อกดขี่รุ่นน้อง" นอกจากนี้รุ่นพี่มักอ้างว่าการฝึกรุ่นน้องให้อดทน เพราะรุ่นน้องเรียนจบออกไป จะได้เป็น "เจ้าคนนายคน" จะได้ "คุมคนงาน" ทั้งที่ตัวเองก็เป็นคนงานเหมือนกัน!!! ระบบโซตัสที่ส่งเสริมให้รักพวกพ้อง รักสถาบัน แทนที่จะบอกให้รุ่นน้องสามัคคีกันต้านนายทุน มันจึงเหมือนกับแนวคิดชาตินิยม ที่พวกนายทุนใช้เพื่อยุแยงให้กรรมาชีพรักชาติจะได้ฆ่ากันเองในสงครามโลก เพื่อปกป้องนายทุน
โซตัสจึงเป็นการขูดรีดสามรอบ รอบแรก รุ่นพี่ให้เราจ่ายค่าคุ้มครอง ด้วยการแลกศักดิ์ศรีการเป็นมนุษย์ ให้พวกมันรับน้อง เพื่อประกันว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย และได้งานทำ ฟังดูแล้วไม่ผิดอะไรกับพ่อเล้าเรียกเก็บค่าคุ้มครองคนที่ทำงานบริการเพศ หรือพวกเก็บค่านายหน้าคนงานไปทำงานต่างประเทศ การขูดรีดรอบสอง หลักประกันสำหรับนายจ้างว่า พวกที่ผ่านโซตัสมาแล้วจะ 1)จะไม่กล้าหือต่อนายจ้าง นายจ้างจะใช้ทำโอทีอย่างไรก็ได้ และคนงานที่ผ่านระบบโซตัสจะไม่หัวหมอ กล้าต่อรองสวัสดิการและเงินเดือน 2)ที่สำคัญคนงานที่จบจากมหาวิทยาลัย แล้วได้คุมคนงานพื้นฐานอีกทีหนึ่ง พวกนี้จะใช้หลักสูตรโซตัส เป็นมือเท้าให้กับนายจ้างคอยกำราบคนงานพื้นฐานไม่ให้ต่อรอง และการขูดรีดรอบสาม หากรุ่นน้องยอมจำนนต่อระบบไปแล้ว ระบบโซตัสก็จะได้ทายาทเพื่อสืบทอดการทรมานทาสในรุ่นต่อๆ ไป เป็นการช่วยกันสืบทอดระบบขูดรีดของทุนนิยม โซตัสเป็นลัทธิยอมจำนนต่อระบบทุนนิยม แทนที่ปล่อยให้เกิดการคิดอ่านเพื่อทำลายระบบบ้าบอนี้เสีย

มิถุนาทมิฬ โศกนาถกรรมทางการเมืองที่ซ้ำซาก
มิถุนาทมิฬ ไม่เหมือนพฤษภาทมิฬ เพราะมิถุนาทมิฬ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุก ๆ ปีซึ่งอาจเกือบศตวรรษนับแต่ที่มีมหาวิทยาลัยในเมืองไทย ผู้ต่อต้านระบบโซตัสมักถูกต่อต้านจากรุ่นพี่ที่ไม่ใช้การกดดัน ก็ใช้มาตรการรุนแรงจัดการ 23 ตุลาคม พ.ศ.2496 ฝ่ายซ้ายอย่างจิตร ภูมิศักดิ์ สมัยเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ถูกพวกนิยมโซตัสจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จับโยนบก (โยนจิตรจากเวทีลงพื้น) เสกสรร ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาสมัย 14 ตุลา เคยต่อต้านพิธีรับน้องกลางงานจนมีเรื่องกับรุ่นพี่ ธเนศวร์ เจริญเมืองและพรรคพวกรวมเงินกัน พิมพ์ใบปลิวประท้วงห้องเชียร์คณะรัฐศาสตร์ แจกไปทั่วจุฬาฯ ช่วงต้นๆ พ.ศ. 2510 จนถูกรุ่นพี่กดดัน ช่วงเวลาเดียวกันนั้นมีการออกหนังสือ อาทิ "หนุ่มหน่ายคัมภีร์" ของ สุจิตร วงศ์เทศ และ "ฉันจึงมาหาความหมาย" ของ วิทยากร เชียงกูล ซึ่งมีเนื้อหาเสียดสี และประชดประชันระบบโซตัส
หลัง 14 ตุลา 2516 การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ เป็นประเด็นทางการเมืองสำคัญของชนชั้นล่าง อย่างชาวนา และคนงาน ยุคนี้เป็นยุคตื่นตัวทางสังคมของนักศึกษา เริ่มมีขบวนการนักศึกษาที่ปฏิเสธความโง่ และความป่าเถื่อนของระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง ประเพณีต่างๆ ที่พวกพี่ๆ โง่ นำมาใช้ในสมัยเผด็จการทหารก็เลยกลายเป็นเรื่องตลก และถูกยกเลิกไป กิจกรรมนักศึกษาเน้นหนักไปในแนวทาง "ต่อสู้เพื่อผู้ถูกกดขี่" ค่ายอาสาฯ ได้รับความนิยมกว่าห้องเชียร์ ดังนั้นมิถุนาทมิฬจึงเงียบหายไปจากมหาวิทยาลัยในช่วง พ.ศ.2516-2519 เป็นเวลา 3 ปี เหลือเพียงบางคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีการรับน้องด้วยโซตัส
ปัจจุบันผ่านไปแล้ว 30 กว่าปี โซตัสมันกลับมาอีก สาเหตุก็ไม่ใช่เพราะนักศึกษาโง่หรอก แต่เพราะชนชั้นปกครองไทยอยากให้โง่ต่างหาก การเริ่มเคลื่อนไหวทางสังคมของนักศึกษากับประชาชนหลังสมัย 14 ตุลา ชนชั้นปกครองกลัวว่าจะปกป้องอภิสิทธิ์ไม่ได้ จึงมีคำสั่งร่วมลงมาให้สังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และมีคำสั่งตามมาให้เผาหนังสือที่อาจปลดแอกพวกเราจากความโง่ตามห้องสมุด ต่างๆ ด้วย หลัง 6 ตุลาคม 2519 กิจกรรมรับน้องไร้สาระกลับมาอีก ผู้บริหารมหาวิทยาลัยดูจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่กำราบจริงจังกับกิจกรรมโซตัสพวกนี้ เพราะโซตัสได้ทำลายจินตนาการ และพลังการต่อสู้ของคนหนุ่มสาว ไม่ให้มาสนใจกับปัญหาเศรษฐกิจการเมือง หรือแม้แต่เรื่องใกล้ตัวในมหาวิทยาลัย ซึ่งทั้งผู้บริหารมหาวิทยาลัยและชนชั้นปกครองก็สมประโยชน์ทั้งคู่ กิจกรรมนักศึกษาที่มีต่อสังคม จึงอยู่ในช่วงขาลง เห็นได้จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การปฏิรูปการเมือง และการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ นักศึกษาส่วนใหญ่จึงไม่สนใจ

อนาคตของ SOTUS นักศึกษาผู้รักความเป็นธรรมทั้งหลายจงตื่นเถิด
เราไม่ควรลืมประวัติศาสตร์ของเราเอง ในปี 2475, 2516 และ 2535 มวลชนชาวไทยรวมตัวกันล้มระบบเผด็จการ และชนะ ดังนั้นถ้านิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ต้องการล้มเผด็จการของห้องเชียร์ และรุ่นพี่ ก็คงต้องเรียนบทเรียนจากอดีต คนหนุ่มสาวไทยสามารถล้มเผด็จการได้ และเคยยกเลิกระบบรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัยด้วย แต่ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องรวมตัวกันปฏิเสธความโง่ แล้วพวกรุ่นพี่ที่ดูเหมือนจะมีอำนาจล้นฟ้าก็จะกลายเป็นมนุษย์น้อยที่น่า สงสารเท่านั้นเอง ดีไม่ดีเขาอาจไหว้เราเป็นการขอบคุณก็ได้เพราะเราสามารถปลดแอกความโง่จากเขา ได้ สิ่งที่สำคัญคือ นิสิตนักศึกษาต้องทำเอง ไม่ใช่ไปหวังว่าคนอื่นหรือใครที่ไหนจะทำให้ อย่าลืมว่าคนสามารถเอาแอกออกจากควายได้ แต่เนื่องจากควายเอาแอกออกเองไม่ได้ ควายจำต้องเป็นทาสของมนุษย์ตลอดกาล
หลังการล้มเลิกระบบโซตัส มีทางเลือกให้กับชีวิตของเรามากมาย ในหมู่นักศึกษาเราจะรักกันโดยไม่แบ่งแยกคณะ ไม่แบ่งแยกสถาบัน เราควรเลิกการรับน้อง แล้วเอาเวลาไปศึกษาโลก และต่อสู้เพื่อสังคม ที่ยังมีผู้ได้รับความอยุติธรรมอยู่ค่อนโลก ค่อนประเทศ แล้วเอาเวลาไปพักผ่อน เล่นกีฬา เล่นเกม มันยังมีประโยชน์กว่าการกดขี่นักศึกษากันเองเป็นไหนๆ !!!

แฉเคมบริดจ์รับน้องพิเรนทร์-กินอ้วก

เมื่อ 7 ก.พ. เดอะซันของอังกฤษแฉพฤติกรรมการรับน้องสุดพิเรนทร์ที่เกิดขึ้นในชมรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยชื่อดังของอังกฤษที่รุ่นพี่สั่งให้รุ่นน้องผู้หญิงเปลื้องผ้า นุ่งแต่ชุดชั้นในและบังคับกรอกเหล้าทั้งผู้ชายและผู้หญิง รวมทั้งสั่งให้กินอาเจียนของตัวเอง

ภาพดังกล่าวบันทึกจากกิจกรรม รับน้องของชมรมกีฬาเมื่อปีที่ผ่านมาถูกสังคม วิจารณ์อย่างหนักถึงความโหด เถื่อนและไม่เหมาะสม โดยมีนักเรียนหญิงถูกมัดมือ พันตัวด้วยพลาสติกใสและบังคับให้ดื่มเหล้าหมดแก้ว นอกจากนั้น ยังบังคับให้ใช้ปากสวมถุงยางอนามัยใส่กล้วยที่ห้อยอยู่ระหว่างเป้ากางเกงของ นักเรียนชายสร้างความสนุกสนานให้กับรุ่นพี่ที่ล้อมวงเชียร์อยู่โดยรอบ ส่วนรุ่นน้องผู้ชายถูกสั่งให้กินอาเจียน รวมถึงสั่งให้กินอาหารแบบพิเรนทร์ เช่น ดื่มน้ำที่มีปลาทองว่ายอยู่ กินปลาหมึกสดๆ กินจมูกหมูกับวาซาบิ กินพริกเป็นกำมือ หรือสั่งให้ชกต่อยกันเอง

ด้านเอเดรียน บอยล์ เจ้าหน้าที่พยาบาล กล่าวว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีนักเรียนหญิงเข้ามาขอความช่วยเหลือในสภาพเมาเหล้า เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหลายคนถูกล่วงละเมิดทางเพศ ขณะที่สหภาพนักศึกษาแถลงสั่งแบนกิจกรรมอันตรายทุกประเภทของชมรมเหล่านี้แล้ว

ทั้งนี้ เคย มีนักศึกษาปี 1 อายุ 18 ปี เสียชีวิตเพราะแอลกอฮอล์เป็นพิษเมื่อปี 2549 หลังจากดื่มเหล้าวอดก้าเข้าไป 4 แก้ว ไวน์ 1 แก้ว จากกิจกรรมรับน้องของชมรมกอล์ฟ อีกรายเสียชีวิตเมื่อปี 2546 เพราะสำลักขณะที่กินอาเจียน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mthai

อีกหนึ่งมุมมองจาก Group ไม่เอา SOTUS ที่ว้าก

น่าแปลกนะครับที่คน "ประสบความสำเร็จ" อย่างสูงที่ยังไม่ทันจบปริญญาตรี ไม่ผ่าน SOTUS กลับเป็นเจ้าของกิจการได้ตั้งแต่อายุยังน้อย? ในขณะที่ พวกจบปริญญาตรี และ ปริญญาโทหลายคน และคาดว่ามีหลายคนที่ผ่านระบบดังกล่าวนั้น "ล้วนต้องมาเป็นลูกน้องคนไม่ผ่านระบบนี้ทั้งสิ้น"

... CP, เถ้าแก่น้อย,เจริญ ไม่เห็นผ่านระบบว้าก ระบบปัญญาอ่อนนี้ ก็เห็นเกษียณทุกคน น่าแปลกนะ?

(เถ้าแก่น้อย ผมไม่ทราบว่าเรียนตรีเขาจะเข้ากิจกรรมปัญญาอ่อนนี้หรือเปล่า แต่เป็นถึงเถ้าแก่ ส่งออกสาหร่ายเกือบทั่วโลก ไม่น่าจะมาเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ เพราะเขาเป็นนายตัวเอง ภาวะกดดันก็เจออยู่แล้วทุกวัน? )

น่าขันนะครับ คิดอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ กับโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกวี่ทุกวัน กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่รุ้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

สังเกตประเทศที่ใช้ตะเกียบกินข้าวหน่อยสิ?

- จีน

-เวียดนาม

-เกาหลี

-ญี่ปุ่น

ล้วนแต่เจริญกว่าเรา และ รักกันมาก ไม่เห็นจะกัดกันเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบโง่ๆ แบบ SOTUS ทั้งสิ้น....

มหาวิทยาลัยครับ ไม่ใช่ "ค่ายทหาร" อยากใช้ก็ใช้แค่ในสังคมที่ "ต้องทำตามคำสั่ง" สิครับ?

ผมเชื่อว่า รุ่นน้องสามารถรักรุ่นพี่ได้โดยไม่จำเป้นต้องขู่เข็ญ หรือบังคับ ใช้กรอบสังคมมาบีบบังคับ หรอก

ส่วนตัวคนที่กลัว "แตกต่าง" เลิกปอดแหกได้แล้วครับ ถ้ากลัวการเป้น "แกะดำ" มาก

แกะดำ ในประเทศนิวซีแลนด์รุ้ไหมครับว่าประโยชน์ของมันคืออะไร? มันเอาไว้ทำให้คนเลี้ยงแกะสามารถค้นหาฝุงแกะสีขาวที่กลืนกินกับหิมะในฤดู หนาวไงครับ... และแกะดำคือแกะที่ราคาแพงที่สุดด้วย

ถ้าแกะดำ ที่รวย ประสบความสำเร็จมากกว่า มันก็ดีกว่าไอ้ "ส่วนใหญ่" นะครับ?

ลูกเจ้าของเป็บซี่ เรียนจุฬา ไม่เข้ารับน้อง เพราะต้องไปประชุมกับพ่อที่อเมริกา ที่บริษัท หลุยส์ วิตตองส์ทั้งตัว

ถ้าเป็นแกะดำแบบนี้ โอกาสเยอะกว่าเพื่อน และสัมผัสโลกกว้าง ไม่อยู่แต่ในกะลาคือห้องประชุมเชียร์

มันก็น่าคิดนะครับ???

Entries ย้อนหลังที่มี Comment 100+ Comment

http://shuu.exteen.com/20080619/entry-1

มีรุ่นน้องคนนึงบอกผมว่า

"รุ่นพี่ปีสามบอกว่า อยุ่ปีสามน้องจะรุ้เองว่า ว้ากไม่โง่

แต่ตอนนี้ผมจะขึ้นสาม ทำไมผมรู้สึกว่ายัง "โง่" อยู่ดีวะ"

ถ้าการว้าก ตบหัวแล้วลูบหลัง

มันเพิ่ม การคิดแบบสมองซีกขวา กับซ้ายให้สมดุลกันได้ช่วยมาบอกผมด้วยละกัน?

ปล. ใครเข้า ม.เกษตร จะมีนับคะแนนกิจกรรม 100 หน่วยชั่วโมง แนะนำว่า

ไปเป็นลีด, ค่ายอาสา,รักช้าง,ร้องเพลงประสานเสียง,ทำบุญตักบาตร เข้าชมรมวิชาการ ชมรมพุทธศาสนา นุ่งขาวห่มขาวซัมเมอร์ เต้นแอโรบิก มินิมาราธอน

ได้ชั่วโมงกิจกรรมเยอะกว่า ประชุมเชียร์ว้ากเยอะเลยครับ

ไม่เห็นไอ้พวกคลั่งโซตัสบางคนเวลาทำงานมันจะห่วงเพื่อน พ้องซักคน สุดท้ายก็ทางใครทางมัน ห่วงแต่ปากท้องตัวเอง ทำงานทุกวัน 8 ชั่วโมง เงินเดือนไม่พอ ยังต้องมาขอตังพ่อตังแม่อยู่เลยครับ แค่ชีวิตตัวเองยังรับผิดชอบไม่ได้มีถมเถไป....ผิดกับพวกไม่เข้าระบบแต่หา เงินเป็น ขายของแฮนด์เมคตามตลาดนัด วาดนั่นนี่ขาย เป็นนายตัวเอง กลับบ้านไปช่วยแม่ดูแลกิจการที่บ้าน ยังประสบความสำเร็จมากกว่าพวกนั้นอีกครับ

ทักษะการทนปัญหา(แต่ไม่คิดแก้ไข ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนการกระทำเดิม ก็โดนด่าร่ำไป )

กับทักษะการจัดการปัญหา การเปลี่ยนปลงตัวเองมันคนละเรื่องนะครับ

ไม่ต้องมายัดเยียดภาวะกดดัน ซ้อมไว้กันเจ้านายด่าหรอกครับ มันคนละเรื่อง

อีกหนึ่งมุมมองจาก Group ไม่เอา SOTUS ที่ว้าก

น่าแปลกนะครับที่คน "ประสบความสำเร็จ" อย่างสูงที่ยังไม่ทันจบปริญญาตรี ไม่ผ่าน SOTUS กลับเป็นเจ้าของกิจการได้ตั้งแต่อายุยังน้อย? ในขณะที่ พวกจบปริญญาตรี และ ปริญญาโทหลายคน และคาดว่ามีหลายคนที่ผ่านระบบดังกล่าวนั้น "ล้วนต้องมาเป็นลูกน้องคนไม่ผ่านระบบนี้ทั้งสิ้น"

... CP, เถ้าแก่น้อย,เจริญ ไม่เห็นผ่านระบบว้าก ระบบปัญญาอ่อนนี้ ก็เห็นเกษียณทุกคน น่าแปลกนะ?

(เถ้าแก่น้อย ผมไม่ทราบว่าเรียนตรีเขาจะเข้ากิจกรรมปัญญาอ่อนนี้หรือเปล่า แต่เป็นถึงเถ้าแก่ ส่งออกสาหร่ายเกือบทั่วโลก ไม่น่าจะมาเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ เพราะเขาเป็นนายตัวเอง ภาวะกดดันก็เจออยู่แล้วทุกวัน? )

น่าขันนะครับ คิดอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ กับโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกวี่ทุกวัน กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่รุ้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

สังเกตประเทศที่ใช้ตะเกียบกินข้าวหน่อยสิ?

- จีน

-เวียดนาม

-เกาหลี

-ญี่ปุ่น

ล้วนแต่เจริญกว่าเรา และ รักกันมาก ไม่เห็นจะกัดกันเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบโง่ๆ แบบ SOTUS ทั้งสิ้น....

มหาวิทยาลัยครับ ไม่ใช่ "ค่ายทหาร" อยากใช้ก็ใช้แค่ในสังคมที่ "ต้องทำตามคำสั่ง" สิครับ?

ผมเชื่อว่า รุ่นน้องสามารถรักรุ่นพี่ได้โดยไม่จำเป้นต้องขู่เข็ญ หรือบังคับ ใช้กรอบสังคมมาบีบบังคับ หรอก

ส่วนตัวคนที่กลัว "แตกต่าง" เลิกปอดแหกได้แล้วครับ ถ้ากลัวการเป้น "แกะดำ" มาก

แกะดำ ในประเทศนิวซีแลนด์รุ้ไหมครับว่าประโยชน์ของมันคืออะไร? มันเอาไว้ทำให้คนเลี้ยงแกะสามารถค้นหาฝุงแกะสีขาวที่กลืนกินกับหิมะในฤดู หนาวไงครับ... และแกะดำคือแกะที่ราคาแพงที่สุดด้วย

ถ้าแกะดำ ที่รวย ประสบความสำเร็จมากกว่า มันก็ดีกว่าไอ้ "ส่วนใหญ่" นะครับ?

ลูกเจ้าของเป็บซี่ เรียนจุฬา ไม่เข้ารับน้อง เพราะต้องไปประชุมกับพ่อที่อเมริกา ที่บริษัท หลุยส์ วิตตองส์ทั้งตัว

ถ้าเป็นแกะดำแบบนี้ โอกาสเยอะกว่าเพื่อน และสัมผัสโลกกว้าง ไม่อยู่แต่ในกะลาคือห้องประชุมเชียร์

มันก็น่าคิดนะครับ???

Entries ย้อนหลังที่มี Comment 100+ Comment

http://shuu.exteen.com/20080619/entry-1

มีรุ่นน้องคนนึงบอกผมว่า

"รุ่นพี่ปีสามบอกว่า อยุ่ปีสามน้องจะรุ้เองว่า ว้ากไม่โง่

แต่ตอนนี้ผมจะขึ้นสาม ทำไมผมรู้สึกว่ายัง "โง่" อยู่ดีวะ"

ถ้าการว้าก ตบหัวแล้วลูบหลัง

มันเพิ่ม การคิดแบบสมองซีกขวา กับซ้ายให้สมดุลกันได้ช่วยมาบอกผมด้วยละกัน?

ปล. ใครเข้า ม.เกษตร จะมีนับคะแนนกิจกรรม 100 หน่วยชั่วโมง แนะนำว่า

ไปเป็นลีด, ค่ายอาสา,รักช้าง,ร้องเพลงประสานเสียง,ทำบุญตักบาตร เข้าชมรมวิชาการ ชมรมพุทธศาสนา นุ่งขาวห่มขาวซัมเมอร์ เต้นแอโรบิก มินิมาราธอน

ได้ชั่วโมงกิจกรรมเยอะกว่า ประชุมเชียร์ว้ากเยอะเลยครับ

ไม่เห็นไอ้พวกคลั่งโซตัสบางคนเวลาทำงานมันจะห่วงเพื่อน พ้องซักคน สุดท้ายก็ทางใครทางมัน ห่วงแต่ปากท้องตัวเอง ทำงานทุกวัน 8 ชั่วโมง เงินเดือนไม่พอ ยังต้องมาขอตังพ่อตังแม่อยู่เลยครับ แค่ชีวิตตัวเองยังรับผิดชอบไม่ได้มีถมเถไป....ผิดกับพวกไม่เข้าระบบแต่หา เงินเป็น ขายของแฮนด์เมคตามตลาดนัด วาดนั่นนี่ขาย เป็นนายตัวเอง กลับบ้านไปช่วยแม่ดูแลกิจการที่บ้าน ยังประสบความสำเร็จมากกว่าพวกนั้นอีกครับ

ทักษะการทนปัญหา(แต่ไม่คิดแก้ไข ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนการกระทำเดิม ก็โดนด่าร่ำไป )

กับทักษะการจัดการปัญหา การเปลี่ยนปลงตัวเองมันคนละเรื่องนะครับ

ไม่ต้องมายัดเยียดภาวะกดดัน ซ้อมไว้กันเจ้านายด่าหรอกครับ มันคนละเรื่อง

SOTUS : ใจ อึ๊งภากรณ์

>ในตอนเย็นของวันทำงานธรรมดาๆ ที่จุฬาฯ วันหนึ่ง ผมเดินออกจากห้อง
>เพื่อไปขึ้นรถไฟกลับบ้าน
>แต่ปรากฏว่า มีเสียงโห่ร้อง อย่างน่ากลัวเกิดขึ้น จากตึกคณะเศรษฐศาสตร์
>
>ตอนแรกผมไม่แน่ใจว่า เสียงนี้เป็นเสียงฝูงสัตว์ป่า หรือกลุ่มอันธพาลกันแน่
>แต่พอยืนฟังสักพัก
>ก็รู้ว่าเป็นนิสิตจุฬาฯ เห่าหอนโห่ร้องว่า คณะของตน และมหาวิทยาลัยของตน
>ดีกว่าคนอื่น ฯลฯ
>ผมเดินต่อไปที่ตึกรัฐศาสตร์ ก็ปรากฏว่ามีเสียงประหลาดๆ แบบนี้เกิดขึ้นเช่นกัน
>แต่ออกมาจากห้อง
>ที่ประตูหน้าต่างปิดหมด
>
>สักพักหนึ่งผมเดินไปที่หน้าเสาธง ก็เห็นวัยรุ่นอันธพาลชาย 3
>คนยืนปรามนิสิตหญิงปี 1 คนเดียว
>เขาใช้วิธีบังคับทารุณ ให้ผู้หญิงคนนั้น วิ่งไปวิ่งมา หรือนั่งลงแล้วยืนขึ้น
>ทั้งหมดกระทำไป
>เพื่อทำลายความเป็นปัจเจกความคิดสร้างสรรค์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
>ของนิสิตคนนั้น
>เพราะการบังคับ ให้คนทำสิ่งที่ไร้สาระเพื่อ *'พิสูจน์'* ความจงรักภักดี
>
>มันแย่ยิ่งกว่าการบังคับทาส หรือนักโทษให้ขุดคลอง ยิ่งกว่านั้น
>ขณะที่พวกรุ่นพี่กำลังบังคับให้นิสิตปี 1
>วิ่งไปวิ่งมาอย่างไร้สาระ ก็มีการตะโกนด่า อย่างที่คุณพ่อคุณแม่
>หรือครูของนิสิตคนนั้น
>คงไม่มีวันกระทำ เพราะมันเป็นพฤติกรรมแท้ของคน ที่ไม่มีอารยธรรม และนอกจากนี้
>ทั้งหมดนี้
>กระทำต่อหน้ากลุ่มนิสิตปี 1 เพื่อเป็น *'ตัวอย่าง'* ให้เขาเห็น
>
>สรุปแล้วมันเป็นภาพของการทำลายศักดิ์ศรีซึ่งกัน และกันระหว่างนิสิตรุ่นพี่
>และรุ่นน้อง ทั้งผู้กระทำ
>และผู้ถูกกระทำกลายเป็นสัตว์ป่า เพราะผู้กระทำหลงเชื่อว่า
>ตนเองมีสิทธิที่จะกระทำแบบนั้นกับผู้อื่น
>
>การตะโกนแบบหยาบๆ เพื่อบังคับให้คนภายใต้อำนาจเราทำสิ่งที่ไร้สาระ
>เรียนรู้โดยตรงจากการฝึกกองทหารในระบบทุนนิยม
>ถ้าดูภาพยนตร์เรื่องชีวิตการฝึกทหารก็จะเห็นวิธีการแบบนี้ เป้าหมายหลักคือ
>การฝึกให้พลทหารทำตามคำสั่งโดยไม่คิด และไม่เถียง
>เพราะพวกนายพลมองว่าเป็นการสร้าง
>*'ประสิทธิภาพในการรบ'*
>ขอเน้นอีกครั้งหนึ่งว่าวิธีการนี้ใช้เพื่อสร้างประเพณีบรรยากาศการทำตามคำสั่งโด
>ยไม่คิดเอง
>
>ดังนั้นนี่คือสิ่งที่นักศึกษาใน *'มหาวิทยาลัยชั้นนำ'*
>ของไทยกำลังถ่ายทอดจากรุ่นพี่ไปสู่รุ่นน้อง
>ดังนั้นอย่าหวังอะไรมากจากเด็ก SOTUS ที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
>เพราะถ้าตอนสอบเข้าเขาคิดเองเป็น
>พอผ่านการฝึกฝนในห้องเชียร์ในปีแรกก็คงไม่มีมันสมองเหลือเพื่อการวิเคราะห์โลกอี
>ก
>
>สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของระบบทหารคือ
>ในสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี
>หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 หรือในสงครามระหว่างเวียดนามกับสหรัฐในทศวรรษที่
>60 และ 70
>ฝ่ายที่ชนะไม่ได้ชนะเพราะมีการฝึกทหารให้เป็นหุ่นยนต์ที่ทำตามคำสั่ง
>แต่ชนะเพราะทหารฝรั่งเศสหรือทหารเวียดนามเข้าใจด้วยมันสมองของตนเองว่า
>เขาออกรบเสี่ยงตายเพื่ออะไร
>
>พูดง่ายๆ ไม่ต้องมีใครมาสั่งให้เขารบอย่างกล้าหาญหรอก
>เขารบอย่างกล้าหาญเพราะเขาเห็นด้วยกับอุดมการณ์ที่เขากำลังปกป้อง Henry
>Kissinger
>เข้าใจเรื่องนี้ดี เพราะเขาสารภาพว่า
>"เราแพ้สงครามเวียดนามเนื่องจากเราใช้การทหารในการรบในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามใช้การเ
>มือง"
>
>กลับมาสู่มหาวิทยาลัยของผมที่หวัง *'เป็นเลิศทางวิชาการ'* ....
>ถ้าเราถามนิสิตรุ่นพี่หรือนิสิตเก่าว่า กิจกรรมในห้องเชียร์ทำไปทำไม
>เขาจะตอบว่ามันเป็นกิจกรรมร่วมภายใต้ระบบ SOTUS
>ที่สร้างความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคณะ
>เขาจะอธิบายต่อว่าการผ่านความยากลำบาก
>การถูกบังคับอย่างทารุณโดยรุ่นพี่) ช่วยให้ทุกคนรู้จักกันดีขึ้น และสามัคคีกัน
>
>ดังนั้นผมขอเสนอว่าจริงๆ แล้วถ้านิสิตจะฝ่าความยากลำบากพร้อมๆ
>กันก็ควรอาสาสมัครหมู่ไปขุดโคลนออกจากท่อระบายน้ำตามถนนอย่างที่นักโทษเขาทำกัน
>หรืออาสาสมัครไปเก็บขยะตามสลัมแถวๆ คลองเตย หรือทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ฯลฯ
>จะมีประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า
>
>แต่ผมเชื่อว่านิสิตพวกที่หลงใหลในระบบ SOTUS คงไม่มีวันทำ เพราะลึกๆ
>แล้วระบบนี้เป็นระบบที่ปกป้องโครงสร้างอำนาจระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง "สิงห์ดำ
>แดง เหลือง ม่วง
>ลาย ฯลฯ" หลังจากที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้วออกไปทำงาน พูดง่ายๆ SOTUS
>มันไม่แค่ทำลายความคิดของนิสิตขณะที่ศึกษา
>แต่มันปกป้องระบบอำนาจนิยมในหมู่ชนชั้นนำในสังคมไทยด้วย
>
>สำหรับคนที่ไม่เข้าใจว่า SOTUS คืออะไร ขออธิบายว่าเป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ 5
>คำดังนี้
>
>*S* มาจากคำว่า *Stupid* หรือ *'โง่'* ระบบห้องเชียร์ช่วยให้นิสิตโง่มากขึ้น
>เพราะทำลายเซลล์ในสมอง และความสามารถในการคิดเองเป็น แถมกิจกรรมต่างๆ
>ที่ทำในห้องเชียร์ถูกกำหนดว่าต้องเป็นเรื่องโง่ๆ ด้วย
>ห้ามเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
>ต้องวิ่งไปวิ่งมา ขังรุ่นน้องในห้องโดยปิดประตูหน้าต่าง และไม่เปิดแอร์
>ทำถูกก็โดนด่า
>ทำผิดก็โดนด่า ไม่ทำก็ด่า ทำก็ด่า ทำไปทำมาทั้งรุ่นน้อง
>และรุ่นพี่โง่กันอย่างสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
>
>ทำกิจกรรมเสร็จแล้วออกมาจากห้องก็ต้องไหว้รุ่นพี่อีก ถ้ารุ่นพี่สั่งให้ไหว้หมา
>*'เพื่อความสามัคคี'*
>ก็คงต้องไหว้มั้ง? แถมเรียนจบก็นำความโง่ไปใช้ในสังคมภายนอก
>หมอบคลานกราบไหว้สิ่งที่ไม่ควรกราบ ไม่ต้องใช้สมองคิด สังคมจะได้โง่
>
>สรุปแล้วโคตรโง่เลย !
>
>*O* มาจากคำว่า *Out-Dated* ซึ่งแปลว่า *'ล้าสมัย'*
>ความล้าสมัยของระบบห้องเชียร์ และ
>SOTUS ดูได้จากการที่มีการยกเลิกระบบนี้เองโดยนักศึกษาไทยในยุค 14 ตุลาคม 2516
>ซึ่งเป็นยุคตื่นตัวทางสังคมของนักศึกษา
>ในยุคนั้นเริ่มมีขบวนการนักศึกษาที่ปฏิเสธความโง่
>และความป่าเถื่อนของระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง ประเพณีต่างๆ ที่พวกพี่ๆ โง่
>นำมาใช้ในสมัยเผด็จการทหารก็เลยกลายเป็นเรื่องตลก และถูกยกเลิกไป
>
>แต่ปรากฏว่าตอนนี้เกือบ 30 ปีผ่านไป สังคมนักศึกษาก็ยังจมอยู่ในความโง่ของอดีต
>สาเหตุก็ไม่ใช่เพราะนักศึกษาโง่หรอก แต่เพราะชนชั้นปกครองไทยอยากให้โง่ต่างหาก
>ดังนั้นเมื่อนักศึกษาเริ่มคิดเองเป็น และเริ่มเคลื่อนไหวทางสังคมหลังสมัย 14
>ตุลา
>ชนชั้นปกครองกลัวว่าจะปกป้องอภิสิทธิ์ไม่ได้
>จึงมีคำสั่งร่วมลงมาให้สังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม
>2519
>และมีคำสั่งตามมาให้เผาหนังสือที่อาจปลดแอกพวกเราจากความโง่ตามห้องสมุดต่างๆ
>ด้วย
>
>ในยุคโลกาภิวัตน์ ใครๆ เขาพูดกันว่าพลเมืองต้องมีส่วนร่วมในการปกครอง
>ต้องร่วมตรวจสอบผู้แทน
>ต้องมีประชาธิปไตย ต้องคิดเองเป็น
>และมีการเสนอมานานว่าควรปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนานักศึกษา
>แต่ในหมู่นิสิตรุ่นต่างๆ ที่บ้าคลั่ง SOTUS
>การเปลี่ยนแปลงในโลกภายนอกคงไม่มีความหมาย
>น่าสงสารไม่มีสมองก็คิดเองไม่เป็น แล้วคงไม่รู้จักเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ
>
>*T* ย่อจาก *Tyranny* ซึ่งแปลว่า *'การใช้เผด็จการกดขี่ผู้อื่น'* ระบบ SOTUS
>ใช้วิธีการไร้สาระของการกดขี่เพื่อความไร้สาระ
>และเป็นระบบที่นำมาหนุนความคิดแบบอำนาจนิยมกราบไหว้ในสังคมภายนอก
>แต่เราไม่ควรลืมประวัติศาสตร์ของเราเอง ในปี 2475, 2516 และ 2535
>มวลชนชาวไทยรวมตัวกันล้มระบบเผด็จการ และชนะ
>
>ดังนั้นถ้านิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ต้องการล้มเผด็จการของห้องเชียร์ และรุ่นพี่
>ก็คงต้องเรียนบทเรียนจากอดีต คนหนุ่มสาวไทยสามารถล้มเผด็จการได้
>และเคยยกเลิกระบบรุ่นพี่รุ่นน้องในจุฬาฯ ด้วย แต่ทำคนเดียวไม่ได้
>ต้องรวมตัวกันปฏิเสธความโง่
>แล้วพวกรุ่นพี่ที่ดูเหมือนจะมีอำนาจล้นฟ้าก็จะกลายเป็นมนุษย์น้อยที่น่าสงสารเท่
>านั้นเอง
>ดีไม่ดีเขาอาจไหว้เราเป็นการขอบคุณก็ได้เพราะเราสามารถปลดแอกความโง่จากเขาได้
>
>สิ่งที่สำคัญคือ นิสิตต้องทำเอง
>ไม่ใช่ไปหวังว่าคนอื่นอย่างผมหรือใครที่ไหนจะทำให้
>อย่าลืมว่าคนสามารถเอาแอกออกจากควายได้ แต่เนื่องจากควายเอาแอกออกเองไม่ได้
>ควายจำต้องเป็นทาสของมนุษย์ตลอดกาล
>
>*U* มาจาก *Uncivilised* ซึ่งแปลว่า *'ป่าเถื่อน'* ไม่มีอารยธรรม
>การใช้อำนาจระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง การทำกิจกรรมไร้สาระ การตะโกนในทำนองว่า
>"คณะกูดีกว่าคณะ" การทำลายความเป็นปัจเจกมนุษย์
>และการทำลายมันสมองที่จะคิดเอง
>ล้วนแต่เป็นความป่าเถื่อนไร้อารยธรรม
>แม้แต่สัตว์ในป่ายังมีอารยธรรมมากกว่าพวกบ้า SOTUS
>เพราะสัตว์มันคิดเองไม่เป็นตามธรรมชาติเรายกโทษให้มันได้
>แถมมันไม่มีวันจงใจโง่หรือแกล้งคนอื่นเหมือนพวกนิสิต SOTUS
>
>รู้ไหมว่าระบบ SOTUS นี้คนไทยเอามาจากไหน?
>ลองคิดดูว่าที่ไหนไร้อารยธรรมที่สุดในโลก
>คนกลุ่มไหนกำลังทำตัวเป็นอันธพาลระดับโลกาภิวัตน์จนเกิดการเกลียดชังกันทั่วทุกแ
>ห่ง
>คนกลุ่มไหนพร้อมจะกอบโกยขณะที่คนยากจนอดอยาก คนกลุ่มไหนฆ่าเด็กในนามของเสรีภาพ
>....
>
>ใช่ครับ ระบบ SOTUS มาจากส่วนบนของสังคมสหรัฐอเมริกาที่ล้าหลัง
>และไร้อารยธรรมที่สุด พวก
>*'รักชาติไทย'* ทั้งหลายว่าอย่างไรครับ?
>จะเดินตามก้นสหรัฐเหมือนคนกวาดมูลต่อไปไหม?
>
>*S* ตัวสุดท้ายมาจากคำว่า *Stop It* - *'เลิกเถิดเรื่องโง่ๆ ไร้สาระ'*
>เลิกเถิดเรื่องการกดขี่กันเองในหมู่นักศึกษา เลิกตะโกนบ้าๆ
>เพื่อเชียร์สิ่งที่ไม่น่าเชียร์ เลิกภูมิใจ
>และเคารพกราบไหว้ในสิ่งน่าเบื่อย่ำแย่ เลิกกลัวที่จะขัดคำสั่งรุ่นพี่
>รุ่นพี่เลิกกลัวที่จะไม่ทำตามประเพณีโง่ๆ ต่อไป....
>
>แล้วถ้าเลิกไปนิสิตจะใช้เวลาทำอะไร? จัดการแสดงดนตรี จัดละคร ไปดูหนัง
>อ่านหนังสือ
>อ่านหนังสือพิมพ์ และวารสาร สนใจปัญหาสังคม สนใจปัญหาการเมือง
>สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม
>คุยกับเพื่อน คุยกับคนในครอบครัว จู๋จี๋กับแฟน ไปกินข้าวอร่อยๆ ออกกำลังกาย
>ไปเที่ยว
>เขียนจดหมายมาวิจารณ์คนอย่างผมก็ได้ (มีอี-เมล์ข้างบน)...
>
>*ระบบห้องเชียร์ และ SOTUS มันน่าจะเป็นฝันร้ายจากอดีตที่ไม่เป็นจริง
>แต่ทุกวันนี้
>ในหมู่คนหนุ่มสาวที่อ้างตัวว่าเป็นกลุ่มชั้นนำ (Cream of Thai Society)
>มันเป็นความจริง
>และแย่ยิ่งกว่าฝันร้ายอีก*

ตามรอย SOTUS อดีต --> ปัจจุบัน

สรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์ ศ.ดร.ระพี สาคริก อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่น KU 2
ผู้ได้สัมผัสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ.2482

ผู้สัมภาษณ์ อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
==========================================================
####ฝากให้คิดก่อนสัมภาษณ์####

การศึกษา-วัฒนธรรมของไทย มักตามรอยต่างชาติ
ให้นึกถึงรถแข่งในสนามแข่ง แม้จะดูว่าแข่งขันกัน แต่ถนนมีกรอบ รถทุกคันมีอิสระที่จะวิ่งไป
ไม่ได้บังคับให้วิ่งตามกันตลอด
ถ้าวิ่งตามกันในถนนปกติ คันหน้าเห็นเหวแล้วหลบ คันหลังหลบไม่ทันก็ลงเหว
สรุปแล้ว อะไรก็ตามถ้าเราตามเขา เราเปลี่ยนแปลงยาก
สิ่งที่เราตามอเมริกา หรือ ยุโรป ตอนนี้เขาเห็นเหว เขาหลบแล้ว แต่เรายังไม่เห็น

##### เรื่องความรักเกษตร-รักพวกพ้อง ####
3-4 ปีก่อน มีสื่อเคยสัมภาษณ์ท่านที่หน้าอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ถามว่า
“อาจารย์รักเกษตรไหม” ท่านเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ถามและตอบไปว่า
“รักสิ เพราะเกษตรเป็นของแผ่นดิน แต่ผมไม่ใช่พวกเกษตรนะ” นี่พูดให้คิด
ปัญหาใหญ่ของคนไทยคือ ความเป็นพวกสูงมาก ไม่ใช่เฉพาะที่เกษตรแต่มีทุกที่
เราจึงบูรณาการไม่สำเร็จ เพราะใจไม่บูรณาการ

1 - #### ที่มาของ SOTUS #####

ย้อนไปสมัยก่อนก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ยกย่องอเมริกามาก
พออเมริกาได้ฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้น แล้วตั้งมหาวิทยาลัยทางการเกษตรที่ Lospanos
เมื่อเข้ามาแล้วก็ปรับอะไรบางอย่าง แทรกวัฒนธรรม เข้าไป
แม้อเมริกาไม่รู้จักปลูกอ้อย แต่เมื่อมาเขตร้อน ก็ผลิตตำราด้านพืชเขตร้อนออกมามากมาย
ประเทศเราก็อยู่ในเขตร้อน จึงส่งนักเรียนทุนไปเรียนที่นั่น
ต้นกำเนิดของการรับน้องใหม่ของเรา จึงรับมาจากฟิลิปปินส์ ซึ่งรับมาจากอเมริกาอีกทอดหนึ่ง
แนวความคิดของการรับน้องเหล่านี้ มากับระบบการศึกษา
ของจุฬาฯก็คงมีเหมือนกัน ท่านอาจารย์อาวุโสของจุฬาคงให้รายละเอียดได้
แต่ของจุฬาจะไม่มีความรุนแรง
ส่วน SOTUS ของเกษตร มากับระบบการศึกษาแบบอเมริกัน


- 2 - #### เมื่อเกษตรนำ SOTUS มาใช้ ####
ครั้งแรกที่รับมา ไม่รุนแรงเท่าในปัจจุบัน
สมัยนั้น นิสิตต้องเรียนเตรียมเกษตรที่แม่โจ้ เป็นเวลา 2 ปี
คุณพระช่วงฯ ท่านมีแนวคิดว่า เกษตรต้องสู้ ต้องอดทน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลน
ไฟฟ้า น้ำประปา ไม่มี อาหารก็แทบไม่มีกิน
เนื่องจากได้ยินกิจสรรพเรื่องความขาดแคลน น้องใหม่ก็ซื้อของตุนไว้ทุกอย่างเพราะกลัวอด
เมื่อไปถึงรุ่นพี่ก็จะมารับรุ่นน้องที่สถานีรถไฟ
ครั้งแรกที่พบกันรุ่นพี่จะช่วยเหลือบริการทุกอย่าง(เพื่อให้น้องแสดงธาตุแท้ออกมา)
ในระหว่างนั้นก็จะคอยสังเกต ว่าใครเบ่ง หมายหัวไว้ แต่ยังไม่ทำอะไร

เมื่อไปถึงที่พัก ก็จะให้น้องจัดของเข้าห้องพัก
แล้วอุปโลกย์หมอประจำท้องถิ่นขึ้นมาคนหนึ่ง เรียกประชุมเพื่อชี้แจงการดูแลสุขภาพตนเอง
ระหว่างนั้น รุ่นพี่คนอื่นก็จะเข้าไปขนอาหาร ขนมต่างๆ ไปซ่อน
น้องประชุมเสร็จแล้ว กลับมาก็ไม่เจออาหาร แต่สมบัติอย่างอื่น รุ่นพี่จะไม่แตะ ขนไปแต่อาหารเท่านั้น
(นับเป็นครั้งแรกของการรับน้อง)

หลังจากนั้นในเดือนแรก ก็จะปล่อยให้เป็นอิสระ ไม่มีการว๊าก
รุ่นพี่ยอมน้องทุกอย่าง ดูแลเป็นอย่างดี (ให้แสดงธาตุแท้ให้เต็มที่)
แต่ก็ยังสังเกตว่าใครที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะ เช่นมีเงินติดตัวเยอะแล้วมาอวดเบ่ง หรือใช้พี่เหมือนใช้ทาส

3 - ####คืนปล้นหอ####

รุ่นพี่ก็จะหายไปหมด ประมาณตีสามตีสี่ ยิงปืนนัดหนึ่ง
รุ่นพี่ทาหน้าดำหมด ทำเหมือนโจรปล้นหอ ส่งเสียงดัง
ต้อนน้องไปยังสนามฟุตบอล โดยบอกว่าจะพาไปไหว้ขอพรจากอาจารย์
ให้แต่งตัวให้ดี แล้วต้อนน้องไป
สองข้างทางก็จะมีรุ่นพี่คุมอยู่ตลอด ทำสีหน้าเคร่งเครียด ข่มขู่ (รูปแบบการว้าก ใช้เสียงดัง มาจากช่วงนี้)
ในที่สุดก็ไปลงสระน้ำ ทำการชำระความ อ่านธรรมนูญแม่โจ้ (ข้อตกลงในการอยู่ในสังคมนั้น)
รุ่นน้องที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ก็ให้โดดน้ำบนไม้กระโดด
รุ่นพี่ที่ทำอะไรไม่เหมาะก็โดนด้วยเช่นกัน
โทษหนักที่สุดก็คือตรึงไม้กางเขน จุดคบไฟ แห่รอบ แล้วเอาไปบูชายัญ
คือเอาไปปักไว้กลางสนามฟุตบอล แล้วก็มีการประจานกันเล็กน้อย
(รับน้องจริงๆมีเท่านี้ เพียงหนึ่งคืนเท่านั้น หลังจากนั้นก็เรียนหนังสือตามปกติ)

-4- ####SOTUS จากแม่โจ้ มาเกษตร####

สมัยนั้นแม่โจ้เป็นโรงเรียมเตรียมของมหาวิทยาลัยเกษตร
เมื่อจบจากแม่โจ้ ก็ถือว่าผ่านการรับน้องแล้ว มาอยู่เกษตรจึงไม่มีการรับน้องอีก
จนกระทั่งกระทรวงศึกษาแยกการบริหาร ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
SOTUS จึงถ่ายทอดมาที่ยังเกษตร

- 5 - #### ว้าก กับ การร้องเพลงเชียร์ ####
จุดประสงค์หนึ่งก็คืออยากให้น้องร้องเพลงมหาวิทยาลัยได้
แต่ปัจจุบันมีการอ้างว่า เพลงของคณะ ของมหาวิทยาลัยมีมากขึ้น
จึงต้องใช้ระยะเวลายาวนานเป็นเดือน

จริงๆ แล้วเป็นคนละเรื่อง แต่นำมาปะปนกัน
ทั้งการลงโทษ ระเบียบเชียร์
ในอดีตมีการลงโทษ มหาวิทยาลัยเคยถูกฟ้อง
เพราะนิสิตบาดเจ็บ และพ่อของนิสิตเป็นทนายความ
(เหมือนสถานการณ์ในตอนนี้)

6 - #### เรื่องสื่อมวลชน ####
ช่วงสามสิบปีก่อน หนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งได้ลงข่าววิจารณ์มหาวิทยาลัย
นิสิตไปเป่าแตรงอน วางพวงหรีดหน้าสำนักพิมพ์ กลายเป็นข่าวใหญ่
ภายหลังมีคนทำตามกันเยอะ (นี่อาจเป็นสาเหตุให้สื่อต่างๆจับจ้องเกษตรมากกว่าสถาบันอื่น)

7- #### คำถาม วัตถุประสงค์ของการรับน้องคืออะไร ####
ส่วนใหญ่จะตอบว่าให้รักกัน
สิ่งที่ต้องคำนึงคือ เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คนเราจะรักกันก็ด้วยความศรัทธา
ผู้ใหญ่ต้องปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี
การกระทำเช่นรับน้องนี้ เปรียบเหมือน “ตบหัวแล้วลูบหลัง”
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน
ระยะหลังๆมีตัวอย่างจากในที่ทำงาน
จบเกษตร กินข้าวหม้อเดียวกัน ไปทำงานแล้วปัดแข้งปัดขา แย่งตำแหน่งกัน
สมาคมนิสิตเก่าฯ กี่ยุคกี่สมัย ก็แตกเป็นพวกเป็นเหล่า
แม้แต่อาจารย์ที่แม่โจ้สมัยนั้นเองก็ยังต้องแบ่งแยกชนชั้น
ต้องจบจากที่นั่นที่นี่ถึงจะเรียกเป็นอาจารย์ได้ ไม่เช่นนั้นเรียกว่าครู

ทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ 100%
ในระยะหลังๆ รับน้องกลายเป็นเรื่องการเอาคืน ไม่เข้าใจกัน
ทุกอย่างเกิดจากกิเลสของคน ขาดธรรมะ ขาดสติ
ตอนนี้กลายเป็นเหมือนสิ่งเสพติด
จึงต้องมาพิจารณาศีลธรรมของตัวเอง
ต้องให้ผู้อื่นมอง
อย่าหักด้ามพร้าด้วยหัวเข่า
ต้องมองถึงอดีตว่ามาอย่างไร
ศรัทธาตัวเดียวแก้ได้ทุกอย่าง
ศรัทธาคือความสุข ขณะจิตว่าง ไม่ใช่ความงมงาย
เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากความอยาก

ว้าก ก่อให้เกิดความยำเกรง
แต่ยำเกรง ไม่ได้ก่อให้เกิดศรัทธา


สุดท้ายเป็นประเด็นฝากถึงแต่ละฝ่ายครับ

###ผู้บริหาร###
เมื่อเด็กมีปัญหา
ถ้าผู้ใหญ่ลงมาดูแล ลงมาคลุกคลีเอง เด็กจะเกิดความยำเกรง เป็นการแก้ทางจิตใจ
ไม่ใช่แก้ด้วยอำนาจ นั่งสั่งห้ามลงมา นี่เป็นสัจธรรมของการบริหาร

###อาจารย์###
อ้างถึงหนังสือ “อนิจจาการศึกษาไทย” โดย ศ.ดร.ระพี
เรื่องคำสั่งจากทบวงฯ เรื่องให้สอดแทรกศีลธรรมในการสอน
อาจารย์บางส่วนไม่เข้าใจ ก็ต่อต้าน บอกว่าแค่เนื้อหาวิชาปกติก็สอนไม่ทันแล้ว
ทั้งๆที่จริงแล้ว อยู่ที่การปฏิบัติตัวให้คนอื่นเห็น ไม่จำเป็นต้องอ้างภาษาบาลี
อาจารย์ต้องมีศีลธรรมเช่นกัน

###นิสิต###
สมัยนี้เรายึดติดกับวัตถุ ต้องใช้ Transcript มาล่อ
เป็นการบังคับ ไม่ได้มาจากใจ
(อ.ปัญญา) มหาวิทยาลัยบังคับให้นิสิตทำกิจกรรม แต่มีเสรีในการเลือกทำกิจกรรม
ถ้านิสิตมีความคิดใหม่ๆ อยากเริ่มทำกิจกรรมใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม
กิจกรรมนิสิตเป็นหน้าที่ของอาจารย์ทุกท่าน ไม่ใช่เฉพาะอาจารย์ที่เป็นฝ่ายกิจการนิสิตเท่านั้น




ตีความSOTUSใหม่

[1] “ถึงเอกมัยแล้วนะ……..มา รับกูที” เสียงปลายสายสั่งให้ผมลุกขึ้นจากโซฟาไม้สักจากเมืองแพร่ (ที่มีคนชอบต่อท้ายว่าแห่ระเบิด) ผมไม่รู้จะเรียกญาติวัยเดียวกันว่าเพื่อน พี่ หรือน้องดี เจ้าหนุ่มจากนิคมโรงงานแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกจัดแจงนัดแนะผมมาเที่ยว เมืองกรุงตั้งแต่เราพบกันที่เชียงใหม่ช่วงสงกรานต์ หมอนั่นติดใจความบ้าบิ่นของผมที่พามันเดินเสียรอบคูเมืองเชียงใหม่ จะไม่ชอบใจได้อย่างไรเล่า ก็ในช่วงวันสงกรานต์สาวๆบริเวณคูเมืองเชียงใหม่เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่อง ความน่ารักออกอย่างนั้น

[2] ผม รู้สึกเหมือนตัวเองพาเด็กเพิ่งแตกเนื้อหนุ่มออกมาเผชิญโลกภายนอก บนรถลอยไฟฟ้าแห่งมหานคร ช่างฟิตจากนิคมโรงงานออกอาการเหมือนไม่เคยพบเพศหญิง มันตาโตเมื่อผ่านห้างสรรพสินค้า และผมเกือบจะอุ้มมันเพื่อสับเปลี่ยนขบวนรถไฟ

[3] บาง ทีการที่เราอยู่ในสถานที่ที่มีสาวๆนุ่งกระโปรงสีดำเสื้อสีขาวนานๆน่าจะทำให้ วิญญาณลอยออกจากตัวเองแล้วตามไปกับความใสของสาวๆเหล่านั้นได้ อะไรหนอทำให้กรุงเทพอุดมไปด้วยนักศึกษา อาจจะจริงที่มหานครเหล่านี้เป็นกระจุกศูนย์รวมการศึกษาระดับต่างๆไปเสียแล้ว

[4] เดือน มิถุนาทุกปีนะครับที่ผู้ปกครองของเด็กนักศึกษาต่างยินดีและกังวลไปในเวลา เดียวกัน ความยินดีที่บุตรหลานของตนเองได้เข้าสถานศึกษาอย่างที่ตนเองหวังระคนไปกับ การระแวงระวังสวัสดิภาพแก้วตาดวงใจยามห่างไกลกัน ผมเองก็คนหนึ่งแหละที่แม่เคยห่วง ใช้คำว่าเคยห่วงนะครับ สมัยผมไปเรียนที่พะเยาปีแรกแม่ผมร้องไห้ที่หลังหอพักชาย ไอ้เราก็ดีใจนึกว่าแม่จะตื้นตันใจว่าลูกชายไม่เอาถ่านเข้ามหาวิทยาลัยได้ เลยตั้งปุจฉาถามแกไปว่าเป็นอะไรถึงร้องไห้ วิสัชนาของมารดาผมทำเอาแทบหงายหลัง แกบอกว่ากลัวลูกมีเมีย

[5] เขา เรียกเดือนมิถุนากันเล่นๆว่ามิถุนาทมิฬ ข่าวความรุนแรงของการรับน้องมีทุกปี ไม่รู้จะแก้ปัญหากันอย่างไร จำได้ว่าสมัยผมรับน้องครั้งแรกห้องเชียร์ปิดเพราะมีข่าวนักศึกษาปีหนึ่ง มหาวิทยาลัยแถวบางเขนทำการลาโลกด้วยเหตุผลการรับน้อง จนมาปี2552นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาชื่อแห่งหนึ่งออกมาร้องเรียนเรื่องการรับน้องจนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตจนแทบปิดสถาบัน

[6] หาก เราเรียกผู้ที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาว่าปัญญาชนแล้ว สิ่งที่ปัญญาชนแสดงออกในการต้อนรับผู้มาศึกษาหลังตนนั้นเรียกว่าอะไรเล่า การรับน้องกระนั้นหรือ???

[7] ที่ วันนี้ผมเขียนเรื่องนี้มิใช่การต่อต้านการรับน้องนะครับ ผมเชื่อเสมอว่าการต้อนรับผู้มาทีหลังนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ปัญหาของมันอยู่ที่วิธีการนี่สิ เราต้อนรับเขาอย่างไร วันนี้ผมจึงอยากชี้ชวนให้คนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ของผมลองช่วยกันตีความ เจ้าระบบที่เรียกกันว่าSOTUSกันใหม่ เนื้อหาของระบบนี้ผมคิดว่าค่อนข้างแปร่งๆ ดูไม่สมเหตุสมผลเสียทีเดียว

[8] ไม่ทราบว่าระบบSOTUS(โซ ตัส)นี่มีที่มาอย่างไร เริ่มใช้กันตอนไหน แต่เจ้าระบบนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันตั้งแต่สภากาแฟ วงสุรา ไปจนถึงวงวิชาการเลยทีเดียว ระบบโซตัสนี้มักมากับการกระทำที่เรียกว่าการว้าก ผ่านผู้กระทำการที่เรียกว่าฝ่ายวินัย

[9] โซตัสนี่เป็นตัวย่อนะครับ S ตัวแรกคือ Seniority คือ ความอาวุโส O ตัวที่สองคือ Order คือ คำสั่ง T คือ Tradition แปลว่า ประเพณี U คือUnity คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และ S ตัวสุดท้าย เป็น Spirit หรือ จิตวิญญาณ ถึงตรงนี้ถ้าผมแปลไม่ตรงก็ทักท้วงได้นะครับ

[10] อ้าว แล้วมันมีปัญหาตรงไหน เขาว่ากันว่าผู้ก่อการร้ายที่นับถือศาสนาอิสลามทำการก่อการร้ายทุกวันนี้ก็ เพราะว่าตีความหลักศาสนาผิดเพี้ยนไป ผมก็ว่านักศึกษาก็น่าจะตีความ SOTUS เพี้ยนไปเช่นกัน

[11] แล้ว มันผิดตรงไหนล่ะ มองกันดีๆนะครับ ถ้าคนที่เคยรับน้องหรือเข้าซ้อมห้องเชียร์ด้วยระบบนี้ก็พอเดาได้ หากมีการตีความเข้าข้างรุ่นพี่ล่ะก็ยุ่งแน่ อำนาจสั่งการเด็กใหม่อย่างมหาศาลก็มีมาตรงนี้แหละ ก็ S ตัวย่อตัวแรกของระบบนี้พูดถึงอาวุโสเสียแล้ว

[12] อาจารย์ ของผมคนหนึ่งบอกว่าหากคุณติดกระดุมเม็ดแรกผิดเม็ดต่อไปก็ผิดหมด แน่นอนครับตัวย่อต่อไปไม่ต้องพูดถึง ถ้าผมแปลเข้าข้างรุ่นพี่ทั้งระบบ SOTUSก็จะเป็น คำสั่งจากรุ่นพี่เป็นประเพณีที่ต้องรักษาไว้เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของจิตวิญญาณ เห็นความแปร่งแล้วใช่ไหมครับ

[13] กลาย เป็นว่าระบบนี้ให้อำนาจแก่รุ่นพี่มากเลยทีเดียว จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมระบบนี้จึงสร้างปัญหาแก่ปัญญาชนจนเป็นข่าวคราวดัง ครึกโครมไปทั่วประเทศขนาดนั้น ก็คำสั่งจากรุ่นพี่ถือเป็นประเพณี

[14] นึกภาพตามนะครับ น้องๆปีหนึ่งผู้ไม่รู้เรื่องราวในมหาวิทยาลัยถูกรุ่นพี่ใช้SOTUS หลอกและชักจูงไปทำกิจกรรมต่างๆ เพราะถือว่าเป็นคำสั่งจากรุ่นพี่แกมันรุ่นน้องห้ามขัด จะขัดไปทำไมมันเป็นประเพณีทำกันมานานแล้ว แล้วถ้ามีใครขัดขึ้นมาก็สร้างและประณามให้มันกลายเป็นคนแปลกแยก ทำลายประเพณี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและจิตวิญญาณที่รักษากันมา ซึ่งถ้ากิจกรรที่ทำดีก็ถือว่าดีไป แต่ถ้ามันเป็นกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์เหมือนข่าวที่ออกมาล่ะ?

[15] ผมเองก็เลยนำเอาระบบ SOTUS เข้ามาตีความใหม่ โดยพยายามไม่เอนไปด้านในด้านหนึ่ง จากย่อหน้าที่ [9] นะครับ S ตัวแรกตีความใหม่เป็น การเคารพผู้อาวุโสให้เกียรติคนที่มาก่อนและคนที่มาก่อนต้องทำตัวให้เป็นที่สมควรแก่ความเคารพด้วย O คือภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มิใช่คำสั่งเหมือนก่อน แต่ภารกิจนี้คือภาระหน้าที่ของปัญญาชนที่มีต่อสังคม T ถูกตีความเป็นการสร้างประเพณีอันดีงามแก่สังคมทั่วไป U คือความสามัคคีในหมู่คณะ สามารถมีความเห็นต่างได้โดยไม่เกิดความแตกแยก และ S ตัวสุดท้ายตีความใหม่เป็น ความรับผิดชอบและจรรยาบันของปัญญาชนที่พึงมี

[16] ผมลองตีความความหมายของ SOTUS ใหม่แล้วนำมาเรียงๆกันดูแล้วพอจะเข้าใจถึงเจตนารมณ์ลึกๆบางอย่างของผู้ที่นำ เอาระบบนี้เข้ามาใช้ในการต้อนรับผู้มาทีหลังในมหาวิทยาลัยบ้าง การที่เรามุ่งแต่สร้างความเข้มแข็งถือเป็นเรื่องดีนะครับ แต่ถ้าเราไม่ลืมหูลืมตามองออกไปทางอื่นบ้าง มันก็ขาดการพัฒนาในตัวเอง เหมือนไดโนเสาร์ละครับ ตัวใหญ่ แข็งแรง เสียดายที่มันไม่สามารถปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ เหล่าสัตว์ยักษ์แห่งโลกดึกดำบรรพ์ก็เลยเหลือเพียงฟอสซิลให้เราได้แค่ศึกษา ไม่ได้เจอตัวเป็นๆสักที

[17] เย็นวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม การท่องเที่ยวอย่างบ้านนอกเที่ยวกรุงของผมกับเจ้าหนุ่มฝั่งทะเลตะวันออกนั่ง พักรอพี่สาวของเราอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เราทั้งคู่ถ่ายรูปแถวนั้นอย่างเมามันเหมือนเด็กเล่นอะไรบางอย่าง พลันเจ้าหน้าที่ตำรวจหนุ่มคนหนึ่งก็สั่งให้เราทั้งคู่เก็บกล้องถ่ายรูปเสีย เหตุผลเพราะมีเจ้านายจะออกจากสวนอัมพร เราทั้งคู่จึงต้องเก็บความสนุกลงกระเป๋ากล้องอย่างทันทีทันใด อยากจะบอกพี่เจ้าหน้าที่ตำรวจคนนั้นจริงๆว่าผมสองคนไม่ได้ตั้งใจถ่ายรูปเจ้า นายพระองค์นั้นหรอกครับพี่ ที่ผมสองคนถ่ายน่ะพี่ต่างหาก…..

ปล.

ตอนขึ้นรถไฟกลับอีสานของผมดันทำตั๋วรถไฟหาย โง่จริงๆเลยต้องซื้อตั๋วรถไฟใหม่ ต้องขอบคุณพนักงานขายตั๋วรถไฟหนุ่มช่อง 7 ของหัวลำโพงเวลาประมาณ 17.30 ของวันที่ 8 ที่พยายามช่วยผมเท่าที่พี่ทำได้แล้วครับ

ฆ่าหันศพ "SOTUS"

ตั้งชื่อกระทู้ให้มัน Over ไปอย่างนั้นเองครับจริงๆ อยากจะวิเคราะห์ระบบ SOTUS ให้น้องๆ นักศึกษาได้อ่านกัน
ในฐานะที่ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยอยู่ภายใต้ระบบนี้ และเคยทำงานกิจกรรมมาพอสมควรในรั้วมหา'ลัย
(มาหาอะไร?) ผมจะไม่ขอพูดถึงขั้นตอนและกระบวนการในการทำซ้อมเชียร์ แต่จะพูดถึง
SOTUS (Seniority, Order, Tradition, Unity, Spirit) โดยตรง

หากจะมอง SOTUS เป็นระบบๆ หนึ่งซึ่งประกอบด้วย
1. input คือ คำสั่ง(Order)
2. output คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน(Unity) และ ความมีน้ำใจ เสียสละ(Spirit)
3. กลไก(ที่รุ่นพี่มักใช้อ้างกับรุ่นน้อง) ที่ป้องกันการทำลายระบบ(จากคนที่ไม่เห็นด้วยอย่างผม) อันได้แก่ ความมีสัมมาคารวะและความเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง(Seniority) และ ระบอบประเพณีที่ทำกันมานานไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
(Tradition) ซึ่งถ้าจะหาข้อมาแย้งกลไกป้องกันตนเองทั้งสองข้อนี้ย่อมหาได้เสมอ
ผมจึงไม่ขอกล่าวถึง Seniority และ Tradition

แต่อยากจะขอกล่าวถึง Input และ Output ของระบบ
หากเราจะกล่าวว่าระบบนี้ดี ระบบนั้นไม่ดีเราก็ต้องมองกันที่ Output
SOTUS นั้นใช้คำสั่ง การขู่ การตะคอก ลงไปในกลุ่มของคนที่ไม่รู้จักกัน เพื่อให้เกิดความกลัว
และรวมตัวกันเพื่อเอาตัวรอด เป็นการรวมตัวกันบนความเห็นแก่ตัว โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
(จะว่าไปก็คล้ายๆ นักการเมืองบ้านเรา) แน่นอนเป็นการรวมตัวที่ไม่ยังยืน
พอซ้อมเชียร์จบ(หมดผลประโยชน์) ก็เลิกกันไป

สำหรับ Spirit นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน เป็นสิ่งที่แต่ละคนแสดงออกเมื่อภัยมา คนทุกคนมีความเห็นแก่ตัว
ต้องเอาตัวรอดก่อนเป็นอันดับแรก คนที่ตั้งสติได้เท่านั้นที่จะแสดงน้ำใจออกมา
แต่จะมีประโยชน์อะไร หากระบบ SOTUS ต้องการแค่จะ"ดู" ว่าใครมี Spirit แค่ไหน
SOTUS จะดีกว่านี้ถ้าเปิดโอกาสให้คนได้ฝึกฝนตนเองในการละความเห็นแก่ตัว

นี่ยังไม่ได้พูดถึงผลข้างเคียงจากการที่คนเราโดนกดดันมาก เครียดมาก ซึ่งมีผลต่อชีวิต และอนาคตของ
คนๆ หนึ่ง ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเอามาเป็นเรื่องล้อเล่น เหมือนเด็กเล่นขายของ

เลิกกันเถอะครับกิจกรรมแบบนี้ กิจกรรมอื่นๆ ที่ดี และเปิดโอกาสให้เราฝึกฝนตนเองในพร้อม
ก่อนที่จะออกมาเป็นส่วนหนึ่ง(ที่ดี) ของสังคมยังมีอีกมากในมหาวิทยาลัย (เช่นกิจกรรมชมรมอาสาพัฒนา)
กิจกรรมจะดี จะเลวขึ้นอยู่กันตัวเราเอง จะเลือกเอาแบบไหนละ?

เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์(ทางความคิด) นิสิตนักศึกษา

" ความเลวร้ายของระบบ sotus "

สรุปแล้วมันเป็นภาพของการทำลายศักดิ์ศรีซึ่งกัน และกันระหว่างนิสิตรุ่นพี่ และรุ่นน้อง ทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำกลายเป็นสัตว์ป่า เพราะผู้กระทำหลงเชื่อว่า ตนเองมีสิทธิที่จะกระทำแบบนั้นกับผู้อื่น
การตะโกน แบบหยาบๆ เพื่อบังคับให้คนภายใต้อำนาจเราทำสิ่งที่ไร้สาระ เรียนรู้โดยตรงจากการฝึกกองทหารในระบบทุนนิยม ถ้าดูภาพยนตร์เรื่องชีวิตการฝึกทหารก็จะเห็นวิธีการแบบนี้ เป้าหมายหลักคือ การฝึกให้พลทหารทำตามคำสั่งโดยไม่คิด และไม่เถียง เพราะพวกนายพลมองว่าเป็นการสร้าง 'ประสิทธิภาพในการรบ' ขอเน้นอีกครั้งหนึ่งว่าวิธีการนี้ใช้เพื่อสร้างประเพณีบรรยากาศการทำตามคำ สั่งโดยไม่คิดเอง
ดังนั้นนี่คือสิ่งที่นักศึกษาใน 'มหาวิทยาลัยชั้นนำ' ของไทยกำลังถ่ายทอดจากรุ่นพี่ไปสู่รุ่นน้อง ดังนั้นอย่าหวังอะไรมากจากเด็ก SOTUS ที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะถ้าตอนสอบเข้าเขาคิดเองเป็น พอผ่านการฝึกฝนในห้องเชียร์ในปีแรกก็คงไม่มีมันสมองเหลือเพื่อการวิเคราะห์ โลกอีก
กลับมาสู่มหาวิทยาลัยของผมที่หวัง 'เป็นเลิศทางวิชาการ' .... ถ้าเราถามนิสิตรุ่นพี่หรือนิสิตเก่าว่า กิจกรรมในห้องเชียร์ทำไปทำไม เขาจะตอบว่ามันเป็นกิจกรรมร่วมภายใต้ระบบ SOTUS ที่สร้างความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคณะ เขาจะอธิบายต่อว่าการผ่านความยากลำบาก (การถูกบังคับอย่างทารุณโดยรุ่นพี่) ช่วยให้ทุกคนรู้จักกันดีขึ้น และสามัคคีกัน

ดังนั้นผมขอเสนอว่า จริงๆ แล้วถ้านิสิตจะฝ่าความยากลำบากพร้อมๆ กันก็ควรอาสาสมัครหมู่ไปขุดโคลนออกจากท่อระบายน้ำตามถนนอย่างที่นักโทษเขาทำ กัน หรืออาสาสมัครไปเก็บขยะตามสลัมแถวๆ คลองเตยหรือทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ฯลฯ จะมีประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า

แต่ ผมเชื่อว่านิสิตพวกที่หลงใหลในระบบ SOTUS คงไม่มีวันทำ เพราะลึกๆ แล้วระบบนี้เป็นระบบที่ปกป้องโครงสร้างอำนาจระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง "สิงห์ดำ แดง เหลือง ม่วง ลาย ฯลฯ" หลังจากที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้วออกไปทำงาน พูดง่ายๆ SOTUS มันไม่แค่ทำลายความคิดของนิสิตขณะที่ศึกษา แต่มันปกป้องระบบอำนาจนิยมในหมู่ชนชั้นนำในสังคมไทยด้วย

สำหรับคนที่ไม่เข้าใจว่า SOTUS คืออะไร ขออธิบายว่าเป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ 5 คำดังนี้

S มาจากคำว่า Stupid หรือ 'โง่' ระบบห้องเชียร์ช่วยให้นิสิตโง่มากขึ้น เพราะทำลายเซลล์ในสมอง และความสามารถในการคิดเองเป็น แถมกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในห้องเชียร์ถูกกำหนดว่าต้องเป็นเรื่องโง่ๆ ด้วย ห้ามเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต้องวิ่งไปวิ่งมา ขังรุ่นน้องในห้องโดยปิดประตูหน้าต่าง และไม่เปิดแอร์ ทำถูกก็โดนด่า ทำผิดก็โดนด่า ไม่ทำก็ด่า ทำก็ด่า ทำไปทำมาทั้งรุ่นน้อง และรุ่นพี่โง่กันอย่างสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำกิจกรรมเสร็จแล้วออกมาจากห้องก็ต้องไหว้รุ่นพี่อีก ถ้ารุ่นพี่สั่งให้ไหว้หมา 'เพื่อความสามัคคี' ก็คงต้องไหว้มั้ง? แถมเรียนจบก็นำความโง่ไปใช้ในสังคมภายนอก หมอบคลานกราบไหว้สิ่งที่ไม่ควรกราบ ไม่ต้องใช้สมองคิด สังคมจะได้โง่
ระบบ ห้องเชียร์ และ SOTUS มันน่าจะเป็นฝันร้ายจากอดีตที่ไม่เป็นจริง แต่ทุกวันนี้ ในหมู่คนหนุ่มสาวที่อ้างตัวว่าเป็นกลุ่มชั้นนำ (Cream of Thai Society) มันเป็นความจริง และแย่ยิ่งกว่าฝันร้ายอีก
สรุปแล้วโคตรโง่เลย !

O มาจากคำว่า Out-Dated ซึ่งแปลว่า 'ล้าสมัย' ความล้าสมัยของระบบห้องเชียร์ และ SOTUS ดูได้จากการที่มีการยกเลิกระบบนี้เองโดยนักศึกษาไทยในยุค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นยุคตื่นตัวทางสังคมของนักศึกษา ในยุคนั้นเริ่มมีขบวนการนักศึกษาที่ปฏิเสธความโง่ และความป่าเถื่อนของระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง ประเพณีต่างๆ ที่พวกพี่ๆ โง่ นำมาใช้ในสมัยเผด็จการทหารก็เลยกลายเป็นเรื่องตลก และถูกยกเลิกไป
แต่ ปรากฏว่าตอนนี้เกือบ 30 ปีผ่านไป สังคมนักศึกษาก็ยังจมอยู่ในความโง่ของอดีต สาเหตุก็ไม่ใช่เพราะนักศึกษาโง่หรอก แต่เพราะชนชั้นปกครองไทยอยากให้โง่ต่างหาก ดังนั้นเมื่อนักศึกษาเริ่มคิดเองเป็น และเริ่มเคลื่อนไหวทางสังคมหลังสมัย 14 ตุลา ชนชั้นปกครองกลัวว่าจะปกป้องอภิสิทธิ์ไม่ได้ จึงมีคำสั่งร่วมลงมาให้สังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และมีคำสั่งตามมาให้เผาหนังสือที่อาจปลดแอกพวกเราจากความโง่ตามห้องสมุด ต่างๆ ด้วย
ในยุคโลกาภิวัตน์ ใครๆ เขาพูดกันว่าพลเมืองต้องมีส่วนร่วมในการปกครอง ต้องร่วมตรวจสอบผู้แทน ต้องมีประชาธิปไตย ต้องคิดเองเป็น และมีการเสนอมานานว่าควรปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนานักศึกษา แต่ในหมู่นิสิตรุ่นต่างๆ ที่บ้าคลั่ง SOTUS การเปลี่ยนแปลงในโลกภายนอกคงไม่มีความหมาย น่าสงสารไม่มีสมองก็คิดเองไม่เป็น แล้วคงไม่รู้จักเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ

T ย่อจาก Tyranny ซึ่งแปลว่า 'การใช้เผด็จการกดขี่ผู้อื่น' ระบบ SOTUS ใช้วิธีการไร้สาระของการกดขี่เพื่อความไร้สาระ และเป็นระบบที่นำมาหนุนความคิดแบบอำนาจนิยมกราบไหว้ในสังคมภายนอก แต่เราไม่ควรลืมประวัติศาสตร์ของเราเอง ในปี 2475, 2516 และ 2535 มวลชนชาวไทยรวมตัวกันล้มระบบเผด็จการ และชนะ
ดังนั้นถ้านิสิตนักศึกษา รุ่นใหม่ต้องการล้มเผด็จการของห้องเชียร์ และรุ่นพี่ ก็คงต้องเรียนบทเรียนจากอดีต คนหนุ่มสาวไทยสามารถล้มเผด็จการได้ และเคยยกเลิกระบบรุ่นพี่รุ่นน้องในจุฬาฯ ด้วย แต่ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องรวมตัวกันปฏิเสธความโง่ แล้วพวกรุ่นพี่ที่ดูเหมือนจะมีอำนาจล้นฟ้าก็จะกลายเป็นมนุษย์น้อยที่น่า สงสารเท่านั้นเอง ดีไม่ดีเขาอาจไหว้เราเป็นการขอบคุณก็ได้เพราะเราสามารถปลดแอกความโง่จากเขา ได้
สิ่งที่สำคัญคือ นิสิตต้องทำเอง ไม่ใช่ไปหวังว่าคนอื่นอย่างผมหรือใครที่ไหนจะทำให้ อย่าลืมว่าคนสามารถเอาแอกออกจากควายได้ แต่เนื่องจากควายเอาแอกออกเองไม่ได้ ควายจำต้องเป็นทาสของมนุษย์ตลอดกาล

U มาจาก Uncivilized ซึ่งแปลว่า 'ป่าเถื่อน' ไม่มีอารยธรรม การใช้อำนาจระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง การทำกิจกรรมไร้สาระ การตะโกนในทำนองว่า "คณะกูดีกว่าคณะมึง" การทำลายความเป็นปัจเจกมนุษย์ และการทำลายมันสมองที่จะคิดเอง ล้วนแต่เป็นความป่าเถื่อนไร้อารยธรรม แม้แต่สัตว์ในป่ายังมีอารยธรรมมากกว่าพวกบ้า SOTUS เพราะสัตว์มันคิดเองไม่เป็นตามธรรมชาติเรายกโทษให้มันได้ แถมมันไม่มีวันจงใจโง่หรือแกล้งคนอื่นเหมือนพวกนิสิต SOTUS
รู้ไหมว่า ระบบ SOTUS นี้คนไทยเอามาจากไหน? ลองคิดดูว่าที่ไหนไร้อารยธรรมที่สุดในโลก คนกลุ่มไหนกำลังทำตัวเป็นอันธพาลระดับโลกาภิวัตน์จนเกิดการเกลียดชังกันทั่ว ทุกแห่ง คนกลุ่มไหนพร้อมจะกอบโกยขณะที่คนยากจนอดอยาก คนกลุ่มไหนฆ่าเด็กในนามของเสรีภาพ ....
ใช่ครับ ระบบ SOTUS มาจากส่วนบนของสังคมสหรัฐอเมริกาที่ล้าหลัง และไร้อารยธรรมที่สุด พวก 'รักชาติไทย' ทั้งหลายว่าอย่างไรครับ? จะเดินตามก้นสหรัฐเหมือนคนกวาดมูลต่อไปไหม?

S ตัวสุดท้ายมาจากคำว่า Stop It - 'เลิกเถิดเรื่องโง่ๆ ไร้สาระ' เลิกเถิดเรื่องการกดขี่กันเองในหมู่นักศึกษา เลิกตะโกนบ้าๆ เพื่อเชียร์สิ่งที่ไม่น่าเชียร์ เลิกภูมิใจ และเคารพกราบไหว้ในสิ่งน่าเบื่อย่ำแย่ เลิกกลัวที่จะขัดคำสั่งรุ่นพี่ รุ่นพี่เลิกกลัวที่จะไม่ทำตามประเพณีโง่ๆ ต่อไป....


เขียนโดย: อ.ใจ อึ๊งภากรณ์(อ.รัฐศาสตร์-จุฬา) -

เชื่อหรือไม่ ครั้งหนึ่ง “การรับน้อง” เคยถูกยกเลิกไปจากเกือบทุกมหาวิทยาลัย, ร่วมรณรงค์ยกเลิก"การรับน้อง"

เชื่อหรือไม่ ครั้งหนึ่ง “การรับน้อง” เคยถูกยกเลิกไปจากเกือบทุกมหาวิทยาลัย

คุณเคยถูกรุ่นพี่หลอกว่าการรับน้องเป็นประเพณีที่เก่าแก่ เปลี่ยนแปลงไม่ได้
... บ้างหรือไม่

ข้อความข้างล่างนี้ คือบางส่วนจาก
อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง
เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ

ในนามคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

เป็นการพูดถึงบรรยากาศของนักศึกษาในระหว่างปี 2516-2519
ซึ่งเป็นช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน กลุ่มแนวคิดก้าวหน้ารุกคืบทำลาย
ความคร่ำครึอันไร้สาระของฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน

การขยายอิทธิพลที่ก้าวหน้าของฝ่ายนักศึกษานั้น มีผลกระทบอย่างมากต่อการเสื่อมสลายของระบบโซตัส ระบบอาวุโส และประเพณีรับน้องอันเหลวไหลของนิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นกระแสของนักศึกษาในระยะก่อนกรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ มหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิด เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ไม่มีระบบรับน้องเช่นนั้น ต่อมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เลิกระบบเช่นนั้นตั้งแต่ก่อน ๑๔ ตุลาฯ โดยจะเรียกนักศึกษาใหม่ที่เข้าสู่มหาวิทยาลัยด้วยคำว่า “เพื่อนใหม่” แทนคำว่า ”น้องใหม่” และใน พ.ศ.๒๕๑๗ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการรับเพื่อนใหม่ด้วยการจัดสัมมนาเรื่องปัญหาของประเทศไทยในด้านต่างๆ จากนั้นใน พ.ศ.๒๕๑๘ ก็จัดงานรับเพื่อนใหม่ โดยการนำนักศึกษาใหม่ไปฝึกการใช้แรงงานเพื่อให้รู้จักชีวิตชาวนาที่อำเภอ แสวงหา จังหวัดอ่างทอง

ต่อมามหาวิทยาลัยวิชาการศึกษา หรือที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนิสิตที่เป็นผู้ใหญ่เข้ามาเรียนเป็นจำนวนมากในแต่ละ ปี ก็ล้มเลิกการจัดรับน้องใหม่เช่นเดียวกัน

ส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงแรก ได้มีการยกเลิกพิธีรับน้องใหม่เป็นบางคณะ คณะอักษรศาสตร์ ครุศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์นั้นเริ่มต้นก่อน จากนั้นคณะอื่นๆ ก็ค่อยเลิกรับน้องตามลำดับ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๙ คณะวิศวกรรมศาสตร์ก็เป็นคณะสุดท้ายที่เลิกงานรับน้อง หลังจากที่นิสิตฝ่ายก้าวหน้า ชนะการเลือกตั้งภายในคณะ และในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และขอนแก่นก็เลิกการรับน้องเช่นกัน คงเหลือแต่เพียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ยังดำรงพิธีรับน้องไว้มากที่สุด แต่กระนั้น ใน พ.ศ.๒๕๑๙ คณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็เลิกรับพิธีรับน้องเช่นกัน เหลือแต่เพียงคณะวนศาสตร์ ที่ยังคงเป็นคณะสุดท้ายที่คงประเพณีการรับน้องไว้อย่างเคร่งครัด

แต่แล้ว ก่อนที่สังคมไทยจะก้าวไปสู่สังคมประชาธิปไตย
สังคมแห่งเสรีภาพและความเท่าเทียม
เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
เช้าวันที่ 6 ตุลา 19 คือ จุดเปลี่ยนที่นำพาประเทศไทยกลับถอยหลังไปสู่
ความล้าหลังดั่งเดิม ความล้าหลังที่ยังคงอยู่จวบจนทุกวันนี้

อย่าปล่อยให้สถานศึกษากลายเป็นที่เพาะบ่มความอยุติธรรม
ส่งเสริมความรุนแรง การใช้กำลัง
สั่งสมค่านิยมการเล่นพรรคเล่นพวกและความไร้เหตุผล
ร่วมกันรณรงค์ยกเลิกการรับน้องแบบเดิมๆ


/// ด้วยความระลึกถึงคุณนิพนธ์ โตสิงห์ เหยื่อรับน้องที่เสียชีวิตเมื่อวานนี้

ที่มาของการรับน้องใหม่ โดย ระพี สาคริก

ขณะ นี้มีข่าวเป็นครั้งคราวว่าพิธีรับน้องใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งกระจายไปอย่างทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาการบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ บางครั้งถึงขั้นสูญเสียชีวิตเป็นช่วงๆ หลัง ติดตามการเปลี่ยนแปลงมาแล้วจากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้หวนกลับไปค้นหาความจริงจากจุดเริ่มต้นและสิ่งที่เป็นมาแล้ว กว่าจะมาถึงช่วงนี้ หลัง กลุ่มทหารและพลเรือนซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งไปศึกษาเล่าเรียนเมืองนอกกลับมา ได้มีการรวมตัวกันอย่างลับๆ ทำการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2475 โดยอ้างว่าต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย ระหว่าง นั้นผู้เขียนเรื่องนี้มีอายุได้สิบขวบ แต่ก็ยังจำได้ดีว่า มีกระแสเสียงจากกลุ่มปฏิวัติหลายคนที่อ้างว่า เมืองนอกเขาเป็นประชาธิปไตยกันแล้ว แต่ทำไมเมืองไทยยังล้าหลังอยู่ หลัง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ประเทศไทยเปิดเสรีภาพในการติดต่อกับต่างประเทศ โดยที่ขาดการมองเห็นผลสะท้อนซึ่งกลับมากระทบวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของ ไทย การ มองเห็นด้านเดียวยิ่งเป็นด้านนอกด้วย มีผลทำให้ขาดการมองเห็นความจริงจากรากฐานตนเอง จึงทำให้ขาดการรู้เท่าทัน มีผลอำนวยให้อิทธิพลจากด้านนอกซึ่งมีพลังเหนือกว่า เริ่มเริ่มหลั่งไหลเข้ามากลบกลืนรากฐานความเป็นไทแก่ตนเองของคนไทยให้เริ่ม เห็นแววตกต่ำมากขึ้น ใน ด้านการจัดการศึกษา โดยเฉพาะสายเกษตรซึ่งให้โอกาสคนท้องถิ่นสัมผัสพื้นดินอันเป็นถิ่นเกิดของตน ซึ่งย่อมมีผลปลูกฝังความรักพื้นดินให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ช่วงนั้นเริ่มมีการส่งนักเรียนที่คัดหัวกะทิจากการเรียนในระบบ อย่างที่เรียกกันว่า นักเรียนทุน ก.. ไปเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เท่า ที่จำได้ เราส่งนักเรียนซึ่งมีผลการเรียนระดับยอดดังกล่าวไปเรียนเกษตรต่อยอดระดับ ปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติ ณ เมืองลอสแบนยอส ในประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง นี้และทั้งนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงนั้น สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาถือครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์เอาไว้ทั้งหมดและมีการถ่าย ทอดรูปแบบเทคโนโลยีจากประเทศที่เป็นนายเข้ามาครอบงำ ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นไปตามแนวคิดและระบบ อเมริกัน นอก จากนั้นในด้านกิจกรรม นักศึกษาก็ได้มีการถ่ายทอดความคิดในการประกอบพิธีรับน้องใหม่เข้ามาไว้ที่ นั่นด้วย โดยที่เชื่อว่าน่าจะมีผลทำให้เกิดควมรักความผูกพันและความสามัคคีระหว่าง หมู่คณะ ช่วงปี พ.. 2482 – 83 ได้ มีการรวบรวมโรงเรียนเกษตรกรรมของไทยซึ่งครั้งนั้นขึ้นอยู่กับการบริหารงาน ของกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนดังกล่าวซึ่งอยู่ในภาคต่างๆ ของประเทศ เข้าไปไว้ที่ศูนย์รวมซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในบริเวณหมู่บ้านห้วยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ เขียนได้มีโอกาสเข้าไปเรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ระหว่างช่วงนั้นพอดี ประกอบกับตัวเองมีนิสัยค้นหาความจริงย้อนไปสู่อดีต จึงทำให้มีผลรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ในความทรงจำ ระหว่างโรงเรียนเกษตรที่แม่โจ้ได้มีการปรับหลักสูตรยกระดับขึ้นมาเป็นโรงเรียนเตรียมวิทยาลัย มีครูอาจารย์ที่แบ่งออกเป็น 2 พวก จากความรู้สึกอันเป็นธรรมชาติของคนขณะนั้น โดยที่พวกหนึ่งจบจากโรงเรียนประถมกสิกรรมภายในประเทศ ถูกเรียกว่าครู ส่วนอีกพวหนึ่งคือผู้สำเร็จปริญญาตรีกลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ถูกเรียกว่า อาจารย์ นับเป็นการปลูกฝังความคิดแบบแบ่งชนชั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องเงินและสถานะ หากเป็นเรื่องของการแบ่งแยกระดับประกาศนียบัตรออกจากกัน ช่วงนั้นพิธีรับน้องใหม่เกิดขึ้นที่โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้แห่งเดียว ส่วนที่อื่นยังไม่ปรากฏ ทราบว่ากิจกรรมดังกล่าว เริ่มต้นจากการที่มีครูอาจารย์ผู้สำเร็จการศึกษาจากฟิลิปปินส์ นำเข้ามาใช้ที่นั่น ดังจะพบได้ว่า หลังพิธีรับน้องใหม่ผ่านพ้นไปแล้วมีนักเรียนที่เข้าไปเรียนปีแรกบางคน นำความไปปรับทุกข์กับอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ที่จบมาจากเมืองนอก จะได้รับคำตอบกลับมาว่า ปีหน้าก็คงถึงทีเธอบ้างไม่ต้องเสียอกเสียใจอะไรไป นอกจากนั้น ยังพบด้วยว่า ระหว่างพิธีเวลากลางคืน มีอาจารย์บางคนมาเฝ้าดูอย่างลับๆ ในความมืดอีกด้วย เตรียม วิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นโรงเรียนเตรียมของวิทยาลัยที่บางเขน ระบบการจัดการศึกษาครั้งนั้น หลังจบจากแม่โจ้หลังมีการคัดคนจากผลการเรียนในห้องเพื่อส่งมาเรียนต่อที่ บางเขน ดังนั้นที่บางเขนจึงไม่มีพิธีรับน้องเช่นทุกวันนี้ จน กระทั่งเวลาผ่านพ้นมาอีกช่วงหนึ่ง วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังคงรับนักเรียนเตรียมจากแม่โจ้ต่อมาอีก ถัด มาอีกช่วงหนึ่ง ได้มีการปรับแนวคิดและโครงสร้างสายเกษตรใหม่ โดยที่ผู้บริหารยุคนั้นเห็นว่า ภาคปฏิบัติมีความสำคัญน้อยกว่าการเรียนในห้อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงเปิดรับนักเรียนทั่วไปโดยตรง หลัง จากนั้นมาจึงมีพิธีรับน้องใหม่เกิดขึ้นที่บางเขน ทั้งนี้และทั้งนั้น เนื่องจากแม่โจ้และบางเขนได้แยกตัวออกจากกันอย่างเด็ดขาดแล้ว ต่อจากนั้นมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ได้ผลิตคนออกไปอยู่ตามสถาบันการศึกษา ต่างๆ เริ่มต้นจากสายเกษตรก่อน นอกจากนั้นภายในมหาวิทยาลัยเองได้มีการขยายพื้นฐานการจัดการกว้างขวางออกไป สู่สาขาวิชาอื่นๆ แต่ ความคิดหลายคนที่มองมหาวิทยาลัยนี้ติดอยู่กับชื่อและรูปแบบการเกษตรที่เน้น เทคโนโลยีแทนการมองเห็นความจริงของชีวิตคน จึงทำให้พื้นฐานแนวคิดคนจำนวนมากรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปลี่ยนไป เป็นมหาวิทยาลัยทั่วไป โดยไม่ได้เน้นการเกษตรเช่นแต่ก่อน ถึงขนาดเกิดปฏิกิริยารุนแรงให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยด้วย การ กระจายความคิดแต่รากฐานยึดติด ซึ่งแทรกซึมอยู่ในพื้นฐานคนในสังคมไทย มีผลทำให้พิธีรับน้องใหม่ กระจายไปสู่สถาบันต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะยึดติดรูปแบบที่ฝังลึกอยู่ในรากฐานจิตใจคนไทยมีผลทำให้สิ่งใดก็ตามที่ เกิดขึ้น มักทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว กับ อีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาแฝงอยู่ในรากฐานจิตใจอย่างลึกซึ้งได้แก่ภาวะยึด ติดรูปแบบซึ่งแฝงอยู่ในพื้นฐานอย่างแก้ได้ยาก มีผลทำให้เหตุการณ์ต่างๆ บานปลายออกไปอย่างรวดเร็วอีกทั้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับ สิ่ง ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด น่าจะทำให้มองเห็นความจริงได้ว่าสภาพที่เกิดขึ้นกับพิธีรับน้องใหม่ คงไม่เพียงแต่เกี่ยวกับพิธีการนี้เท่านั้น หากเกิดขึ้นในสังคมไทยกับพิธีกรรมต่างๆ ทุกรูปแบบ

ดัง นั้น เมื่อปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับกระบวนการจัดการศึกษาซึ่งถือว่าน่าจะเป็นพื้น ฐานการแก้ปัญหาสังคมได้ทุกเรื่อง เราจึงหวังได้ยากว่าปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สังคมไทยุคปัจจุบัน น่าจะไกลกับความหวังในการแก้ไขปัญหาให้เห็นได้ชัดเจนออกไปได้ทุกขณะ จนกว่าสังคมทั้งหมดจะได้รับผลกระทบทำให้รู้สึกเจ็บปวดจากทุกๆ เรื่องซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่าจะไปถึงจุดอันเป็นที่สุดของการปรับเปลี่ยน

อีกมุมมองของการรับน้อง จาก Thaioctober

สวัสดีสหายผู้พี่ วันนี้สหายผู้น้องมีแง่มุมใหม่ๆของกิจกรรมรับน้อง จากมุมมองของน้องๆมาให้สหายผู้พี่ผู้น้องทั้งหลายมาอ่านกัน แล้วช่วยวิพากษ์ด้วย จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ดีกว่า ที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
อีกมุมมองของการรับน้อง
ต่อไปนี้คือบทสนทนาที่มุมมองของพี่ และมุมมองของน้อง ว่าด้วยการรับน้อง...

พี่ : รุ่นพี่จัดการรับน้องโดยมีวัตถุประสงค์ให้น้องรักกัน สามัคคีกัน ทำให้รู้จักกันภายในเวลาสั้นๆ ไม่มีวิธีไหนจะให้ได้ผลอีกแล้วนอกจากการว้าก บังคับลงโทษ (ซ่อม) กดดันต่างๆนานา
น้อง : ทำไมต้องรีบทำให้รู้จักกันขนาดนั้นด้วยล่ะ มีเวลาอีกตั้ง 4 ปี ที่จะเรียนรู้นิสัยใจคอของเพื่อน และนิสัยของพี่ๆทั้งหลาย แล้วก็มีหลักประกันอะไรหรือว่ารักกันได้ภายในเวลาเดือนเดียว แล้วจะรักกันไปตลอด มีอยู่ถมไปไม่ใช่หรือที่ทะเลาะกัน

พี่ : ถ้าไม่กดดัน ไม่ว้าก คิดหรือว่าน้องจะสามัคคีกัน นี่ถ้าไม่มีว้ากนะ น้องคงไม่มาหรอก
น้อง : ถ้าเป็นอย่างนี้ก็น่าสงสารแฟนพี่มาก หากพี่กับแฟนจะรักกัน พี่ไม่ต้องบังคับข่มขืนเขา ว้ากเขา ให้เขารักพี่หรือ นี่ถ้าพี่อยากจะรักใคร รู้จักกับใคร พี่ก็ไม่ต้องเที่ยวไปข่มขืนเขาไปทั่วหรือเนี่ย
อยากบอกพี่เหลือเกินว่า คนเราจะรักกันมันต้องจริงใจต่อกันอย่างถึงที่สุด รู้จักการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ลองนึกถึงคนที่พี่รักสิ พี่รักเขาเพราะเขาจริงใจต่อพี่ใช่ไหม อย่างเช่นพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนพี่ ครูอาจารย์ แฟนพี่
คนเหล่านั้นเขารักพี่ด้วยการว้ากหรือเปล่า พี่ถูกพ่อแม่ซ่อม ตัดเกรด เพราะพี่ตื่นสาย เคยมีบ้างไหมที่พี่ต้องแต่งตัวเป็นซุปเปอร์แมน แล้วเที่ยวตะโกนว่ารักแฟนสุดจิตใจ เพื่อให้แฟนพี่ยอมรับ
นั่นสิ ใครต่อใครก็ไม่ได้ไปบังคับพี่แบบนั้น แล้วพวกผมเป็นใคร คนเพิ่งเคยรู้จักกันแท้ พวกผมไปทำให้พวกพี่เจ็บช้ำน้ำใจมาแต่ชาติปางไหน จึงถูกพี่ว้าก ซ่อม ทารุณต่างๆนานา กลิ้งขี้โคลน เป็นอาทิ
หรือเพราะชาติก่อนพวกผมทำให้พี่เจ็บช้ำน้ำใจ ชาตินี้เวรกรรมจึงสนองพวกผม ก็แล้วทำไมพี่ถึงไม่อโหสิให้พวกผมล่ะ ก็ไหนพี่ว่าพี่รักน้องสุดชีวิตไม่ใช่หรือ

พี่ : การว้าก การซ่อม มันทำให้น้องรู้จักอดทนนะ แค่นี้ทนไม่ได้ แล้วน้องจะไปทนรับกับสภาพบีบคั้นในสังคม ในที่ทำงานได้อย่างไร
น้อง : ก็อยากบอกว่า ความอดทนของมนุษย์คือการอดทนต่อความยากลำบาก ต่อสิ่งล่อลวง ฟุ้งเฟ้อ ยั่วยุกามารมณ์ที่มีอยู่ในสังคม นี่เราต้องอดทน ไม่ใช่โดดเข้าใส่ อย่างที่พวกพี่เป็นกันในเพลงแมงมุม เมียงู และอะไรต่อมิอะไรที่พวกพี่บังคับให้พวกเราทำกัน ทำไมไม่เอาไปทำกับแฟนพี่ ภรรยาพี่
แต่ถ้าเป็นถ้าสิ่งนั้นเป็นความอยุติธรรม ไม่เท่าเทียมกัน การกดขี่ เอารัดเอาเปรียบกันในสังคม อย่างที่เกิดในการรับน้อง เกิดในที่ทำงาน ในวงราชการและเอกชน น้องคิดว่าเราจะมาอดทนไม่ได้หรอก แต่เราต้องต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมเหล่านั้นถึงจะถูกต้อง
สมมติเราสองคนเป็นข้าราชการ ถ้าน้องรู้ว่าพี่โกง เพราะน้องรักพี่ น้องจึงจะขอให้พี่เลิกโกง ไม่ใช่รู้เห็นเป็นใจกับพี่ ช่วยกันกลบเกลื่อนกับพี่ แบบนี้ก็กับเรากำลังเอาความรักมาใช้ในทางที่ผิด เรารักพวกพ้องแต่เราไม่ได้รักชาติ รักประชาชน หรือพี่ต้องการอย่างหลัง เพราะพี่ไม่ต้องการให้น้องลบหลู่ ไม่ต้องการให้น้องทรยศต่อสีเดียวกัน

พี่ : การรับน้อง มันทำให้น้องเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็จะได้รู้จักกัน ไม่มีชนชั้น คิดหรือว่าถ้าไม่มีรับน้อง น้องจะไปกล้าทักเพื่อนที่มันรวยๆ
น้อง : ทำไมจะไม่มีชนชั้น แล้วพวกที่ตะคอกใส่หน้าน้อง สั่งน้องซ้ายหันขวาหัน เขาไม่เรียกว่าชนชั้นปกครอง แถมยังพ่วงตำแหน่งทรราชอีก หรือครับ

พี่ : การรับน้อง มันทำให้น้องมีงานทำ มีเส้นสาย มีอุปถัมภ์ ลองถ้าไม่มีรับน้อง รุ่นพี่ที่ไหนเขาจะรับเข้าทำงาน
น้อง : ก็ไม่ใช่เพราะไอ้อุปถัมภ์นี้หรอกหรือ ที่เวลามีใครโกงในวงราชการ ก็มีพี่มีน้องมาช่วยกันกลบ ไม่ให้ใครรู้ ไม่ใช่เพราะอุปถัมภ์หรือระบบราชการยังเป็นอยู่เช่นนี้ บ้านเมืองยังเป็นเช่นนี้ คนได้ดิบได้ดีเพราะรับใช้นาย ไม่ได้รับใช้ประชาชน มันดีเสียที่ไหน

พี่ : การว้าก การซ่อม มันสอนให้น้องมีระเบียบวินัยนะ แล้วพี่ก็ไม่ได้ไปทำร้ายอะไรน้องด้วย แค่ตะโกนใส่หน้า บังคับให้น้องซ่อม โดยที่พี่ไม่ได้ไปถูกตัวน้องเลย
น้อง : แต่ต้องไม่ลืมนะพี่ ว่าระเบียบวินัยที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการจำนนต่อสภาพบังคับ แบบนี้ก็เท่ากับความมีระเบียบวินัยไม่มีความยั่งยืน จะเกิดก็เพราะการบังคับถ้าไม่มีการบังคับก็ไม่เกิดวินัย แล้วมันจะมีประโยชน์อันใด น้องคิดว่าพี่กำลังมาผิดทาง พี่จำคำขวัญของสถาบันเราได้ไหม “อัตตานัง ทะมะยันติ ปัณฑิตา” บัณฑิตย่อมฝึกตน น้องคิดว่าเราควรรู้จักควบคุมตนเอง ฝึกหัดตนเอง มันจะทำให้เรามีระเบียบวินัยมากกว่าการให้คนอื่นมาฝึก คนเรามีความสามารถอยู่อย่างหนึ่งคือการระลึกได้เอง ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น
แล้วน้องก็เห็นว่า 1ปีหรือ 3ปี ที่ผ่านการรับน้องของพี่ ก็ไม่ได้ทำให้พี่มีวินัยกันเลย แต่งตัวตามสบาย เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะมาเรียน ขณะที่น้องต้องผูกไทค์ ทั้งที่ไทค์ก็ไม่ใช่ระเบียบของทางมหาวิทยาลัย หรือถ้ามันใช่ทำไมพี่ไม่ผูก หรือว่าพวกผมต้องทำ หาไม่แล้วจะผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ส่วนพวกพี่ มหาวิทยาลัยเขาใช้ระเบียบอีกฉบับกับพี่ นี่ก็เท่ากับไม่พี่ ก็มหาวิทยาลัยดับเบิ้ลแสตนดาดนะ
แล้วพี่รู้ไหม การว้ากการซ่อม หรือการกระทำที่พี่นิยามว่าเป็นการฝึกต่างๆ ที่ทหารเขาทำได้ เพราะเขามีระเบียบของทหาร แล้วคนที่จะเป็นผู้ฝึก ต้องผ่านการอบรมการฝึกทางทหารมา ต้องรู้สรีระมนุษย์ จิตวิทยา แล้วพี่ของผม ไปทันติดยศจ่าเมื่อไหร่ แล้วผมไปทันเป็นทหารเกณฑ์เมื่อไหร่ ผมรู้สึกว่าผมมารายงานตัวที่มหาวิทยาลัยนะ ไม่ได้มาตามหมายเรียก เอ หรือที่ส่งมาที่บ้านเป็นหมายเรียกของทหาร แย่ละเห็นทีน้องต้องไปตรวจสอบก่อน

พี่ครับ การฝึกทหารเขามีกฎหมายรองรับนะครับ ส่วนการรับน้องเขามีกฎหมายรองรับตั้งแต่เมื่อไหร่หรือครับ มี พรบ.การว้ากน้องและซ่อมน้อง พ.ศ. ...ด้วยหรือครับ เท่าที่รู้นะครับกฎหมายที่ออกๆมานะครับ เขาคุ้มครองสิทธิของพวกผมที่ถูกละเมิดทั้งนั้นเลยนะครับ พวกพี่กำลังทำผิดกฎหมายดังนี้ครับ
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่า ที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อ ต่อสู้คดีในศาลได้
มาตรา 29 การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้ กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้
บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย
บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎหรือข้อบังคับ
ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย โดยอนุโลม
มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิ และเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา 51 การเกณฑ์แรงงานจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัด ภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำได้ในระหว่างเวลาที่ ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ หรือในระหว่าง
เวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
(มาตรา 51 ใช้เมื่อพี่จะเกณฑ์พวกผมไปขึ้นแสตนด์เชียร์นะครับ)

2.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309
องค์ประกอบภายนอก
1.ข่มขื่นใจผู้อื่น
กระทำการใดๆ เช่น ให้ร้องเพลง ให้ซ่อม
ไม่กระทำการใดๆ
ยอมจำนนต่อสิ่งใด
2.หรือวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังตอไปนี้
โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ฯลฯ
โดยใช้กำลังประทุร้าย
3.จนผู้ถูกข่มขื่นต้อง
กระทำการนั้น เช่น ร้องเพลง ยอมถูกซ่อม
ไม่กระทำการนั้น
จำนนต่อสิ่งนั้น
องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา
เหตุเพิ่มโทษหนัก คือ (1)โดยมีอาวุธ (2)โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน 5 คน ขึ้นไป

แล้วในเรื่องการบังคับให้คนอื่นทำสิ่งใดนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสเอาไว้ในเรื่อง ‘ตถตา ' หมายถึงมนุษย์ย่อมเป็นตัวของตัวเขาเองอย่างนั้น อย่าพยายามไปตั้งความหวัง หรือเปลี่ยนแปลงให้เขาเป็นอย่างที่ใจเราหวัง เพราะเมื่อเขาทำไม่ได้อย่างที่ใจเราหวังจิตใจเราย่อมขุ่นมัว มนุษย์ทุกคนย่อมดำเนินรอยตามกรรมของแต่ละคน เห็นไหมละครับพระพุทธเจ้าท่านยังตรัสเอาไว้เช่นนั้น แล้วมีหรือที่พี่จะไม่ฟังคำพระใช่ไหมครับ

พี่ : การรับน้องมันเป็นประเพณีนะ เป็นสิ่งที่ดี เพราะไม่อย่างนั้นแล้วมันคงไม่มีมาจนถึงทุกวันนี้
น้อง : หรือครับ แสดงว่าโจรผู้ร้าย คุณโสเภณี ยาเสพย์ติดเป็นสิ่งที่ดีสิครับ เพราะมันมีมานานกว่าการรับน้องเสียอีก

พี่ : แล้วถ้าไม่มีการรับน้อง คิดหรือว่าพี่น้องจะรักกัน
น้อง : ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีการรับน้อง กิจกรรมยังคงจะมีอยู่ แต่เราจะต้องเปลี่ยนรูปแบบ ให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ส่วนน้องจะไม่รักกัน ไม่รักพี่ ไม่มีสัมมาคารวะ เป็นเรื่องของการอบรมในวัยเด็ก ก่อนจะมาเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วละครับ แก้กันในเวลาเดือนสองเดือนไม่ได้หรอก แล้วการที่น้องเลือกจะรักใครไม่รักใคร เขาพิจารณาได้ครับ ใครดีเขาก็ต้องรักต้องคบเป็นธรรมดา ใครทำอะไรไม่ดีกับเขาไว้ เขาจะกล้าไปรักหรือครับ

(1)เราอาจจะเรียกนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งว่าเพื่อนใหม่ หรือจะเรียกน้องใหม่ก็ตามแต่ดุลยพินิจของพี่น้องที่จะเรียกความสัมพันธ์ที่ เกิดขึ้น
(2)ไม่จำเป็นที่เราจะต้องว้าก เพื่อให้น้องร้องเพลงเชียร์ แต่น่าจะเป็นกิจกรรมการสอนน้องร้องเพลงมากกว่า
และแทนที่เราจะนันทนาการด้วยเพลงลามกๆ เราน่าจะนันทนาการด้วยเพลงที่ทำให้เราได้ระลึกถึงความลำบากของผู้คนในสังคม
(3)เราควรมีทัศนคติเกี่ยวการรักสถาบันที่ว่า เราจะรักสถาบันก็ต่อเมื่อสถาบันได้ทำสิ่งดีๆ ให้กับสังคมส่วนรวม และถ้าทุกสถาบันทำเพื่อสังคมส่วนรวม เราก็จะรักทุกสถาบัน เราจะไม่แบ่งแยกกันในแต่ละสถาบัน เพราะแต่ละที่ก็ล้วนจะผลิตคน สร้างคน ทำกิจกรรมเพื่อสังคมเหมือนกัน ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะมาตั้งแง่รังเกียจกับผู้ที่จะทำอะไรเพื่อสังคม เหมือนกัน
(4)เราพี่น้องน่าจะบายศรีสู่ขวัญ มากกว่า(ระ)บายสีป้ายหน้ากัน
เราน่าจะไปบำเพ็ญประโยชน์ภายในคณะของเรา คณะอื่น ภายในสถาบันเรา ภายนอกสถาบัน พากันไปออกค่าย ช่วยชาวนาปลูกข้าว ซ่อมฝาย ขุดคลองไปสัมผัสชีวิตยากลำบากของชาวนา ไปสัมผัสชีวิตกรรมาชีพในเมือง และนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งน่าจะดีกว่าการจมปลักว้ากกันซ่อมกันในคณะ หรือการพาน้องไปรับน้องนอกสถานที่กันตามป่าเขา ชายทะเล
เราน่าจะพากันไปเลี้ยงน้องสถานเด็กกำพร้า บ้านพักคนชรา บ้านพักฉุกเฉิน สถานพินิจ เรือนจำ ไปทำบุญที่วัดฟังธรรมเพื่อจะได้นำหลักธรรมมาพัฒนาชีวิตร่วมกัน มากกว่าที่เราจะจัดงานเลี้ยงรับน้องใหม่ที่ฟุ้งเฟ้อใหญ่โต ซึ่งมีแต่จะพอกพูนกิเลส
(5)และทุกกิจกรรมไม่ควรบังคับกัน น้องมีสิทธิเลือกที่จะทำ ถ้าเขาเห็นว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์
ที่สำคัญที่สุด พี่น้องร่วมสถาบันทั้งหลาย น่าจะมาพูดคุยกันในเรื่องนี้ให้มากๆนะครับ เพื่อวันพรุ่งนี้ของสังคมที่ดีกว่านะครับ สังคมกำลังต้องการการแก้ไขในอีกหลายๆด้าน เรานักศึกษาไม่ว่าจะสถาบันใด ก็ล้วนเป็นความหวังเป็นที่พึ่งของประชาชน แล้วพวกเราจะทรยศต่อประชาชนผู้เสียภาษีให้เรามาเรียนกันได้ลงคอเลยหรือ


(ขออุทิศแก่พี่น้องที่เสียชีวิต ในระหว่างกิจกรรมรับน้องนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขอจงไปสู่สุขคติสัมปรายภพ มีปัญญาและธรรมเป็นอาวุธ หวังว่าจะไม่มีใครต้องมาสังเวยการรับน้องอีก ขออุทิศแก่พี่น้องทุกชั้นปี ทุกสถาบัน และประชาชนทั้งหลาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตขอจงมีศีล สมาธิและปัญญาเป็นทางนำของชีวิตเทอญ)

FAQเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยๆในการต้านSotus/รับน้องโหด

Q: รับน้องเป็นประเพณี มีสืบต่อมานาน

A : สืบต่อมานาน แล้วจำเป็นต้องมีต่อไปในอนาคตหรื?? ขนาดล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ยังทรงยกเลิกประเพณีหมอบคลาน หรือถอดเสื้อเข้าเฝ้าเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยเลย?? จำเป็นด้วยหรือว่ารุ่นต่อไปต้องมี? ระนาบของอดีต กับ อนาคต เป็นคนระนาบกัน เป็นคนละแนกัน คุณเอาความคิด 1980กับ 2008 มาเทียบกันมันไม่ได้

Q : ผมผ่านระบบนี้มา ได้แต่สิ่งดีๆมาเยอะ

A : "คุณ" เจอสิ่งดีๆมา แต่"คนอื่น" เขา ซวย ดังนั้นเขาเจอไม่เหมือนคุณและวิธีที่จะได้รับ "สิ่งดีๆ" ที่คุณว่า วิธีการหรือเครื่องมือ มันมีมากกว่านี้เยอะแต่คุณกลับจะเลือกให้น้องใ้ช้ จอบเสียม แทนรถแทรกเตอร์ จะเรียกฉลาดหรือโง่ดีล่ะ ?

Q: ไม่มีใจเลยเหรอ แค่นี้เอง อดทนไม่เพียงพอใช่มั้ย

A:ใจ ? ทำไมไม่เอาใจผีมาใส่ใจน้องบ้างล่ะครับ? พี่เคยทำงานแล้วหรือครับ? บอกว่าสิ่งน้องจะเจอในการทำงานหนักกว่านี้?? งั้นเอาเวลามาสอนน้องทำงานดีกว่ามั้ยครับ? ประเทืองปัญญากว่าเยอะ ร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน บางทียังสนิทมากกว่าอีกนะ?

Q: SOTUS เป็นสิ่งดีเพราะมีมายาวนาน

A: ลัทธิภูติผีีปีศาจ โจรร้าย อาชญากรรม ก็มีมานาน นายกโกงกิน ก็มีมานาน แสดงว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีงามด้วย??

Q: รุ่นน้องต้องฟังรุ่นพี่

A: อายุก็แค่ตัวบอกว่า คุณอยู่ในโลกนี้มานานแค่ไหน ไม่ได้แปลว่าใครจะ "ฉลาดกว่าใครแค่ไหน" ถ้าสมมติวันนึงแม่บอกว่าใช้โทรศัพท์บ้านดีกว่า ไม่ต้องใช้มือถือเพราะถุกกว่า แต่ลืมเรื่องความสะดวกและฉุกเฉินไปจะทำไง??

แบบนั้น บิลเกตส์ ต้องเชื่อฟัง IBM คอมพิวเตอร์ใหม่ๆไม่ต้องเกิด??

Q: คนไม่เข้าคือคนนอกคอก เป็นแกะดำ เป็นหมาหัวเน่า

A: คอกเป็นที่ให้วัวควายอยู่ อยู่นอกคอกก็ดีแล้ว ไม่ต้องทำอะไรเดิมๆซ้ำๆกับชาวบ้าน

แกะดำในประเทศนิวซีแลนด์ฺ ทำให้ฝุงแกะรอดตายเพราะถ้าหลงในหิมะ ก็จะเห็นแกะดำโด่อยุ่ตัวเดียวได้

แต่คุณกลับด่าคนที่แตกต่างว่าหมาหัวเน่า? มันส่อให้เห็นความคิดเชิงอำนาจนิยมนะครับ??

ถ้า ไอนสไตน์ หรือ เอดิสัน มาเกิดเมืองไทยคงไม่ดัง เพราะชอบกดให้อยู่แต่ในคอก

Q: คนไม่เข้าเชียร์ืคือพวกแอนตี้สังคม ไม่คบเพื่อน

A: คุณเอาบรรทัดฐานอะไรมาวัดว่าคนที่เอาด้วยกับระบบนี้ "แอนตี้่สังคม"?? ถ้ากลุ่มคนที่ไม่เอาด้วยออกไปด้วยกัน แค่นั้นเขาก็มีเพื่อนแล้ว? ทำไมคนที่จบ ป.4 ไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยยังมีเพื่อนได้ แถมรวยกว่าลุกจ้างที่จบในระบบมหาลัย และมีรายได้คืนสู่สังคมมหาศาล มีเวลาไปเล่นกอล์ฟกับเพื่อน ทั้งที่ธุรกิจ 10 อย่าง ในขณะที่พวกเข้าระบบไม่มีเวลาแม้แต่จะทำอะไรเพิ่มให้ชีวิต และสวมหน้ากากหลังจบทำงานไป????

เพราะฉะนั้นของมันอยู่ที่ความคิดทั้งสิ้น

Q: ไม่ประชุมเชียร์ไม่มีเพื่อน ไม่มีเส้นสาย ไม่รู้จักรุ่นพี่

A: เพราะงี้ไม่ใช่เหรอ งานที่เอาแต่เพื่อนมาทำงานด้วยกัน แต่ไม่ได้ร่วมกับคนมีความสามารถมันถึงล่มไม่เป็นท่า ? เพื่อนผมบางคนเปิดบริษํทเอง เพื่อนใหม่หาได้จากการไปเรียนกราฟิกส์ด้วยกัน ความคิดเหมือนๆกัน ไม่จำเป็นต้องเข้าระบบอะไรเลยก็หาเองได้ ถ้าจะหา

Q : ถ้าโดนเจ้านายด่าจะทำยังไง รับแรงกดดันนี้ไม่ได้

A: เจ้านายด่า แต่ทนได้เพราะ 'ปากท้อง' ครับ แต่นี่แค่ "รุ่น" "เกียร์" "ตุ้งติ้ง" วัตถุที่หาซื้อได้ตามร้าน ของเหล่านี้ไม่มีตัวตนทั้งนั้น ทนไม่ได้ก็ไม่แปลกครับ คุณเอาตรรกะนี้มาใช้ใน Context หรือบริบทที่แตกต่างกันเสียแล้ว

Q : รับๆไปเถอะ เดือนเดียวเดี๋ยว เทอมเดียวก็หมดแล้ว

A: มันเหมือนกับเป็นการไม่รุ้จะเถียงอะไร ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรในโลกนี้ เหมือนคำว่า "ทำงาน ทำๆไปเถอะ เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง" มันเหมือนการขอไปที ขาดความรับผิดชอบมาก งั้นผมก็อ้างได้เหมือนกันว่า"งั้นกูไม่เข้าแต่แรกดีกว่าหมดตั้งแต่นาทีนี้ แล้ว!!"

Q: ทำตามรุ่นพี่ไว้ ไม่ผิด เพราะรุ่นพี่อาบน้ำร้อนมาก่อนประชุมเชียร์ก็ต้องเขาตาม

A :อนาคต หรือ อดีต คุณเอามาตัดสินไม่ได้หรอกครับ ฟังไม่ขึ้น....เหมือนกับว่าให้เชื่อๆเถอะ ไม่ต้องใช้ปัญญาคิด

Q: ไม่เคยเรียน รด. รึไงน้อง โหดกว่านี้อีก แค่นี้ทนไม่ได้

A: ที่นี่เป็น 'มหาวิทยาลัย" หรือ ศูนย์ฝึกทหาร รด. กันครับ??? แล้ว รด. นี่เค้าคัดโดยสอบข้อเขียนด้วยเหรอครับ?? ใช้ GPA จาก ม.ปลายด้วยเหรือครับ แล้วเราเข้ามหาลัยมาเพื่อพัฒนา ปัญญา มากกว่าใช้ "มึงเชื่อๆไปเถอะ"????? แล้วเราจะมาเรียนทำไมครับ เมื่่อยัดความคิดแบบ "เชือๆไปเถอะ' ฝังหัวตั้งแต่เฟรชชี่จนจบไป

ไอ้เชื่อคำสั่งทุกอย่างมันใช้สำหรับทหารครับ ถ้ารบแล้วไม่ฟังคำสั่งก็ตายห่าทั้งหมดพอดี

แต่นี่คือมหาลัยครับ

Q:คนส่วนใหญ่เห็นด้วย แสดงว่าต้องเป็นสิ่งดีงาม

A: ถ้าสมมติว่ามีขี้ก้อนหนึ่ง แล้วมีหมากับแมลงวัน แล้วแมลงวันตอมขี้เยอะๆ แสดงว่าขี้เป็นสิ่งดีงามใช่ไหม???

เพราะฉะนั้น ตรรกะนี้ไม่ผ่าน

แล้วไอ้การโยนบก จิตรภู มิศักดิ์ นั่นก็สิ่งดีงามใช่ไหมครับ??? กรณีนั้นมีคนจำนวนมากร่วมกันจัดการจิตร ทั้งที่เขาแค่คิดต่าง ออกแนวหัวรุนแรงเล็กน้อย

ระบบโรงเรียน กับวัฒนธรรมแห่งอำนาจ

บทนำ
การศึกษา ตามความหมายในอุดมคติ คือกระบวนการที่จะสร้างคนให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ มีความรู้ที่จะพัฒนาตนเองและสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
วัฒนธรรม มีความหมายตรงตัวคือ ธรรมชาติที่เจริญงอกงาม วัฒนธรรมจึงไม่ใช่ของสำเร็จรูป หากแต่เป็นสิ่งที่ค่อยๆ เพาะตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ ควบคู่ไปกับสังคม และเราต้องไม่ลืมว่าคนนั่นเองเป็นผู้ทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้น
ทุกวันนี้ โลกและสังคมมีแต่จะยิ่งทวีความซับซ้อน ปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญ ย่อมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมไทยของเรา ก็ต้องเผชิญกับกระแสวัฒนธรรมต่างๆ ที่เคลื่อนไหวไปทั่วโลกอย่างไร้การควบคุม นอกจากนี้ยังต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การตั้งคำถามจากความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีการวิวัฒนาการมายาวนาน จนพ้นจากยุคที่สิ่งใดๆ จะสามารถได้รับการยอมรับจากผู้คนโดยใช้เพียงแค่ศรัทธาความเชื่ออันมืดบอดอีก ต่อไปแล้ว ... ในที่นี้ เราจะพูดถึงแนวคิดหลักเพียงบางเรื่อง ที่นับได้ว่าเป็นแก่น เป็นเสาหลักของวัฒนธรรมไทย และเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาโดยตรง

ระบบอาวุโส
การ เคารพนับถือผู้อาวุโสในสังคมไทย ในสภาพที่เป็นอยู่นี้ ดูแล้วน่าจะเป็นการทำช่องว่างระหว่างวัยให้กลายเป็นความขัดแย้ง มากกว่าที่จะทำให้มีการเคารพและเข้าใจกันโดยแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น ... มันยังจัดเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุด ที่จะทำให้กระบวนการครอบงำครบวงจรได้อย่างสมบูรณ์และสร้างเสถียรภาพอันมั่นคงให้แก่ระบบได้ เพราะผู้ใหญ่นั้นมีประสบการณ์และอาจจะมีความรู้สูงกว่าก็จริง แต่ก็มีพลังงานและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า ส่วนความคิดของเด็กยังอ่อนตัวอยู่ จิตใจยังรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้ง่าย ... ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีความพยายามตีกรอบจำกัดทั้งความคิดและการกระทำให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ โดยบอกว่า "เด็กมีหน้าที่เรียน ก็ควรจะไปคิดเรื่องเรียน" "เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด" ฯลฯ เป็นการป้องกันทุกวิถีทาง ไม่ให้ความคิดของพวกเขามีโอกาสมาสัมผัส และสร้างความกระทบกระเทือนให้กับระบบ หรือรับปัจจัยที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้ ... จนเมื่อพวกเขาผ่านขั้นตอนการศึกษาทั้งหมด และกลายเป็น "ผู้ใหญ่" นั่น คือ เมื่อพวกเขาได้ถูกกลืนกินจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ไม่อาจคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ ได้อีก เมื่อนั้น พวกเขาจะถูกเคลื่อนย้ายเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่ ที่ซึ่งพวกเขาได้รับการถ่ายโอนอำนาจอภิสิทธิ์ เพื่อใช้ในการควบคุมเด็กรุ่นหลัง ให้เป็นเหมือนกับพวกเขาอีกเรื่อยไป ... พวก เขาจึงยินดีจะยอมจำนนต่อระบบ พวกเขาจะไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ เพราะบัดนี้พวกเขาได้กลายมาเป็นฝ่ายได้ประโยชน์และมีสิทธิ์อยู่เหนือกว่า แล้ว พวกเขาจะยึดถือว่าทุกคนที่มาทีหลังจะต้องเชื่อฟัง ตนเองอาบน้ำร้อนมาก่อน คิด ทำอะไรก็ถูกต้องทุกอย่าง เด็กไม่มีสิทธิ์โต้เถียง ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่มีสัมมาคารวะ หัวแข็ง ... พวกเขาจะดูถูกคนรุ่นต่อไปว่า มีแต่ความเหลวแหลก หาสาระอะไรไม่ได้ .... แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่พวกเขาได้รับการปลูกฝังหรือตั้งโปรแกรมมาในจิตใจส่วนลึก ให้กลัวมากที่สุด ... คือเด็กที่มี "สาระ" และ มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งนับแต่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ ภายใต้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่พวกเขาพยายามปิดหูปิดตาไม่ยอมรับรู้นั่นเอง

สถาบัน
ศักดิ์ศรีและเอกลักษณ์ของสถาบัน ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายแต่อย่างใด แต่สภาพที่เราเห็นจนชินตานั้น กลับดูเหมือนว่า ... ความเป็นสถาบัน จะถูกผูกขาดให้เป็นของครูอาจารย์เท่านั้น หรือว่านักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน ไม่มีส่วนร่วมในสถาบันมากไปกว่าการยอมรับมาตรฐาน แนวทางและกฎเกณฑ์ต่างๆที่ถูกกำหนดมาจากเบื้องบน แล้วก็บอกว่านี่คือโรงเรียนของเรา เราต้องมีความภาคภูมิใจ เราต้องรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนด้วยการคิดแบบนั้น เป็นอย่างนี้ ทำสิ่งต่างๆ ที่สมมุติขึ้นมาเหล่านี้ คนที่ไม่เห็นด้วย ไม่ใช่พวกของเรา สมควรจะออกไปอยู่ที่อื่น งั้นหรือ?
คนไทยได้ถูก ความเชื่อที่ยึดติดกับสถาบันฝังหัวมานานแสนนาน ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นภาพของเด็กที่ไล่ตีไล่ฆ่ากันทั้งที่ไม่เคยรู้จัก หรือมีความแค้นอะไรกันเลยแม้แต่นิดเดียว แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวอย่างส่วนเสี้ยวเล็กๆ เท่านั้น ... "ความบ้าสถาบัน" ยังคงแสดงออกให้เห็นในรูปแบบหลากหลายในคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปัญญาชน ข้าราชการ นักวิชาการ จนไปถึงรัฐมนตรี ... เมื่อเร็วๆ นี้เอง ได้มีเด็กมัธยมคนหนึ่งเล่นอยู่ใน webboard ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของไทย โดยใช้ชื่อ "ว่าที่........." ซึ่ง เป็นชื่อที่แสดงถึงสถาบันแห่งหนึ่งที่เธอมีความตั้งใจที่จะเข้า แสดงความคิดเห็นต่างๆ อย่างที่ปัญญาชนทั่วไปพึงกระทำได้ และมีความคิดก้าวหน้ากว่าผู้ใหญ่หลายๆ คนเสียด้วยซ้ำ ต่อมาได้มีผู้อ้างตัวว่าเป็นรุ่นพี่ในสถาบันนี้ ออกมาตั้งกระทู้โจมตีและบอกให้เธอเลิกใช้ชื่อดังกล่าว เขาอ้างว่าการกระทำเช่นนี้ทำให้เสื่อมเสีย เพียงเพราะความคิดแตกต่างกัน และเขาถือว่าแนวทางของตัวเขาเท่านั้น คือความถูกต้องตามมาตรฐานของสถาบันที่เอ่ยถึง ...
เหตุการณ์นี้ทำให้เราต้องกลับมาคิดทบทวนอย่างหนักอีกครั้งในเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน ... คิดเชื่อมโยงไปถึงเรื่องเครื่องแบบ ความเป็นปัจเจกบุคคลกับความเป็นส่วนรวม และปฏิบัติการจองเวรต่อ webboard และพื้นที่แสดงความคิดเห็นสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนต่างๆ โดยครูอาจารย์ทั้งหลายตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ... แล้วก็มีคำถามว่า ทำไม? เมื่อ เราสวมเครื่องแบบ เราจึงต้องสละความเป็นตัวของตัวเอง แล้วหลอมรวมความรู้สึกนึกคิดเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับแบบแผนของสถาบัน ขนาดนั้น ทำไม? ความเป็นสถาบันจะต้องสูงส่งและยิ่งใหญ่จนความเป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันเช่นกัน ไม่อาจแตะต้อง ... และถ้าการดำเนินชีวิตประจำวันถูกทำให้กลายเป็นเหมือนพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ไปทุกย่างก้าวเช่นนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้หรือ???
และ เมื่อใดก็ตามที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ในระดับที่กระทบกระเทือนต่อชะตากรรมของสถาบันและผู้บริหาร ความสามัคคี คือสิ่งที่มักจะถูกนำมาอ้าง เพื่อให้ทุกคนยอมเสียสละสิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับ เพื่อเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม ... สุดท้ายแล้ว ก็จะเหลือแต่ความสามัคคีจอมปลอมที่ตั้งอยู่บนความอยุติธรรมเท่านั้น ดังที่เห็นกันว่า "ผู้ใหญ่" ใน สังคมเรา มักใช้ความสามัคคี และชื่อเสียงของสถาบันมาเป็นเครื่องบังหน้าเสมอ เพื่อบิดเบือนความจริง เพื่อปกปิดความผิดและความฉ้อฉลทั้งปวง ให้ยังคงอยู่ในมุมมืดตลอดไป ส่วนคนไทยจำนวนมาก ก็ยังคงเคยชินกับการประนีประนอมและยอมจำนน(ซึ่งได้ถูกสอนมาว่าคือความอดทน)ในทุกสถานการณ์ ทำเหมือนคนอื่นๆ เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดไปวันๆ ไม่ต้องเรื่องมาก หรือมีปัญหาใดๆ กับคนที่พวกเขาเชื่อสนิทใจเสียแล้วว่า ... คือ คนใหญ่คนโต ที่พวกเขาไม่อาจเอื้อมไปต่อกรด้วยได้ และจำต้องยอมเป็นเบี้ยล่าง ทำตัวให้น่ารักน่าเอ็นดูเพื่อหวังเพียงความเมตตาบ้างเท่านั้น
ขอ จงพิจารณาดูให้ดี สถาบันนั้นไม่ได้มีชีวิตในตัวของมันเอง คนต่างหากที่ทำให้มันมีความหมาย และแท้จริงแล้วสถาบันถูกสร้างขึ้นมาให้รับใช้คน จะมีประโยชน์อะไร กันเล่า... ถ้าเรารักษาเปลือกอันว่างเปล่าของสถาบันเอาไว้ได้โดยต้องสูญเสียความเป็นคน???

กฎระเบียบ
ทราบหรือไม่? ว่าแท้ที่จริง "อำนาจ" ใดๆ ล้วนแต่มาจากการยอมรับของผู้อยู่ใต้อำนาจทั้งสิ้น และ "กฎ" ต่างๆ ก็มีความศักดิ์สิทธิ์ได้เพราะมีอำนาจต่างๆ สนับสนุน เช่นเดียวกับเงินตราจะมีมูลค่าได้ก็ต่อเมื่อมีทองคำเป็นหลักฐานรองรับ ... สำหรับกฎที่ถือกันเป็นสากลเพื่อรักษาความสงบสุขส่วนรวมนั้น ย่อมมีอำนาจอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว นั่นคืออำนาจของ "ความชอบธรรม" ที่ จิตใต้สำนึกของคนมิอาจปฏิเสธได้ ส่วนกฎชนิดอื่นๆ ที่จะบังคับใช้ได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกกฎนั้นมีอำนาจพอหรือไม่ โดยที่ต้นทุนของกฎแต่ละข้อ ก็ยังขึ้นอยู่กับระดับของการบังคับให้คนต้องปฏิบัติในสิ่งที่ฝืนความรู้สึก ตัวเองมากน้อยเพียงใด และต้องคัดง้างกับอำนาจอื่นใดอีกบ้าง ... แต่ในโรงเรียน มีการออกกฎหลายอย่างที่น่าสงสัย ... ว่าคุณค่าของมัน เพียงพอแล้วหรือ? ให้ผลคุ้มค่าหรือไม่? ต่อ การที่จะสถาปนาขึ้นมาเป็นกฎเพื่อปกครองเด็กทั้งหมด และอำนาจที่หนุนกฎกลวงๆเหล่านี้ ก็ไม่ได้มาจากการเข้าใจและยอมรับโดยชอบธรรม แต่มาจากการสร้างความกลัว ความกดดัน ใช้คำว่า ศักดิ์ศรี ความเรียบร้อย ความมีระเบียบ อย่างเลื่อนลอย ... มาทำให้เด็กต้องยอมทำตาม และจะยิ่งกลายเป็นการขยายขอบเขตแห่งอำนาจของโรงเรียนที่มีเหนือตัวเด็กให้ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ... ด้วยวิธีเช่นนี้เอง ทำให้ในโรงเรียน และในสังคมไทยส่วนมาก เกิดภาวะ "อำนาจเฟ้อ" อย่างหนัก ... ลอง สังเกตดู ว่าที่ผ่านมา คนไทยคิดวิธีแก้ปัญหาแบบอื่นๆ ไม่ค่อยเป็น นอกจากมีอะไรก็สักแต่ออกกฎมาบังคับอย่างพร่ำเพรื่อ หรือถ้าถึงแก่อับจนปัญญาเสียแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าปะทะแบบไร้หลักการ ไร้ทิศทางอยู่ร่ำไป ... นี่เป็นเพราะเคยชินกับวิธี คิดแบบอำนาจนิยมมาตลอดนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งกฎไม่ได้ถูกใช้เพื่อเจตนารมณ์ที่แท้จริง แต่ถูกครูอาจารย์นำมาตีความบิดเบือน เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่เพื่อใช้บังคับแบบพาลใส่นักเรียน เพียงเพราะคิดไปว่านักเรียนกำลังท้าทายอำนาจของตนเอง นี่หมายถึงอะไร? บรรทัดฐานความดีงาม ความถูกต้องในสายตาของครูอาจารย์เหล่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าคติที่ว่า "ใครมิยอมค้อมหัวให้ตูข้า ต้องพิฆาตเข่นฆ่าให้อาสัญ ใครคิดต่างมองเห็นไม่เหมือนกัน มันผู้นั้นเป็นพวกหนักแผ่นดิน" อย่างนั้นหรือ???
จาก ที่กล่าวมา เราคงเริ่มเห็นแล้วว่า ธาตุแท้ของกฎเหล่านี้ คือการบีบบังคับให้คนสละสิทธิและอำนาจส่วนบุคคล แล้วสูบเข้ามาเพิ่มอำนาจรวมศูนย์ในส่วนกลางให้เข้มข้นยิ่งขึ้น สอดคล้องกันพอดีกับภาพการเติบโตพัฒนาของสังคมแบบที่เรียกกันว่า "หัวโตตัวลีบ" ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน
และนี่คือ ... สิ่งที่ได้รับการกล่าวอ้าง ว่ากฎเหล่านี้มีไว้เพื่อสอนให้มีวินัย อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบ แต่แท้จริงแล้ว ... สิ่งที่แฝงไว้ คือการสอนให้ยอมสยบต่อกฎและอำนาจที่ไร้เหตุผล ขาดความชอบธรรม ... หก สิบปีแห่งประชาธิปไตย จึงเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนรูปแบบภายนอก มีการเลือกตั้ง แต่ยังไม่อาจทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในบ้านเมืองอย่างแท้จริง ... ไม่ ต้องไปดูที่ไหนไกล ตามโรงเรียนที่มีคณะกรรมการนักเรียน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นได้แค่หุ่นเชิดของครูอาจารย์ คอยรับคำสั่งบอกบทการทำงานต่างๆ ... ในขณะที่ เชื้อพันธุ์แห่งจิตวิญญาณเผด็จการ ยังคงถูกหมกเม็ดอยู่ในระบบการศึกษาเพื่อรอคอยที่จะฝังรากเหง้าของมันลงสู่ ความคิดของคนรุ่นต่อๆไป สังคมไทยจึงไม่เคยขาด "ทรราช" ที่มีอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน เพียงแต่ว่าใครจะได้มีโอกาส จังหวะเวลา และปัจจัยอื่นๆ เพื่อขึ้นมาสู่อำนาจในระดับต่างๆ กันเท่านั้น ... และพวกเรานั่นเองที่ต้องแบกรับผลของกรรมเช่นนี้ตลอดมา ... ถ้า หากจะมีใครได้ศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับกระทรวงศึกษาธิการที่ล้างสมองคนไทยมา นานบ้าง ... ก็จะรู้ซึ้งถึงความหมายนี้เป็นอย่างดี

วัฒนธรรมไทย ใครคือผู้กำหนด?
สิ่งเหล่านี้นี่เอง คือกลไกของระบบการศึกษา ที่ใช้ในการหล่อหลอมความคิดของบุคคล จนกระทั่งเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาจึงได้ไปสร้างระบบการเมือง ระบบสังคม-วัฒนธรรม ระบบราชการ ฯลฯ ตามแม่แบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นอย่างเดียวกัน และเชื่อมโยงเป็นโครงสร้างมหึมาในระดับเหนือขึ้นไปกว่านั้น จนกลับมาแผ่ขยายครอบคลุมสังคมไทยทั้งหมดเอาไว้
การ มีวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราแยกวัฒนธรรมออกจากวิถีชีวิต แล้วเอาซากของมันไปวางไว้บนหิ้ง ตกแต่งด้วยสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพื่อบังคับให้คนก้มหน้าก้มตากราบไหว้ เมื่อนั้นมันก็ไม่ใช่ความดีงามอีกต่อไป ... แต่จะ กลายเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจของผู้ที่พยายามผูกขาดแสดงตัวเป็นเจ้าของ วัฒนธรรมนั้น โดยสืบทอดผ่านกระบวนการให้การศึกษา และอบรมเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ของสังคมต่อๆ กันไปเป็นวัฏจักร
ขอให้พวกเรา ลองกลับไปคิดดู นี่หรือ? คือวัฒนธรรมที่เราต้องการ? วัฒนธรรม แห่งการใช้อำนาจควบคุม วัฒนธรรมที่ยึดถืออาวุโสและตัวบุคคลเหนือความสามารถ ยึดถือความสัมพันธ์เหนือเหตุผลและความถูกต้อง ยึดถือความสวยงามเหนือแนวคิดและประโยชน์ใช้สอย และยึดถือความสงบเรียบร้อยที่เปลือกนอกเหนือความเป็นธรรม นี่ใช่ไหม? คือสิ่งที่พวกท่านยกย่อง และพยายามยัดเยียดมันให้กับลูกหลาน คิดดูให้ดี ....
เมื่อ เรารู้แล้วว่า สภาพการณ์ที่ทำให้เราต้องปฏิรูปการศึกษา มันไม่ใช่แค่ปัญหาหรืออุปสรรคธรรมดาที่เกิดขึ้นจากความบกพร่อง ความผิดพลาด ความไม่สมบูรณ์ต่างๆ ... แต่เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างสลับซับซ้อน เพื่อวัตถุประสงค์เพียงหนึ่งเดียว ... ซึ่ง อยู่ตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์และอุดมการณ์ของเราโดยสิ้นเชิง นั่นเท่ากับว่า เราจะยิ่งต้องทำงานหนักกว่าเดิมในการคิดแผนยุทธศาสตร์งานปฏิรูป โดยต้องคิดให้ลึก และไกลยิ่งไปกว่าการที่จะมามัวแต่แก้ไขรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นเร่งสร้างโรงเรียนและปั๊มครูออกมาเพิ่ม ซื้อหนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้าไปบรรจุให้เต็มห้องสมุด ซื้อคอมพิวเตอร์แจก ทำข้อสอบวัดมาตรฐาน หรือเข็นโรงเรียนให้ได้ ISO เลขเยอะๆ โดยมองข้ามการปฏิรูปวัฒนธรรม แนวความคิดหลักของคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา เพราะมันถึงเวลาแล้ว ... ที่เราจะต้องต่อสู้กับ "ระบบ" ที่ครอบงำพวกเรามายาวนานนับร้อยนับพันปี...

เพื่ออิสรภาพ เพื่อความเป็นไทโดยแท้จริง