วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"SOTUS The Series" ภาค SOTUS ไม่ใช่พ่อ : ปฐมบทแห่ง SOTUS

....หลังจากที่ได้เกริ่นนำถึงจุดประสงค์ของการเขียนบทความแล้ว วันนี้เราจะมาพูดกันถึงความเป็นมาของระบบการรับน้องแบบ SOTUS กันนะครับว่ามีประวัติความเป็นมายังไง ทำไมมันถึงฝังลึกลงในระบบการศึกษาของไทยจนยากที่จะโค่นล้มมันออกไป

..... ระบบSOTUS ในประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อมีการก่อตั้งวชิราวุธวิทยาลัยตามแบบโรงเรียนกินนอนในอังกฤษ เมื่อมีการตั้งโรงเรียนนายร้อยสำหรับฝึกทหารและตำรวจ เพื่อส่งคนไปปกครองตามหัวเมืองต่างๆ และดินแดนอดีตอาณานิคมของสยาม อย่างล้านนา อีสาน มลายูปัตตานี ที่ทั้งหมดเพิ่งถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่หลัง ร.5 เป็นต้นมาเมื่อก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนซึ่งต่อมากลายเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระบบอาวุโสถูกนำไปใช้ที่นั่น และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการส่งคณาจารย์รุ่นแรกๆ ไปเรียนเกษตรที่ Cornell University สหรัฐอเมริกา กับ University of the Philippines ที่ฟิลิปปินส์

.....ระบบSOTUS จึงเริ่มที่มหาวิทยาลัยเกษตร และแพร่ขยายไปทั่วประเทศ ลามไปที่จุฬาด้วย ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งตามแบบมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และการเมือง (Ecole des Sciences et Politiques) ของฝรั่งเศสจึงไม่มีระบบนี้ โดยมหาวิทยาลัยในภาคพื้นยุโรป จะไม่มีการรับน้อง ไม่มีระบบอาวุโส หรือยึดติดกับสถาบันมากเท่า พวก อังกฤษและอเมริกา (Anglo-Saxon)


....จะเห็นได้ว่าระบบ SOTUS นั้นมีมายาวนานเกือยร้อยปีแล้วจึงทำให้มีผู้เทิดทูนระบบ SOTUS กันมากมายจนหลงลืมประเด็นสำคัญไปว่าระบบนี้ยังสามารถนำมาใช้ในยุคที่ประชาธิปไตยเฟื่องฟู ยุคที่เสรีภาพกำลังเบิกบาน ได้จริงหรือ ถ้าหากเรากลับมาหวนคิดสักนิดใช้เวลาแค่เพียงสักหน่อยก็จะได้พบกับความจริงที่เราตามหาคำตอบกันมายาวนานคือ "ไม่เหมาะนำมาใช้ในการรับน้องหรือปกครองน้อง"

.... คำตอบนี้คงไม่ถูกใจนักสำหรับคนที่เป็นพวกรุ่นพี่ที่ชื่อชอบระบบ SOTUS หรือ พวกวากเกอร์ เพราะถ้าหากมีการล้มล้างระบบพวกนี้ลงสิ่งที่พวกเขาโดนกระทำมาตอนเป็นรุ่นน้อง พวกเขาก็จะไม่ได้ทำการแค้นคิดแต่เพียงว่า "ถ้าโดนรับมายังไงก็ปล่อยไปแบบนั้น" ถ้าโดนมาหนักรุ่นน้องก็ซวยถ้าโดนมาเบารุ่นน้องก็โชคดีไป ชะตาชีวิตรุ่นน้องขึ้นอยู่กับรุ่นพี่

.... ดังนั้นถ้าหากรุ่นพี่ยึดหลักการปล่อยวางตามแนวพุทธศาสนายอมรับที่จะเก็บความรุนแรงที่ได้รับมาแต่ไม่นำมาใช้กับรุ่นน้อง และหันมาใช้กระบวนการคิดตามหลักพุทธศาสนาก็จะช่วยให้เกิดปัญญาพบกับแนวทางที่จะช่วยทำให้เกิดความสามัคคีในรุ่นน้องโดนไม่ต้องใช้ระบบ SOTUS หรือใช้ความรุนแรง

วันตา กราบไหว้ : Ris Niat

**บทความนี้ผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้อ่านหันมาคิดทบทวนระบบการรับน้องในมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเจตนาที่จะดูถูก กล่าวร้ายผู้ใด ถ้าหากคุณไม่สามารถที่จะรับความเห็นนี้ได้กรุณากดปิดเสีย หากผู้ใดนำบทความไปเผยแพร่กรุณาทำลิ้งกลับมายังบทความนี้ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง**

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"SOTUS The Series" ภาค SOTUS ไม่ใช่พ่อ : เกริ่นนำ

SOTUS ถือเป็นระบบการปกครอง/การรับน้อง ที่มีมาอย่างยาวนานและทรงอิทธิพลมากที่สุดในรั้วมหาวิทยลัยอันเป็นแหล่งที่ใครๆต่างก็เชิดชูว่า "เป็นแหล่งที่สร้างและรวมปัญญาชน " ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า "จริงหรือที่มหาวิทยาลัยนั้นเป็นแหล่งสร้างและรวมปัญญาชน?"

ในมหาวิทยาลัยนั้นถ้าหากเป็นแหล่งรวมปัญญาชนจริงๆเชื่อว่าคนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ไม่อยากที่จะนำระบบ SOTUS มาใช้ในการปกครองน้องหรือรับน้องหรอก เพราะถ้ามีปัญญาชนจริงๆ เขาคงคิดหาวิธีการรับน้องที่มีความเหมาะสมมากกว่านี้ได้ ไม่ต้องให้เกิดปัญหาการรับน้องที่มีแต่ความรุนแรง ความเกลียดชัง ความเลวร้าย เหมือที่ท่านผู้อ่านเคยพบเห็นในข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ช่วงที่มีการรับน้อง ทุกๆปีเราจะเห็นข่าวการเสียชีวิต การบาดเจ็บของรุ่นน้องปี 1 ทุกปีปีละ2-3 รายแต่ในความเป็นจริงแล้วการบาดเจ็บหรือเสียชวิตน่าจะมีมากกว่านั้นเพียงแต่ว่าทางสถาบันนั้นได้มีการปิดข่าวไมม่ให้รั่วไหลต่างหาก เพื่อไม่ให้เกิดชื่อเสียขึ้นต่อมหาวิทยาลัยหรือคณะของตน

ดังนั้นเพื่อไม่ต้องให้มีใครต้องมาบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ หรือไม่ต้องให้มีผู้สังเวยชีวิตให้กับการรับน้องที่ป่าเถื่อน ถึงเวลาแล้วที่ควรมีการกลับมาวิเคราะห์วิจารณ์ว่าระบบนียังสามารถใช้ได้ดีในสังคมปัจจุบันนี้หรือไม่ หรือมาร่วมคิดกันว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควรจะหยุดยั้งระบบนี้เสียที


วันตากราบไหว้ : Ris Niat

**บทความนี้ผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้อ่านหันมาคิดทบทวนระบบการรับน้องในมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเจตนาที่จะดูถูก กล่าวร้ายผู้ใด ถ้าหากคุณไม่สามารถที่จะรับความเห็นนี้ได้กรุณากดปิดเสีย หากผู้ใดนำบทความไปเผยแพร่กรุณาทำลิ้งกลับมายังบทความนี้ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง**

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

คลิป2

คลิปรับน้องครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รับน้องปลอดเหล้าปี"53 เน้นพี่น้องปรองดองสร้างสรรค์


โครงการรับน้องปลอดเหล้ายังคงเดินหน้าต่อไปในปีการศึกษานี้

โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และแผนงานทุนอุปถัมภ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เพิ่งร่วมกันจัดสัมมนาความร่วมมือการจัดกิจกรรมรับน้องสถาบันอุดม ศึกษาทั่วประเทศ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.) มี นายไชยยศ จิรเมธากร รมช. ศึกษาธิการ ท.พ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการสสส. ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์ สสส. นายสุชาติ เมืองแก้ว อธิการบดี มจษ. และนักศึกษา กว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม




พี่น้องปรองดองสร้างสรรค์

จากการบรรยายแนวคิดของแผนงานฯ ต่อการสนับสนุนโครงการรับน้องในสถาน ศึกษา และบรรยายในหัวข้อ "พลังพี่น้อง ปรองดอง สร้างสรรค์ สร้างไทย" รวมทั้งเปิดเวทีระดมความคิดเห็นกิจกรรมรับน้องปลอดเหล้าและสร้างสรรค์

ท.พ.กฤษดา กล่าวว่า โครงการรับน้องปลอดเหล้า ประจำปีการศึกษา 2553 สสส. ได้เน้นจัดกิจกรรมภายใต้สโลแกน "พลังพี่น้อง ปรองดอง สร้างสรรค์ สร้างไทย" เน้นปลูกฝังความรัก ความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นนโยบายที่ สสส. ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ยังสอดรับนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ

โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการสร้างเครือข่ายของนิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษา 11 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาด ใหญ่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหา วิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และมหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดตั้งเป็น U-Network เพื่อร่วมทำงานด้วยกัน เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงให้แก่สถาบันการศึกษาอื่น เพราะถือว่าเป็นการสร้างเครือข่ายให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อผลักดันให้ เกิดชมรมสร้างเสริมสุขภาพภายในสถานศึกษา

อย่างไรก็ตาม เรื่องการรับน้องปลอดเหล้า สสส.ให้ความสำคัญมาแล้วกว่า 6 ปี ในปีนี้มีสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชน เข้าร่วมโครงการแล้วเกิน 50% ของประเทศ คือจำนวน 120 สถาบันจาก 200 สถาบัน ซึ่งเฉพาะในปี 2553 สสส.ได้ทำงานร่วมกับ 98 สถาบันการศึกษา ซึ่งแต่ละปีจะมีนักศึกษาทั้งใหม่และเก่า รวมถึงอาจารย์ เข้าร่วมการรณรงค์ปีละกว่าแสนคน

1.พัฒนพล ศรีน้อย
2.เอกชัย อยู่สวัสดิ์
3.ณัฐพล ศรีบุญเรือง
4.เบญจภา รัตนศรีประเสริฐ
5.ปฐมรัตน์ และ เพื่อน




ศธ.ห่วงร้านเหล้าหน้ามหา"ลัย

ด้าน นายไชยยศ กล่าวว่า ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประสานกับสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ออกระเบียบ มาตรการควบคุมการจัดกิจกรรมรับน้องปีนี้ โดยขอให้มุ่งเน้นการสร้างความปรองดองในสังคม โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องเป็นไปในแนว ทางการเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคี ต้องปราศจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด 100%

นายไชยยศ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้เร่งให้ประสานเรื่องการเข้าไปดูแล กวด ขันเรื่องการเปิดร้านเหล้าใกล้สถานศึกษากับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีร้านทำผิดกฎหมายหรือไม่ รวมถึงเข้าไปตรวจสอบว่ามีช่องโหว่ใดที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่อายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดซื้อเหล้าดื่มโดยจะต้องมีการสำรวจร้านค้าบริเวณใกล้สถาบันต่างๆ อย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับผลประโยชน์จำนวนมาก การเข้าไปจัดการให้ได้ผลเป็นเรื่องต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากทุกฝ่าย

"มาตรการจะเป็นเพียงหลักการเท่านั้น หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่ง ต้องมีบทบาทสำคัญควบคุมดูแลให้อาจารย์ที่ปรึกษา ทุกคนมีส่วนร่วมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงเจตนารมณ์สำคัญของกิจกรรมรับน้อง ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมใดๆ ที่เกินเลยความเหมาะสมก็ไม่ควรทำและนักศึกษามีสิทธิ์ตัดสินใจจะเข้าร่วมกิจกรรมแบบสมัครใจด้วย สถาบันการศึกษาจะต้องมีศูนย์ที่จะรับแจ้งเหตุ เพื่อรับข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้หากพบเห็นการจัดกิจกรรมรับน้องที่ไม่เหมาะสมสามารถแจ้งได้ที่ สายด่วนหมายเลข 0-2610-5416-17" รมช.ศึกษา ธิการ กล่าว



เสียงสะท้อนจากน.ศ.

คราวนี้มาฟังเสียงของนักศึกษากันบ้าง

เริ่มที่ นายณัฐพล ศรีบุญเรือง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นในงานรับน้องของทุกมหาวิทยาลัยคืออยากให้มีการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยชินกับการรับน้องที่รุนแรง ดังนั้น การรับน้องครั้งนี้หากเราได้ร่วมกันเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการรับน้องให้เป็นการรับน้องที่เติมเต็มในเรื่องของจิตวิญญาณและอุดมการณ์แห่งความเป็นปัญญาชน ที่มองเห็นปัญหาของสังคมมากกว่ามองเห็นปัญหาของตัวเอง

นายพัฒนพล ศรีน้อย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า อยากให้งานรับน้องที่กำลังจะเกิดขึ้นของทุกมหาวิทยาลัย เป็นงานรับน้องที่เต็มไปด้วยจิตสำนึกแห่งความดีงาม และเป็นจิตสำนึกแห่งการให้ และไม่อยากให้งานรับน้องต้องใช้เหล้าเป็นประเด็นหลักในการเข้าหาน้อง อยากจะให้ทุกๆ มหาวิทยาลัยยึดหลักของการรับน้องปลอดเหล้าเป็นประเด็นหลักในการเข้าถึงน้อง เพราะเมื่อไม่มีเหล้าสติก็จะเกิดสิ่งที่ดีงามในการเป็นนักศึกษาที่ดีก็จะตามมา และความรักระหว่างพี่กับน้องก็จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องมีเหล้าเข้ามาเกี่ยว

นายปฐมรัตน์ โพธิ์รักษา กล่าวว่า ไม่ว่างานรับน้องหรืองานอะไรที่เกี่ยวกับชีวิตของนักศึกษาในหลายๆ มหาวิทยาลัย ไม่ควรที่จะมีการนำสุรา อาทิ เหล้า เบียร์ เป็นต้น เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะตัวอย่างก็มีให้เห็นกันมากมาย เมื่อเหล้าหรือเบียร์เข้าปากไปแล้วเป็นอย่างไร

และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะลืมไม่ได้คือปัจจุบันนี้สถานศึกษาหลายแห่งมีร้านขายเหล้าขายเบียร์เปิดขนาบข้างอยู่เต็มไปหมด ดังนั้น จึงอยากให้มีการเข้มงวดกวดขันในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเมื่อมีแหล่งอโคจรในการนัดพบ พี่ชวนรุ่นน้องไปรุ่นน้องก็ต้องไป แต่เมื่อสถานที่ขายเหล้าขายเบียร์เหล่านี้เข้าถึงยาก ก็จะลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ไปด้วย พวกเราก็เลยอยากให้มีการกวดขันร้านเหล้าร้านเบียร์ที่อยู่ใกล้กับสถานศึกษาไม่ให้มีอีกต่อไป



ยังห่วงรับน้องโหด

นายเอกชัย อยู่สวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โปร แกรมรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า เรื่องของการดื่มเหล้าดื่มเบียร์ในงานรับน้องนั้น มองว่ามันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความรุนแรง กินทุกครั้งเกิดความรุนแรงทุกครั้ง โดยจะเห็นจากข่าว รุ่นพี่รับน้องโหดทุกครั้ง ดังนั้น สิ่งที่จะต้องรณรงค์ควบคู่ไปกับงานรับน้องปลอดเหล้าด้วย คือการรณรงค์ไม่ให้รุ่นพี่ใช้ความรุนแรงกับน้องด้วย หลายคนยังยึดติดกับค่านิยมที่ยิ่งรับน้องรุนแรงก็จะยิ่งรักกันมากขึ้นนั้น ควรจะเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เพราะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนไม่ชอบใช้ความรุนแรงและไม่ควรเริ่มความรักความสัมพันธ์ด้วยความรุนแรง ไม่รุนแรง ไม่ชวนน้องดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ ซึ่งตนเชื่อว่าปัญหาอีกหลายอย่างก็จะหมดไป

น.ส.เบญจภา รัตนศรีประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า เรื่องที่น่าจะเร่งรณรงค์เป็นอันดับแรกในการรับน้องที่จะเกิดขึ้นในหลายๆ มหา วิทยาลัยคือ การเร่งสร้างในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม คำสองคำนี้ถือว่ามีความหมายอย่างมากสำหรับนักศึกษาในยุคปัจจุบัน เพราะปัญหาในสังคมหลายอย่างเกิดขึ้นเพราะคนหลายคนที่มีอำนาจในสังคมขาดความตระหนักอย่างแท้จริง ซึ่งหากนักศึกษาที่เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตหนุ่มสาวตระหนักและเข้าถึงคุณธรรมและจริยธรรมก็จะนำพาไปสู่สังคมที่ดีงามได้ และเมื่อนักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรมอย่างแท้จริงการชักชวนกันไปดื่มเหล้าในงานรับน้องก็จะไม่มีเกิดขึ้น

เป็นอีกความห่วงใยที่มีต่อการรับน้อง



ปฏิญญารับน้อง

เครือข่ายของนิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษา 11 แห่ง สสส.และ ศธ. ได้ร่วมกันสร้างปฏิญญา 5 ข้อ เพื่อนำไปสู่แนวทางการดำเนินกิจกรรมนักศึกษาที่เข้มแข็งในอนาคต และมอบให้กับนายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา จะดำเนินการจัดกิจกรรมภายใต้นโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับของสถาบันการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการอย่างเคร่งครัด 2. เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา โดยการดำเนินงานขององค์การ สโมสร นิสิตนักศึกษา จะจัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ โดยดำรงไว้ซึ่งการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมไทย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

3. เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาจะมุ่งเน้นกิจกรรมสร้างสามัคคีปรองดอง โดยจะเคารพซึ่งสิทธิเสรีภาพความเป็นมนุษย์ 4. เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา จะมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาชุมชน และสังคม ซึ่งจะรวมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ 5. สถาบันอุดมศึกษา จะร่วมกันก่อตั้งเครือข่ายผู้นำนิสิต นักศึกษา สถาบันระดับอุดม ศึกษาทั่วประเทศ ในการพัฒนานโยบายการดำเนินงานด้านกิจกรรมนักศึกษาร่วมกัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนะนำหนังสือน่าอ่านครับ

ชื่อหนังสือ :ว้ากน้อง การสร้างและสืบทอดระบบเผด็จการในมหาวิทยาลัย
โดย :ธเนศวร์ เจริญเมือง

มี 3 ฉบับนะครับ ฉบับที่ 1 เขียนเมื่อปี 2535 ฉบับที่ 2 เขียนเมื่อปี 2543 ฉบับที่ 3 เขียนเมื่อปี 2548 ถ้ามีเวลานะครับอยากให้อ่านเรียงกันตั้งแต่เล่ม 1-3 แต่ถ้าไม่มีเวลาหาเล่ม 3 มาอ่านอย่างเดียวเลยครับเพราะอาจารย์แกรวมเล่มแบบสรุปเล่ม 1-2 ไว้ที่เล่ม 3 หมดแล้ว


ตัวอย่างบทความในหนังสือครับ

" คำกล่าวที่ว่านักเรียนมัธยม และนักศึกษาปี 1 ไม่หวงแหนสิทธิเสรีภาพของตนเอง จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สะท้อนให้เห็นพื้นฐานความเป็นมาของเยาวชนไทย ขณะเดียวกันกรณีนักศึกษามหาวิทยาลัยปี 2 - ปี 4 ทำตัวเป็นจอมเผด็จการ ผูกขาดอำนาจ สถาปนาตนเองเป็นรุ่นพี่ ทั้งๆ ที่อายุห่างกันเพียงไม่กี่เดือนหรือเพียง 1-2 ปี และใช้อำนาจเผด็จการเถื่อน กดขี่ข่มเหง ข่มขู่ และบีบบังคับลงโทษรุ่นน้องที่ด้อยกว่าในทุกๆ ด้าน ก็สามารถอธิบายพื้นฐานความเป็นมาของพฤติกรรมเหล่านั้นได้ในทำนองเดียวกัน
พื้นฐานความเป็นมาดังกล่าวก็คือ

ข้อแรก การดำรงอยู่ของความคิดที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางสติปัญญา เน้นหนักในเรื่องของความสนุกสนาน ฉะนั้นกิจกรรมต่างๆ จึงมุ่งไปที่การร้องเพลง การเชียร์กีฬา การกินเลี้ยง จัดงานรื่นเริง ฯลฯ

ข้อสอง การดำรงอยู่ของความคิดแบบศักดินา คือ ความรักของรุ่นพี่เป็นความรักที่มีเงื่อนไขหวังผลตอบแทน ไม่ใช่ความรักแบบ "พี่มีแต่ให้" กล่าวคือ ที่พี่รักน้อง อุตส่าห์ไปรับน้องมาโดยรถไฟ อุตส่าห์จัดงานให้น้อง อุตส่าห์สอนน้องให้ร้องเพลงเชียร์ได้ รู้วิธีไปลงทะเบียนวิชาต่างๆ ได้ อุตส่าห์แหกปากตะโกนว้ากน้อง ดุด่าน้อง สั่งลงโทษน้องตอนดึกๆ อุตส่าห์จัดประชุมเชียร์จนดึกทุกวัน ฯลฯ ก็เพราะ พี่อยากให้น้องรักกันรู้จักกัน สามัคคีกัน ช่วยเหลือกัน โดยที่น้องจะต้องเชื่อฟังพี่ พี่สั่งอะไรน้องต้องทำตาม อย่าดื้อ อย่าเถียง อย่าคัดค้าน ฯลฯ เพราะความคิดเห็นที่แตกต่างจะไม่ก่อให้เกิดความสามัคคี แต่จะก่อให้เกิดความแตกแยกขัดแย้งในสังคม

นี่เป็นความคิดแบบศักดินาประเภทคลาสสิค เพราะ พี่เห็นว่าน้องยังเด็ก ยังไม่รู้อะไร ต้องให้พี่ช่วยเหลือดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง พี่จึงไม่ได้มองน้องว่าเป็นคนเท่าเทียมกัน มีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกทำอะไรก็ได้ พี่เห็นว่าน้องต้องไม่โต้เถียงพี่ กิจกรรมต่างๆ พี่เท่านั้นเป็นคนกำหนด น้องไม่มีสิทธิเลือก ไม่มีสิทธิออกความเห็น ไม่มีสิทธิปฏิเสธ ถ้าน้องทำผิดหรือทำไม่ถูกใจพี่ พี่มีสิทธิลงโทษน้องได้ทุกอย่าง และถ้าน้องยอมทำตามทุกอย่างที่พี่บอก พี่ก็จะดูแลน้องต่อไป ให้ความรักต่อน้อง ในอนาคตพี่ก็จะไม่ทอดทิ้งน้อง (ช่วยหางานให้ ใช้เส้นสาย ใช้ระบบพรรคพวก) แต่ถ้าน้องดื้อรั้น ไม่ยอมเชื่อฟังพี่ พี่ก็จะตัดน้องออกจากกลุ่ม จะไม่ดูแลและนับถือกันเป็นพี่เป็นน้องอีกต่อไป

โปรดสังเกตว่าความคิดเหล่านี้ มีพื้นฐานมาจากระบบการอบรมเลี้ยงดูและระบบการศึกษาที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยนั่นเอง

สรุปว่า ถ้าเราจะตำหนินักศึกษาปี 1 ซึ่งเป็นน้องใหม่ว่า ทำไมไม่คัดค้าน ทำไมไม่หวงแหนสิทธิเสรีภาพของตัวเอง ทำไมไปยอมให้รุ่นพี่โขกสับจนดึกดื่นทุกวัน เราก็ควรตั้งคำถามต่อนักศึกษาปี 2 - ปี 4 (กระทั่งบัณฑิตหลายคนที่แม้จะจบไปแล้ว ก็ยังมาช่วยดูแลควบคุมการว้ากน้อง) ว่าทำไมจะต้องไปข่มเหงรังแกรุ่นน้องเช่นนั้น ทำไมเรียนหนังสือมากกว่าใครๆ ในสังคม แต่จิตใจยังชอบเผด็จการ ชอบบีบบังคับลงโทษคนอื่นๆ เช่นนี้

พฤติกรรมที่นักศึกษาปี 2 - ปี 4 นิยมใช้อำนาจบีบบังคับ ข่มขู่และลงโทษนักศึกษาที่เข้าใหม่ สะท้อนให้เห็นสภาพที่เป็นจริงทางการเมืองการปกครองในสังคมไทยระดับชาติได้เป็นอย่างดี ระบบการปกครองของไทยที่ผ่านมามีลักษณะค่อนไปทางเผด็จการ 60 ปีที่ผ่านมาของระบอบประชาธิปไตยพัฒนาอย่างลุ่มๆ ดอนๆ พรรคการเมืองล้มลุกคลุกคลาน ทหารแทรกแซงการเมืองด้วยการก่อรัฐประหารถึง 10 กว่าครั้ง มีการยุบรัฐสภาเกือบ 10 ครั้ง และฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งถึง 10 กว่าฉบับ นายกฯ ที่มีจากทหารครองอำนาจรวมเวลาถึง 44 ปี ในช่วง 60 ปี อำนาจทางการเมืองจึงอยู่ในมือคนส่วนน้อยที่พยายามรวบอำนาจไว้เป็นของตนเอง ระบบราชการใหญ่โตมาก การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางมีมาก ท้องถิ่นมีอำนาจของตัวเองน้อย มีการใช้สิทธิใช้เสียงแบบประชาธิปไตยที่จำกัดในระดับโรงเรียนครอบครัวและสังคม"

ในหนังสือมีอีกเยอะครับมีการเขียนเล่าประสบการการรับน้องของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยในภาคเหนือด้วยครับ สนใจหาอ่านหรือหาซื้อได้ครับ ลองค้นดูในกูเกิล

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(สรุป)

สรุป

จากที่ท่านได้อ่านเรื่องราวทั้งหมดของ “วิพากษ์ว้าก” เล่มนี้แล้ว ก็เป็นข้อคิดและข้อเสนอของผมที่ต้องการให้คนในสังคมทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมรับน้องในประเทศไทยได้นำไปฉุกคิดและปฏิบัติ ซึ่งคิดว่าได้เสนอไว้ชัดเจนแล้ว สรุปกันอย่างสั้นที่สุดว่า “ต้องยุติการว้ากและความรุนแรงทุกรูปแบบในกิจกรรมรับน้องทุกประเภท นำศีลธรรม ความสงบ สันติวิธีเข้ามาใช้”

แม้ว่าหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการรับน้องประชุมเชียร์นั้นหายากหรือไม่มีเลยก็เป็นได้ แต่บนเว็บไซต์นั้นมีบทความที่เกี่ยวข้องกับการรับน้องประชุมเชียร์มากมาย รวมทั้งความคิดเห็นของผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่เข้ามาระบายวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์การว้ากนั้นไม่ใช่ความคิดเห็นของผมเพียงคนเดียว แต่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์บนเว็บไซต์ไว้แล้วมากมาย แต่ไม่ได้มีการนำไปคิดวิเคราะห์ปฏิบัติในวงกว้างเท่าที่ควรนัก คงเป็นเพราะเสียงส่วนมากของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรับน้องยังคงเลือกที่จะ “เห็นด้วย” กับการว้ากอยู่ และยังไม่ทันได้ฉุกคิดถึงข้อเสียที่มีมากมายในการว้ากนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสังคมในวงกว้าง โดยเป็นการสนับสนุนความรุนแรง ระบบอุปถัมภ์ เผด็จการ แบ่งชนชั้นที่ล้วนแต่เป็นต้นเหตุของความไม่ยุติธรรม ซึ่งเรียกโดยรวมว่า “อำนาจนิยม” ผลก็คือประเทศไทยของเรายังไม่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเสียทีไงล่ะครับ

สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะเปิดใจและคิดถึงปัญหาในการรับน้องที่ควรนำไปปฏิบัติเพื่อปฏิรูปการรับน้องให้ดีขึ้นเป็นลำดับไป ผมเชื่อว่าท่านทั้งหลายมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเคารพสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าท่านมีสิ่งเหล่านี้ ท่านย่อมเห็นว่าการรับน้องของเรานั้นมีปัญหาที่ต้องแก้ไขกันจริงๆ ขอให้ท่านทั้งหลายที่นำแนวคิดปฏิรูปการรับน้องไปปฏิบัติประสบความสำเร็จ และให้ความสำเร็จนี้ขยายจนครบทุกหนทุกแห่งในประเทศไทย เพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติ เพื่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง เพื่อวัฒนธรรมใหม่ที่ดีงามของชาติไทยในฐานะ “สยามเมืองยิ้ม” กลับคืนมา ขอสันติจงมีแก่ทุกท่าน...

คนเก๋าแห่งแผ่นดิน

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ปฏิรูประบบรับน้อง สร้างSOTUSใหม่ ชาติไทยจงเจริญ)

บทที่ 6

ปฏิรูประบบรับน้อง สร้าง SOTUS ใหม่ ชาติไทยจงเจริญ

หลังจากที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของการรับน้องในระบบ SOTUS แล้ว ท่านผู้อ่านก็คงได้รับข้อคิดกันไปพอสมควร ซึ่งเนื้อหานั้นมีทั้งวิพากษ์วิจารณ์เบาบ้าง รุนแรงบ้างเป็นลำดับไป ที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงก็ด้วยความปรารถนาดีไม่ได้โกรธแค้นอะไรเพราะอยากให้พวกเราได้หันมาฉุกคิดกันถึงปัญหาการรับน้องที่มีอยู่มากมายในสังคมนี้แต่ถูกมองข้ามละเลยกันมานาน กลายเป็นค่านิยมในการรับน้องรุนแรงซึ่งเป็นภัยเงียบที่เราทั้งหลายไม่ค่อยได้คิดกัน เห็นดีเห็นงามตามกันไป

ขอเรียนให้ทราบว่าทั้งหมดที่วิพากษ์วิจารณ์กันมานี้ ไม่ใช่ว่าตัวผู้เขียนมีอคติ เกลียดระบบรับน้องประชุมเชียร์ SOTUS จนอยากจะปฏิวัติล้มเลิกมันไปเสียเลย แต่ที่วิพากษ์วิจารณ์นี้เพราะเห็นว่ามันสมควรที่จะต้องปฏิรูปกันเสียที ในเมื่อ SOTUS ทุกวันนี้ไม่สามารถสร้างอุดมการณ์ให้ตรงกับคำว่า SOTUS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไม่เกิดการยอมรับโดยผู้คนจำนวนมากในสังคมประชาธิปไตยมากขึ้น เมื่อไม่เกิดการยอมรับในการนำไปปฏิบัติย่อมไม่เกิดผลอะไร ผู้ปฏิบัติการว้ากทั้งหลายไม่สามารถทำให้ SOTUS เป็นที่ยอมรับได้จึงไม่เกิดประสิทธิภาพที่ดีพอ เพราะไม่รู้จักการปฏิรูปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เข้ากับยุคสมัยทั้งๆที่มันพ้นยุคไพร่ – ทาสไปนานแล้ว ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่าประเทศไหนในโลกนี้ที่ยังคงรับน้องด้วยการว้ากเลยเสียด้วยซ้ำ แม้แต่ต้นกำเนิดของการว้ากก็มาจากส่วนที่ล้าหลังที่สุดของสหรัฐอเมริกาเลย ซึ่งคาดว่าในยุคนี้คงยกเลิกไปหมดแล้วเพราะประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยในระดับดีเป็นต้นๆของโลกเสียด้วย

ผมเข้าใจว่าวัฒนธรรมไทยนั้นมีความดีงามมากมายที่เราเป็นเมืองพุทธ มีศีลธรรมมีประเพณีมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการยิ้มไหว้ทักทายกัน เป็นมิตรไมตรีต่อกัน ในฐานะที่ทุกคนเป็นคนไทยด้วยกัน เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นเพื่อน เป็นญาติพี่น้องกัน การรับน้องนั้นเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ไม่มีสูตรวิธีการกำหนดตายตัว แต่จุดประสงค์หลักคือการผูกมิตร ทำความรู้จักเข้าใจกันระหว่างพี่น้องผองเพื่อน SOTUS นั้นก็มีความหมายที่ดีอยู่ เป็นเงื่อนไขทางอุดมการณ์ที่เราควรสร้างให้เกิดขึ้นจริง มิใช่อ้างไว้สวยหรูเท่านั้น แต่ทุกสิ่งนี้มันถูกทำลายด้วยน้ำมือของใครเล่า ถ้าไม่ใช่น้ำมือของคนผู้นิยมว้าก ที่ใช้การว้ากและความรุนแรงทำลายสิ่งเหล่านี้เสียสิ้นมาตลอดโดยไม่รู้ตัว

ผมไม่ขอเป็นคนที่ดีแต่พูด ดีแต่วิพากษ์วิจารณ์แย้งโดยไม่เสนอวิธีการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ดังนั้นผมจะขอเสนอแนวทางการปฏิรูประบบรับน้องไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรับน้องทุกท่านได้คิดวิเคราะห์ นำไปเผยแพร่และปฏิบัติ(ตัวผมก็จะปฏิบัติด้วยเช่นกันเพื่อเป็นตัวอย่างเมื่อมีโอกาสได้ทำ) ด้วยความรักชาติ ด้วยหัวใจที่ดีงาม ต้องการนำพาประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในประเทศของเราอย่างแท้จริงครับ

“แนวทางปฏิรูประบบรับน้อง สร้าง SOTUS ใหม่”

1.ยกเลิกระบบรับน้องด้วยการว้ากและใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบอย่างเบ็ดเสร็จ เพราะสังคมที่เสื่อมถอย รุนแรง ไม่มีความเป็นปัญญาชนที่แท้จริงได้นำพาให้ประเทศของเราประสบปัญหามากมายเพราะความรุนแรงในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีความรุนแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การกดดันรุ่นน้องทุกรูปแบบนั้นก็เป็นความรุนแรงทางจิตใจอย่างหนึ่ง เช่นการว้ากซึ่งเป็นความรุนแรงทางจิตใจที่อยู่ในระบบรับน้องมานาน รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศให้ตึงเครียด การกำหนดโควตาให้รุ่นน้องมาเข้าประชุมเชียร์เท่านั้นเท่านี้ การทรมานต่างๆ กลายเป็นค่านิยมที่ส่งผลกระทบด้านความรุนแรง ส่งเสริมระบบอำนาจนิยมที่เป็นต้นกำเนิดของความเลวร้ายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นยึดมั่นตัวตนเป็นใหญ่

2.นำศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม เข้าสู่ระบบรับน้องและใช้ในการประชุมเชียร์ การประชุมเชียร์จะต้องมีการปฏิบัติธรรม ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ การพูดในการประชุมเชียร์ต้องเน้นธรรมะส่งเสริมความดีงาม ให้เกิดความจรรโลงใจ สงบและสันติสุขแก่ทุกคนในที่ประชุมเชียร์ การรับน้องต้องมีการบำเพ็ญประโยชน์สร้างบุญกุศล เช่นการทำความสะอาดมหาวิทยาลัย

3.ปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติให้เกิดขึ้นในระบบรับน้องและใช้ในการประชุมเชียร์ การประชุมเชียร์จะต้องมีรุ่นพี่ที่ได้รับการยอมรับในการเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม มีความรักชาติ ทำการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติให้เกิดขึ้นแก่ทุกคน ด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความรักชาติ เช่นการพูดส่งเสริมการทำความดีอุทิศตนให้แก่สังคมและประเทศชาติ เล่าประวัติศาสตร์ ตอบปัญหาประวัติศาสตร์ ให้ชมวีดีทัศน์ที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความรักชาติ

4.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระบบรับน้องและการประชุมเชียร์ กิจกรรมในการรับน้องประชุมเชียร์ต้องก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออก เช่นการรวมกลุ่มเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาสังคม แล้วออกมาบรรยายโดยสมาชิกทั้งกลุ่ม

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือ แนวทางที่ควรนำไปปฏิบัติในการปฏิรูประบบรับน้องประชุมเชียร์ ถ้าถามว่าแล้วมันจะก่อให้เกิด SOTUS ที่แท้จริงได้อย่างไร? เกิดครับ เพราะ 4 ข้อที่ได้กล่าวมานั้นเป็นการรับน้องโดยสันติวิธี สร้างความสนุกสนานและการยอมรับให้เกิดขึ้น เมื่อมีการยอมรับเกิดขึ้น การเคารพต่อผู้ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิสูงกว่า(Seniority) ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการนำศีลธรรมเข้ามาในการรับน้องประชุมเชียร์ คำสั่งที่ดีก็ย่อมเกิด เมื่อเกิดแล้วก็มีการปฏิบัติ(Order) ธรรมเนียมประเพณี(Tradition) ที่ดีงามของสังคมไทยก็ได้รับการปฏิบัติไปด้วย นั่นคือการผูกมิตร ยิ้มไหว้ทักทายกันอย่างสันติ ไม่ต้องสร้างบรรยากาศตึงเครียดเหมือนโกรธแค้นกันมาแต่ชาติปางก่อนอีกต่อไป ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(Unity) และความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง(Spirit) นั้น เกิดจากการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ เมื่อทุกคนมีความรักชาติ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนตรงกัน มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกันให้สำเร็จก็จะเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยอัตโนมัติ การส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นทุกคนในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันก็จะเกิดความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า การปฏิรูปนั้นจะได้ SOTUS ครบทุกประการ โดยที่ไม่ต้องว้ากหรือใช้ความรุนแรงใดๆทั้งสิ้น คนเราถ้าทำอะไรด้วยใจรัก ยอมรับที่จะทำสิ่งนั้นๆมันย่อมที่จะทำได้ประสิทธิภาพมากกว่าอยู่แล้วมิใช่หรือ? ถ้าคุณกล้าเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า กับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตวัยรุ่นแล้ว คุณเปลี่ยนมันได้สำเร็จแล้ว คุณก็ย่อมมีพลังที่จะไปเปลี่ยนอนาคตของคุณ เปลี่ยนสังคมและประเทศชาติให้ดีกว่านี้ได้ ชาติไทยจงเจริญแน่นอนครับ

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ข้ออ้างของผู้นิยมว้ากกับความเป็นจริง)

ข้ออ้างของผู้นิยมว้ากกับความเป็นจริง

บรรดาบุคคลที่เรียกว่า พี่ว้าก รวมไปถึงบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่ เพื่อน รุ่นน้อง ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นผู้เชื่อถือและยึดมั่นในระบบรับน้องโดยการว้าก ซึ่งผมคิดว่ามีอยู่มากมายในประเทศนี้มีข้ออ้างที่สวยหรูตามความหมายของคำว่า SOTUS และข้ออ้างอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้ระบบนี้ดูดีและยังดำรงอยู่ในสังคมต่อไปได้ เป็นภัยสีขาวที่แพร่ระบาดไปทั่ว แพร่ระบาดรุ่นต่อรุ่นจนยากที่จะรักษาให้ดีขึ้นได้ ถ้าเราลองใช้สติคิดใคร่ครวญกันดูสักครั้งถึงวาทกรรมในระบบว้ากกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้นมันแตกต่างกันเช่นใด อยากให้ทุกท่านลองอ่านบทความด้านล่างอาจจะเข้าใจได้มากขึ้นครับ

อีกมุมมองของการรับน้อง จาก Thaioctober

สวัสดีสหายผู้พี่ วันนี้สหายผู้น้องมีแง่มุมใหม่ๆของกิจกรรมรับน้อง จากมุมมองของน้องๆมาให้สหายผู้พี่ผู้น้องทั้งหลายมาอ่านกัน แล้วช่วยวิพากษ์ด้วย จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ดีกว่า ที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
อีกมุมมองของการรับน้อง
ต่อไปนี้คือบทสนทนาที่มุมมองของพี่ และมุมมองของน้อง ว่าด้วยการรับน้อง...

พี่ : รุ่นพี่จัดการรับน้องโดยมีวัตถุประสงค์ให้น้องรักกัน สามัคคีกัน ทำให้รู้จักกันภายในเวลาสั้นๆ ไม่มีวิธีไหนจะให้ได้ผลอีกแล้วนอกจากการว้าก บังคับลงโทษ (ซ่อม) กดดันต่างๆนานา
น้อง : ทำไมต้องรีบทำให้รู้จักกันขนาดนั้นด้วยล่ะ มีเวลาอีกตั้ง 4 ปี ที่จะเรียนรู้นิสัยใจคอของเพื่อน และนิสัยของพี่ๆทั้งหลาย แล้วก็มีหลักประกันอะไรหรือว่ารักกันได้ภายในเวลาเดือนเดียว แล้วจะรักกันไปตลอด มีอยู่ถมไปไม่ใช่หรือที่ทะเลาะกัน

พี่ : ถ้าไม่กดดัน ไม่ว้าก คิดหรือว่าน้องจะสามัคคีกัน นี่ถ้าไม่มีว้ากนะ น้องคงไม่มาหรอก
น้อง : ถ้าเป็นอย่างนี้ก็น่าสงสารแฟนพี่มาก หากพี่กับแฟนจะรักกัน พี่ไม่ต้องบังคับข่มขืนเขา ว้ากเขา ให้เขารักพี่หรือ นี่ถ้าพี่อยากจะรักใคร รู้จักกับใคร พี่ก็ไม่ต้องเที่ยวไปข่มขืนเขาไปทั่วหรือเนี่ย
อยากบอกพี่เหลือเกินว่า คนเราจะรักกันมันต้องจริงใจต่อกันอย่างถึงที่สุด รู้จักการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ลองนึกถึงคนที่พี่รักสิ พี่รักเขาเพราะเขาจริงใจต่อพี่ใช่ไหม อย่างเช่นพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนพี่ ครูอาจารย์ แฟนพี่
คนเหล่านั้นเขารักพี่ด้วยการว้ากหรือเปล่า พี่ถูกพ่อแม่ซ่อม ตัดเกรด เพราะพี่ตื่นสาย เคยมีบ้างไหมที่พี่ต้องแต่งตัวเป็นซุปเปอร์แมน แล้วเที่ยวตะโกนว่ารักแฟนสุดจิตใจ เพื่อให้แฟนพี่ยอมรับ
นั่นสิ ใครต่อใครก็ไม่ได้ไปบังคับพี่แบบนั้น แล้วพวกผมเป็นใคร คนเพิ่งเคยรู้จักกันแท้ พวกผมไปทำให้พวกพี่เจ็บช้ำน้ำใจมาแต่ชาติปางไหน จึงถูกพี่ว้าก ซ่อม ทารุณต่างๆนานา กลิ้งขี้โคลน เป็นอาทิ
หรือเพราะชาติก่อนพวกผมทำให้พี่เจ็บช้ำน้ำใจ ชาตินี้เวรกรรมจึงสนองพวกผม ก็แล้วทำไมพี่ถึงไม่อโหสิให้พวกผมล่ะ ก็ไหนพี่ว่าพี่รักน้องสุดชีวิตไม่ใช่หรือ

พี่ : การว้าก การซ่อม มันทำให้น้องรู้จักอดทนนะ แค่นี้ทนไม่ได้ แล้วน้องจะไปทนรับกับสภาพบีบคั้นในสังคม ในที่ทำงานได้อย่างไร
น้อง : ก็อยากบอกว่า ความอดทนของมนุษย์คือการอดทนต่อความยากลำบาก ต่อสิ่งล่อลวง ฟุ้งเฟ้อ ยั่วยุกามารมณ์ที่มีอยู่ในสังคม นี่เราต้องอดทน ไม่ใช่โดดเข้าใส่ อย่างที่พวกพี่เป็นกันในเพลงแมงมุม เมียงู และอะไรต่อมิอะไรที่พวกพี่บังคับให้พวกเราทำกัน ทำไมไม่เอาไปทำกับแฟนพี่ ภรรยาพี่
แต่ถ้าเป็นถ้าสิ่งนั้นเป็นความอยุติธรรม ไม่เท่าเทียมกัน การกดขี่ เอารัดเอาเปรียบกันในสังคม อย่างที่เกิดในการรับน้อง เกิดในที่ทำงาน ในวงราชการและเอกชน น้องคิดว่าเราจะมาอดทนไม่ได้หรอก แต่เราต้องต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมเหล่านั้นถึงจะถูกต้อง
สมมติเราสองคนเป็นข้าราชการ ถ้าน้องรู้ว่าพี่โกง เพราะน้องรักพี่ น้องจึงจะขอให้พี่เลิกโกง ไม่ใช่รู้เห็นเป็นใจกับพี่ ช่วยกันกลบเกลื่อนกับพี่ แบบนี้ก็กับเรากำลังเอาความรักมาใช้ในทางที่ผิด เรารักพวกพ้องแต่เราไม่ได้รักชาติ รักประชาชน หรือพี่ต้องการอย่างหลัง เพราะพี่ไม่ต้องการให้น้องลบหลู่ ไม่ต้องการให้น้องทรยศต่อสีเดียวกัน

พี่ : การรับน้อง มันทำให้น้องเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็จะได้รู้จักกัน ไม่มีชนชั้น คิดหรือว่าถ้าไม่มีรับน้อง น้องจะไปกล้าทักเพื่อนที่มันรวยๆ
น้อง : ทำไมจะไม่มีชนชั้น แล้วพวกที่ตะคอกใส่หน้าน้อง สั่งน้องซ้ายหันขวาหัน เขาไม่เรียกว่าชนชั้นปกครอง แถมยังพ่วงตำแหน่งทรราชอีก หรือครับ

พี่ : การรับน้อง มันทำให้น้องมีงานทำ มีเส้นสาย มีอุปถัมภ์ ลองถ้าไม่มีรับน้อง รุ่นพี่ที่ไหนเขาจะรับเข้าทำงาน
น้อง : ก็ไม่ใช่เพราะไอ้อุปถัมภ์นี้หรอกหรือ ที่เวลามีใครโกงในวงราชการ ก็มีพี่มีน้องมาช่วยกันกลบ ไม่ให้ใครรู้ ไม่ใช่เพราะอุปถัมภ์หรือระบบราชการยังเป็นอยู่เช่นนี้ บ้านเมืองยังเป็นเช่นนี้ คนได้ดิบได้ดีเพราะรับใช้นาย ไม่ได้รับใช้ประชาชน มันดีเสียที่ไหน

พี่ : การว้าก การซ่อม มันสอนให้น้องมีระเบียบวินัยนะ แล้วพี่ก็ไม่ได้ไปทำร้ายอะไรน้องด้วย แค่ตะโกนใส่หน้า บังคับให้น้องซ่อม โดยที่พี่ไม่ได้ไปถูกตัวน้องเลย
น้อง : แต่ต้องไม่ลืมนะพี่ ว่าระเบียบวินัยที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการจำนนต่อสภาพบังคับ แบบนี้ก็เท่ากับความมีระเบียบวินัยไม่มีความยั่งยืน จะเกิดก็เพราะการบังคับถ้าไม่มีการบังคับก็ไม่เกิดวินัย แล้วมันจะมีประโยชน์อันใด น้องคิดว่าพี่กำลังมาผิดทาง พี่จำคำขวัญของสถาบันเราได้ไหม “อัตตานัง ทะมะยันติ ปัณฑิตา” บัณฑิตย่อมฝึกตน น้องคิดว่าเราควรรู้จักควบคุมตนเอง ฝึกหัดตนเอง มันจะทำให้เรามีระเบียบวินัยมากกว่าการให้คนอื่นมาฝึก คนเรามีความสามารถอยู่อย่างหนึ่งคือการระลึกได้เอง ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น
แล้วน้องก็เห็นว่า 1ปีหรือ 3ปี ที่ผ่านการรับน้องของพี่ ก็ไม่ได้ทำให้พี่มีวินัยกันเลย แต่งตัวตามสบาย เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะมาเรียน ขณะที่น้องต้องผูกไท ทั้งที่ไทก็ไม่ใช่ระเบียบของทางมหาวิทยาลัย หรือถ้ามันใช่ทำไมพี่ไม่ผูก หรือว่าพวกผมต้องทำ หาไม่แล้วจะผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ส่วนพวกพี่ มหาวิทยาลัยเขาใช้ระเบียบอีกฉบับกับพี่ นี่ก็เท่ากับไม่พี่ ก็มหาวิทยาลัยดับเบิ้ลแสตนดาดนะ
แล้วพี่รู้ไหม การว้ากการซ่อม หรือการกระทำที่พี่นิยามว่าเป็นการฝึกต่างๆ ที่ทหารเขาทำได้ เพราะเขามีระเบียบของทหาร แล้วคนที่จะเป็นผู้ฝึก ต้องผ่านการอบรมการฝึกทางทหารมา ต้องรู้สรีระมนุษย์ จิตวิทยา แล้วพี่ของผม ไปทันติดยศจ่าเมื่อไหร่ แล้วผมไปทันเป็นทหารเกณฑ์เมื่อไหร่ ผมรู้สึกว่าผมมารายงานตัวที่มหาวิทยาลัยนะ ไม่ได้มาตามหมายเรียก เอ หรือที่ส่งมาที่บ้านเป็นหมายเรียกของทหาร แย่ละเห็นทีน้องต้องไปตรวจสอบก่อน

พี่ครับ การฝึกทหารเขามีกฎหมายรองรับนะครับ ส่วนการรับน้องเขามีกฎหมายรองรับตั้งแต่เมื่อไหร่หรือครับ มี พรบ.การว้ากน้องและซ่อมน้อง พ.ศ. ...ด้วยหรือครับ เท่าที่รู้นะครับกฎหมายที่ออกๆมานะครับ เขาคุ้มครองสิทธิของพวกผมที่ถูกละเมิดทั้งนั้นเลยนะครับ พวกพี่กำลังทำผิดกฎหมายดังนี้ครับ


1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรงหากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้
มาตรา 29 การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย โดยอนุโลม
มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
มาตรา 38 การเกณฑ์แรงงานจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
(มาตรา 38 ใช้เมื่อพี่จะเกณฑ์พวกผมไปขึ้นแสตนด์เชียร์นะครับ)

2.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309
องค์ประกอบภายนอก
1.ข่มขืนใจผู้อื่น
กระทำการใดๆ เช่น ให้ร้องเพลง ให้ซ่อม
ไม่กระทำการใดๆ
ยอมจำนนต่อสิ่งใด
2.หรือวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ฯลฯ
โดยใช้กำลังประทุร้าย
3.จนผู้ถูกข่มขืนต้อง
กระทำการนั้น เช่น ร้องเพลง ยอมถูกซ่อม
ไม่กระทำการนั้น
จำนนต่อสิ่งนั้น
องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา
เหตุเพิ่มโทษหนัก คือ (1)โดยมีอาวุธ (2)โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน 5 คน ขึ้นไป

แล้วในเรื่องการบังคับให้คนอื่นทำสิ่งใดนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสเอาไว้ในเรื่อง “ตถตา” หมายถึงมนุษย์ย่อมเป็นตัวของตัวเขาเองอย่างนั้น อย่าพยายามไปตั้งความหวัง หรือเปลี่ยนแปลงให้เขาเป็นอย่างที่ใจเราหวัง เพราะเมื่อเขาทำไม่ได้อย่างที่ใจเราหวังจิตใจเราย่อมขุ่นมัว มนุษย์ทุกคนย่อมดำเนินรอยตามกรรมของแต่ละคน เห็นไหมละครับพระพุทธเจ้าท่านยังตรัสเอาไว้เช่นนั้น แล้วมีหรือที่พี่จะไม่ฟังคำพระใช่ไหมครับ

พี่ : การรับน้องมันเป็นประเพณีนะ เป็นสิ่งที่ดี เพราะไม่อย่างนั้นแล้วมันคงไม่มีมาจนถึงทุกวันนี้
น้อง : หรือครับ แสดงว่าโจรผู้ร้าย คุณโสเภณี ยาเสพย์ติดเป็นสิ่งที่ดีสิครับ เพราะมันมีมานานกว่าการรับน้องเสียอีก

พี่ : แล้วถ้าไม่มีการรับน้อง คิดหรือว่าพี่น้องจะรักกัน
น้อง : ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีการรับน้อง กิจกรรมยังคงจะมีอยู่ แต่เราจะต้องเปลี่ยนรูปแบบ ให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ส่วนน้องจะไม่รักกัน ไม่รักพี่ ไม่มีสัมมาคารวะ เป็นเรื่องของการอบรมในวัยเด็ก ก่อนจะมาเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วละครับ แก้กันในเวลาเดือนสองเดือนไม่ได้หรอก แล้วการที่น้องเลือกจะรักใครไม่รักใคร เขาพิจารณาได้ครับ ใครดีเขาก็ต้องรักต้องคบเป็นธรรมดา ใครทำอะไรไม่ดีกับเขาไว้ เขาจะกล้าไปรักหรือครับ

(1)เราอาจจะเรียกนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งว่าเพื่อนใหม่ หรือจะเรียกน้องใหม่ก็ตามแต่ดุลยพินิจของพี่น้องที่จะเรียกความสัมพันธ์ที่ เกิดขึ้น
(2)ไม่จำเป็นที่เราจะต้องว้าก เพื่อให้น้องร้องเพลงเชียร์ แต่น่าจะเป็นกิจกรรมการสอนน้องร้องเพลงมากกว่า
และแทนที่เราจะนันทนาการด้วยเพลงลามกๆ เราน่าจะนันทนาการด้วยเพลงที่ทำให้เราได้ระลึกถึงความลำบากของผู้คนในสังคม
(3)เราควรมีทัศนคติเกี่ยวการรักสถาบันที่ว่า เราจะรักสถาบันก็ต่อเมื่อสถาบันได้ทำสิ่งดีๆ ให้กับสังคมส่วนรวม และถ้าทุกสถาบันทำเพื่อสังคมส่วนรวม เราก็จะรักทุกสถาบัน เราจะไม่แบ่งแยกกันในแต่ละสถาบัน เพราะแต่ละที่ก็ล้วนจะผลิตคน สร้างคน ทำกิจกรรมเพื่อสังคมเหมือนกัน ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะมาตั้งแง่รังเกียจกับผู้ที่จะทำอะไรเพื่อสังคม เหมือนกัน
(4)เราพี่น้องน่าจะบายศรีสู่ขวัญ มากกว่า(ระ)บายสีป้ายหน้ากัน
เราน่าจะไปบำเพ็ญประโยชน์ภายในคณะของเรา คณะอื่น ภายในสถาบันเรา ภายนอกสถาบัน พากันไปออกค่าย ช่วยชาวนาปลูกข้าว ซ่อมฝาย ขุดคลองไปสัมผัสชีวิตยากลำบากของชาวนา ไปสัมผัสชีวิตกรรมาชีพในเมือง และนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งน่าจะดีกว่าการจมปลักว้ากกันซ่อมกันในคณะ หรือการพาน้องไปรับน้องนอกสถานที่กันตามป่าเขา ชายทะเล
เราน่าจะพากันไปเลี้ยงน้องสถานเด็กกำพร้า บ้านพักคนชรา บ้านพักฉุกเฉิน สถานพินิจ เรือนจำ ไปทำบุญที่วัดฟังธรรมเพื่อจะได้นำหลักธรรมมาพัฒนาชีวิตร่วมกัน มากกว่าที่เราจะจัดงานเลี้ยงรับน้องใหม่ที่ฟุ้งเฟ้อใหญ่โต ซึ่งมีแต่จะพอกพูนกิเลส
(5)และทุกกิจกรรมไม่ควรบังคับกัน น้องมีสิทธิเลือกที่จะทำ ถ้าเขาเห็นว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์
ที่สำคัญที่สุด พี่น้องร่วมสถาบันทั้งหลาย น่าจะมาพูดคุยกันในเรื่องนี้ให้มากๆนะครับ เพื่อวันพรุ่งนี้ของสังคมที่ดีกว่านะครับ สังคมกำลังต้องการการแก้ไขในอีกหลายๆด้าน เรานักศึกษาไม่ว่าจะสถาบันใด ก็ล้วนเป็นความหวังเป็นที่พึ่งของประชาชน แล้วพวกเราจะทรยศต่อประชาชนผู้เสียภาษีให้เรามาเรียนกันได้ลงคอเลยหรือ


(ขออุทิศแก่พี่น้องที่เสียชีวิต ในระหว่างกิจกรรมรับน้องนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขอจงไปสู่สุขคติสัมปรายภพ มีปัญญาและธรรมเป็นอาวุธ หวังว่าจะไม่มีใครต้องมาสังเวยการรับน้องอีก ขออุทิศแก่พี่น้องทุกชั้นปี ทุกสถาบัน และประชาชนทั้งหลาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตขอจงมีศีล สมาธิและปัญญาเป็นทางนำของชีวิตเทอญ)

FAQ เกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยๆในการต้าน SOTUS/รับน้องโหด

Q: รับน้องเป็นประเพณี มีสืบต่อมานาน

A: สืบต่อมานาน แล้วจำเป็นต้องมีต่อไปในอนาคตหรือ?? ขนาดล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ยังทรงยกเลิกประเพณีหมอบคลาน หรือถอดเสื้อเข้าเฝ้าเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยเลย?? จำเป็นด้วยหรือว่ารุ่นต่อไปต้องมี? ระนาบของอดีต กับ อนาคต เป็นคนระนาบกัน เป็นคนละแนวกัน คุณเอาความคิด 1980กับ 2008 มาเทียบกันมันไม่ได้

Q: ผมผ่านระบบนี้มา ได้แต่สิ่งดีๆมาเยอะ

A: "คุณ" เจอสิ่งดีๆมา แต่"คนอื่น" เขา ซวย ดังนั้นเขาเจอไม่เหมือนคุณและวิธีที่จะได้รับ "สิ่งดีๆ" ที่คุณว่า วิธีการหรือเครื่องมือ มันมีมากกว่านี้เยอะแต่คุณกลับจะเลือกให้น้องใช้ จอบเสียม แทนรถแทรกเตอร์ จะเรียกฉลาดหรือโง่ดีล่ะ?

Q: ไม่มีใจเลยเหรอ แค่นี้เอง อดทนไม่เพียงพอใช่มั้ย

A: ใจ? ทำไมไม่เอาใจพี่มาใส่ใจน้องบ้างล่ะครับ? พี่เคยทำงานแล้วหรือครับ? บอกว่าสิ่งน้องจะเจอในการทำงานหนักกว่านี้?? งั้นเอาเวลามาสอนน้องทำงานดีกว่ามั้ยครับ? ประเทืองปัญญากว่าเยอะ ร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน บางทียังสนิทมากกว่าอีกนะ?

Q: SOTUS เป็นสิ่งดีเพราะมีมายาวนาน

A: ลัทธิภูติผีปีศาจ โจรร้าย อาชญากรรม ก็มีมานาน นายกโกงกิน ก็มีมานาน แสดงว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีงามด้วย??

Q: รุ่นน้องต้องฟังรุ่นพี่

A: อายุก็แค่ตัวบอกว่า คุณอยู่ในโลกนี้มานานแค่ไหน ไม่ได้แปลว่าใครจะ "ฉลาดกว่าใครแค่ไหน" ถ้าสมมติวันหนึ่งแม่บอกว่าใช้โทรศัพท์บ้านดีกว่า ไม่ต้องใช้มือถือเพราะถูกกว่า แต่ลืมเรื่องความสะดวกและฉุกเฉินไปจะทำไง?? แบบนั้น บิลเกตส์ ต้องเชื่อฟัง IBM คอมพิวเตอร์ใหม่ๆไม่ต้องเกิด??

Q: คนไม่เข้าคือคนนอกคอก เป็นแกะดำ เป็นหมาหัวเน่า

A: คอกเป็นที่ให้วัวควายอยู่ อยู่นอกคอกก็ดีแล้ว ไม่ต้องทำอะไรเดิมๆซ้ำๆกับชาวบ้าน แกะดำในประเทศนิวซีแลนด์ ทำให้ฝูงแกะรอดตายเพราะถ้าหลงในหิมะ ก็จะเห็นแกะดำโด่อยู่ตัวเดียวได้ แต่คุณกลับด่าคนที่แตกต่างว่าหมาหัวเน่า? มันส่อให้เห็นความคิดเชิงอำนาจนิยมนะครับ?? ถ้า ไอนสไตน์ หรือ เอดิสัน มาเกิดเมืองไทยคงไม่ดัง เพราะชอบกดให้อยู่แต่ในคอก

Q: คนไม่เข้าเชียร์คือพวกแอนตี้สังคม ไม่คบเพื่อน

A: คุณเอาบรรทัดฐานอะไรมาวัดว่าคนที่เอาด้วยกับระบบนี้ "แอนตี้สังคม"?? ถ้ากลุ่มคนที่ไม่เอาด้วยออกไปด้วยกัน แค่นั้นเขาก็มีเพื่อนแล้ว? ทำไมคนที่จบ ป.4 ไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยยังมีเพื่อนได้ แถมรวยกว่าลูกจ้างที่จบในระบบมหาวิทยาลัย และมีรายได้คืนสู่สังคมมหาศาล มีเวลาไปเล่นกอล์ฟกับเพื่อน ทั้งที่ธุรกิจ 10 อย่าง ในขณะที่พวกเข้าระบบไม่มีเวลาแม้แต่จะทำอะไรเพิ่มให้ชีวิต และสวมหน้ากากหลังจบทำงานไป???? เพราะฉะนั้นของมันอยู่ที่ความคิดทั้งสิ้น

Q: ไม่ประชุมเชียร์ไม่มีเพื่อน ไม่มีเส้นสาย ไม่รู้จักรุ่นพี่

A: เพราะงี้ไม่ใช่เหรอ งานที่เอาแต่เพื่อนมาทำงานด้วยกัน แต่ไม่ได้ร่วมกับคนมีความสามารถมันถึงล่มไม่เป็นท่า ? เพื่อนผมบางคนเปิดบริษัทเอง เพื่อนใหม่หาได้จากการไปเรียนกราฟฟิกด้วยกัน ความคิดเหมือนๆกัน ไม่จำเป็นต้องเข้าระบบอะไรเลยก็หาเองได้ ถ้าจะหา

Q: ถ้าโดนเจ้านายด่าจะทำยังไง รับแรงกดดันนี้ไม่ได้

A: เจ้านายด่า แต่ทนได้เพราะ 'ปากท้อง' ครับ แต่นี่แค่ "รุ่น" "เกียร์" "ตุ้งติ้ง" วัตถุที่หาซื้อได้ตามร้าน ของเหล่านี้ไม่มีตัวตนทั้งนั้น ทนไม่ได้ก็ไม่แปลกครับ คุณเอาตรรกะนี้มาใช้ใน Context หรือบริบทที่แตกต่างกันเสียแล้ว

Q: รับๆไปเถอะ เดือนเดียวเดี๋ยว เทอมเดียวก็หมดแล้ว

A: มันเหมือนกับเป็นการไม่รู้จะเถียงอะไร ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรในโลกนี้ เหมือนคำว่า "ทำงาน ทำๆไปเถอะ เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง" มันเหมือนการขอไปที ขาดความรับผิดชอบมาก งั้นผมก็อ้างได้เหมือนกันว่า "งั้นกูไม่เข้าแต่แรกดีกว่าหมดตั้งแต่นาทีนี้ แล้ว!!"

Q: ทำตามรุ่นพี่ไว้ ไม่ผิด เพราะรุ่นพี่อาบน้ำร้อนมาก่อนประชุมเชียร์ก็ต้องเขาตาม

A: อนาคต หรือ อดีต คุณเอามาตัดสินไม่ได้หรอกครับ ฟังไม่ขึ้น....เหมือนกับว่าให้เชื่อๆเถอะ ไม่ต้องใช้ปัญญาคิด

Q: ไม่เคยเรียน รด. รึไงน้อง โหดกว่านี้อีก แค่นี้ทนไม่ได้

A: ที่นี่เป็น 'มหาวิทยาลัย" หรือ ศูนย์ฝึกทหาร รด. กันครับ??? แล้ว รด. นี่เค้าคัดโดยสอบข้อเขียนด้วยเหรอครับ?? ใช้ GPA จาก ม.ปลายด้วยหรือครับ แล้วเราเข้ามหาลัยมาเพื่อพัฒนา ปัญญา มากกว่าใช้ "มึงเชื่อๆไปเถอะ"????? แล้วเราจะมาเรียนทำไมครับ เมื่อยัดความคิดแบบ "เชื่อๆไปเถอะ' ฝังหัวตั้งแต่เฟรชชี่จนจบไป ไอ้เชื่อคำสั่งทุกอย่างมันใช้สำหรับทหารครับ ถ้ารบแล้วไม่ฟังคำสั่งก็ตายห่าทั้งหมดพอดี แต่นี่คือมหาวิทยาลัยครับ

Q: คนส่วนใหญ่เห็นด้วย แสดงว่าต้องเป็นสิ่งดีงาม

A: ถ้าสมมติว่ามีขี้ก้อนหนึ่ง แล้วมีหมากับแมลงวัน แล้วแมลงวันตอมขี้เยอะๆ แสดงว่าขี้เป็นสิ่งดีงามใช่ไหม??? เพราะฉะนั้น ตรรกะนี้ไม่ผ่าน แล้วไอ้การโยนบก จิตรภูมิศักดิ์ นั่นก็สิ่งดีงามใช่ไหมครับ??? กรณีนั้นมีคนจำนวนมากร่วมกันจัดการจิตร ทั้งที่เขาแค่คิดต่าง ออกแนวหัวรุนแรงเล็กน้อย

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(รุ่น คืออะไร ได้อะไร?)

บทที่ 4

รุ่น คืออะไร ได้อะไร?

“รุ่น” ในความหมายทั่วไป คือลำดับของกลุ่มที่มาก่อนนับต่อมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เช่นรุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยก็คือกลุ่มคนทุกคนที่เข้ามาศึกษาตั้งแต่มหาวิทยาลัยก่อตั้งเป็นกลุ่มแรก พอกลุ่มต่อไปก็จะนับเป็นรุ่นที่ 2,3,4 ต่อไปเรื่อยๆมาจนถึงปัจจุบัน ในมหาวิทยาลัยจะมีการนับรุ่นของแต่ละกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ไล่มาถึงกลุ่มย่อย คนๆหนึ่งจะมีทั้งรุ่นมหาวิทยาลัย รุ่นคณะ และรุ่นภาควิชา เป็นลำดับไป ความจริงคำว่ารุ่นเฉยๆนั้นไม่มีปัญหาอะไรหรอกถ้าใช้แค่นับว่ามหาวิทยาลัย คณะ และภาควิชานั้นๆก่อตั้งมากี่ปีแล้ว แต่ที่มันมีปัญหาก็เพราะว่า ความหมายของคำว่ารุ่นอีกความหมาย รวมถึงคำว่ารุ่นเองได้ถูกนำมาใช้อ้างเป็นเป้าหมายหลักในการรับน้องประชุมเชียร์นั่นเอง

รุ่น ในอีกความหมายในที่ประชุมเชียร์ คือการให้รุ่นน้องต้องพร้อมกายพร้อมใจตามเงื่อนไข SOTUS เพื่อผ่านการประชุมเชียร์ จึงจะถือว่าคุณได้รุ่นไป ทั้งๆที่คำว่ารุ่นนั้นสุดท้ายก็เป็นเพียงคำๆหนึ่งที่สมมุติขึ้นมาให้เป็นเป้าหมายหลักเท่านั้น การประชุมเชียร์นั้นสร้างสภาพของความรุนแรง ความกดดันทางจิตใจให้กับรุ่นน้อง โดยอ้างถึงการฝึกความอดทนเพื่อเอาคำว่า “รุ่น” ไป ถ้าคุณผ่านแล้วจึงจะนับคุณเป็นรุ่นน้อง (ทั้งๆที่ในความจริง ไม่ว่าคนจะผ่านการเข้าประชุมเชียร์หรือไม่นั้นก็เป็นรุ่นน้องโดยธรรมดาอยู่แล้ว) การประชุมเชียร์จึงเอาคำว่า “รุ่น” เป็นใหญ่ โดยไม่คิดจะอ้างเรื่องศีลธรรมจรรยา ความรักชาติซึ่งมีค่ามากกว่าเลยหรือ? คำว่ารุ่น ผมอยากถามตรงๆว่ามันได้อะไรที่จรรโลงจิตใจบ้าง ได้อุดมการณ์ความรักชาติหรือเปล่า? ไม่ได้ ได้ศีลธรรมจรรยาหรือเปล่า? ไม่ได้ ได้อะไรที่มันทำให้สังคมและประเทศชาติเจริญขึ้นหรือเปล่า? ก็ไม่ได้ ถ้าจะอ้างว่าได้ความอดทน ได้ความกล้าหาญ ได้ความสามัคคีนะหรือ เอ๊ะ แล้วในสังคมที่มันเน่าเฟะ แย่ลงทุกวันอย่างนี้มันไม่ฝึกความอดทนหรือไงครับ? อดทนต่อความชั่วร้ายจนชั่วครองเมืองเละไปหมดน่ะสิ ความกล้าหาญ อืม ความกล้านี้มันเป็นนิสัย เป็นสันดานส่วนบุคคลนะครับ ถ้าคนคิดจะกล้าเขาก็กล้า ถ้าคนไม่กล้าเขาก็ไม่กล้า มันก็ฝึกกันยาก บางทีเขาอาจจะกล้าขึ้นมาสักครั้งในที่ประชุมเชียร์ แต่พอปัญหาภายนอกเราก็ไม่รู้ว่าเขาจะกล้าอย่างนี้หรือเปล่า คุณดูจากเหตุการณ์ปัจจุบันนี้ก็ได้ ถ้าประชุมเชียร์ฝึกความกล้าหาญได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง ทำไมวันนี้พลังเยาวชนถึงตกต่ำอย่างมาก ความมีจิตอาสาลดลง ความสนใจในปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองลดลง สนใจยึดติดแต่วัตถุนิยม บริโภคนิยมกันมากขึ้น ไม่เห็นจะมีความกล้าหาญในการใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้บ้างเลย กรณีผู้ใหญ่บ้างก็ได้ที่เขาอาจผ่านระบบรับน้องประชุมเชียร์กันมา ยกตัวอย่างเช่นนักการเมืองยังไม่เห็นจะกล้าลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทันทีเมื่อทำผิดเลย ผู้ใหญ่หลายคนไม่เห็นจะกล้าลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในบ้านเมือง บ้านเมืองแตกแยกระหว่างความดีกับความชั่ว แต่คนส่วนมากกลับไม่กล้ายืนข้างความดี บอกเป็นกลางโดยไม่รู้ความเป็นไปก็มี หรือหนักที่สุดก็เป็นกลางในแง่ร้ายมองทุกฝ่ายชั่วไปหมดก็มี ไหนล่ะครับความกล้าหาญ?

ส่วนความสามัคคีนั้น ถึงอย่างไรคนอยู่ด้วยกันมันก็ควรต้องมีความสามัคคีกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะคนเข้าประชุมเชียร์หรือไม่เข้าก็ตาม ต้องสามัคคีกันเป็นเพื่อนกันตลอดอย่างน้อย 4 ปีในมหาวิทยาลัย คิดในมุมกลับว่าถ้าคนเข้าประชุมเชียร์กับไม่เข้าประชุมเชียร์ไม่สามัคคีกันล่ะ แบ่งแยกกัน คนเข้าบอกว่า ”เราเข้าประชุมเชียร์ทั้งเหนื่อยทั้งทรมาน แต่นายกลับโดดตลอด สบายตลอด เราอย่าคบกันเลยดีกว่า เอาเปรียบกันจริงๆ” ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า การประชุมเชียร์นั้นสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นมากกว่าสร้างความสามัคคีสิครับ

จากประสบการณ์การเข้าประชุมเชียร์ทุกครั้งของผม ที่ผมได้บอกเล่าไปแล้วว่าความรุนแรงจะเพิ่มระดับขึ้นทุกครั้ง ในก่อนครั้งสุดท้ายและครั้งสุดท้ายนั้นจะแรงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรุ่นน้องไม่สามารถทำตามคำสั่งของรุ่นพี่ได้ ก็เกิดการว้ากอย่างรุนแรงและวุ่นวายมาก ครั้งสุดท้ายก็จะมีการพยายามหาภารกิจให้รุ่นน้องทำพร้อมกันทุกคนให้ได้ ภารกิจสุดท้ายในประสบการณ์ของผมนั้นคือการร้องเพลงมหาวิทยาลัยให้พร้อมกันไปเรื่อยๆหลายสิบครั้งตามจำนวนรุ่น ก่อนครั้งสุดท้ายและครั้งสุดท้ายนั้น เพื่อนหลายคนร้องไห้และป่วย แต่จะมีพี่อีกกลุ่มคอยพาออกไปนั่งพัก ไปปฐมพยาบาล จนจบประชุมเชียร์โดยรุ่นพี่จะบูมให้ ทุกคนจะถือว่าได้คำว่า “รุ่น” ไป จากนั้นก็มีพิธีผูกข้อมือให้พรโดยรุ่นพี่ พี่ว้ากก็กลับสภาพกลายเป็นคนปกติในทันทีทันใด แน่นอนว่าพิธีปิดก็พยายามทำกันให้ซึ้งอยู่แล้วเป็นธรรมดาไม่ต้องพูดกันมาก ถึงเวลานี้ก็ลืมกันหมด แต่ก่อนหน้านี้ที่ร้องไห้กัน ที่ป่วยกันล่ะ เป็นคนเหมือนกันแท้ๆทำกันขนาดนี้เพื่อข้ออ้างในการมอบรุ่นให้ มันคุ้มหรือเปล่า? เพื่อนใคร ลูกหลานใครๆก็รัก เป็นคุณๆอยากให้คนที่คุณรักต้องทรมานอย่างนี้หรือเปล่าล่ะ แล้วรุ่นพี่ทำไมมีสิทธิอะไรต้องมาทำให้ลูกหลานคนอื่นเขาต้องทุกข์เพื่อแลกกับคำสมมุติคำเดียวที่เรียกว่า “รุ่น” กันล่ะ

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ประชุมเชียร์ ระบบอำนาจนิยม?)

บทที่ 3

ประชุมเชียร์ ระบบอำนาจนิยม?

จากสิ่งที่เรียกว่า ประชุมเชียร์ เมื่อเราวิเคราะห์ให้ดีๆจะพบว่ามันเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ การแบ่งชนชั้น ระบบเผด็จการที่เข้ามาแฝงอยู่ โดยรวมนั้นคือระบบอำนาจนิยม(อำนาจเป็นใหญ่เหนือสิ่งใด)นั่นเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าสลดว่าทั้งๆที่ประเทศไทยนั้นปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค มีหน้าที่อันสมควรปฏิบัติ วีรชนในอดีตจวบจนปัจจุบันตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519 , พฤษภาประชาธรรมหรือพฤษภาทมิฬ , 7 ตุลาคม 2551 ,เมษาทมิฬ 2552 และ 2553 ได้สละเลือดเนื้อและชีวิตต่อสู้กับเผด็จการ ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอด
แต่เหตุใดเยาวชนที่ได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชนของชาติกลับกระทำตรงกันข้ามกับวีรชนเหล่านี้ ยังคงอนุรักษ์ระบบรับน้องประชุมเชียร์แบบเก่าๆ ซึ่งเป็นรากเหง้าของระบบอำนาจนิยม สวนทางกับระบอบประชาธิปไตย และเป็นการนำพาประเทศของเราให้ถอยหลังอยู่ในคลอง(ไม่น่าใช้คำว่าถอยหลังเข้าคลองในยุคนี้เสียแล้ว เพราะทุกวันนี้ประเทศของเราก็เหมือนถอยหลังจมอยู่ในคลองอยู่แล้ว มีปัญหามากมายดั่งกลียุค) จะเห็นได้ชัดว่าประเทศของเราวันนี้ไม่พัฒนาเป็นประเทศพัฒนาแล้วเสียที เพราะแม้แต่ปัญญาชนของชาติยังคงงมงายกับระบบประชุมเชียร์อำนาจนิยมเช่นนี้อยู่เลย

ถามว่าประชุมเชียร์เป็นระบบอุปถัมภ์ แบ่งชนชั้น และเผด็จการอย่างไร? ก็จะขออธิบายเป็นลำดับไป สำหรับระบบอุปถัมภ์และการแบ่งชนชั้นนั้น สิ่งที่ชัดเจนนั่นคือการแบ่งรุ่นพี่รุ่นน้องอย่างรุนแรงในระบบรับน้องประชุมเชียร์ ซึ่งมีการเน้นย้ำกันในเชิงว่า “กูเป็นพี่ มึงเป็นน้อง ไม่เหมือนกัน” ในลักษณะเช่นนี้ทุกๆคณะในมหาวิทยาลัยที่มีระบบนี้ มีที่มาจากคำว่า Seniority ซึ่งมาจากตัว S ตัวแรกในคำว่า SOTUS โดยเป็นไปในเชิงที่ค่อนข้างไม่มีเหตุผลนักตรงที่ว่ารุ่นน้องต้องเคารพผู้อาวุโสอย่างรุ่นพี่ อาจารย์ สำหรับอาจารย์คงไม่เป็นไร แต่ตรงรุ่นพี่นั้นไม่มีเหตุผลที่ว่าไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่ารุ่นพี่แบบไหนควรเคารพ บอกให้แค่เคารพเท่านั้น อาจเป็นผลให้รุ่นพี่ที่ประพฤติไม่ดีเกิดความได้ใจ เขาอาจจะคิดว่า “กูจะทำอะไร มันก็เรื่องของกู ยังไงกูก็ยังมีรุ่นน้องปีหนึ่งที่ต้องเกรงกู” โดยเฉพาะในห้องประชุมเชียร์ที่รุ่นพี่จะแสดงอำนาจบาตรใหญ่ตะโกนด่าโหวกเหวกว้ากแว้กโวยวายเหวงเหวงใส่รุ่นน้องยังไงก็ได้ หรือในกิจกรรมรับน้องที่นิยมปิดตารุ่นน้องแล้วตะโกนใส่ทำนองนั้นแหละ ถ้ารุ่นพี่บางคนค่อนข้างหนักจะยึดติดกับระบบ SOTUS นี้มาก สังเกตง่ายๆว่ารุ่นพี่เหล่านี้จะทำหน้าถมึงทึงตลอดเวลาในช่วงเดือนรับน้อง เวลาเดินผ่านรุ่นน้อง ถ้ารุ่นน้องไหว้จะไม่รับไหว้ เพราะถือว่ายังไม่ได้ “รุ่น”(จะกล่าวในบทต่อไป) ซึ่งดูประหลาดคนจริงๆ เพราะปฏิบัติสวนทางกับวัฒนธรรมไทยที่จะต้อง “ยิ้มไหว้ทักทายกัน” อย่างน้อยก็คนไทยด้วยกัน เลือดไทยเหมือนกัน แต่คนประหลาดพวกนี้คงจะไม่ยึดถือคำว่า “ไทย” เป็นใหญ่ แต่จะยึดถือคำว่า “รุ่น” เป็นใหญ่เท่านั้นในช่วงรับน้องเสียกระมัง

ถามว่าระบบรับน้องประชุมเชียร์ที่มีลักษณะของระบบอุปถัมภ์แบ่งชนชั้นนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมส่วนรวม? ส่งผลแน่นอน สังเกตได้ว่าประเทศไทยนั้นมีระบบนี้มานานจนปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในทุกชนชั้นยึดติดระบบอุปถัมภ์แบ่งชนชั้นกันถ้วนหน้า ก็วัยรุ่นจุดเปลี่ยนของชีวิตก็พบระบบอุปถัมภ์ในการรับน้องประชุมเชียร์แล้ว พอเป็นผู้ใหญ่จะไปเหลืออะไร ชนชั้นนำ(ผู้เขียนนั้นไม่ต้องการแบ่งชนชั้น แต่ชนชั้นในที่นี้เป็นการกล่าวตามหลักวิชาการ)มีเงินมีทุน ปกครองด้วยระบบทุนนิยมสามานย์ ใช้เงินในการกว้านซื้ออำนาจและบริวารเพื่อสร้างการผูกขาด ซื้อกิจการสำคัญ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ แทรกแซงสื่อ แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ซื้อเสียงจากชาวบ้านในการเลือกตั้ง ชาวบ้านได้ผลประโยชน์ส่วนหนึ่งจากประชานิยม แต่ชนชั้นนำและเหล่าบริวารได้ผลประโยชน์ไปเต็มๆจากการหลอกลวงประชาชนและการทุจริตคอร์รัปชั่นหลายแสนล้าน แล้วมันเกี่ยวกับประชุมเชียร์ยังไง? ก็ประชุมเชียร์มิใช่หรือที่สอนให้ต้องเคารพรุ่นพี่ เคารพผู้อาวุโส แต่ไม่อธิบายว่าต้องเคารพคนดีเท่านั้น ไม่เคยมีการบอกเหตุผล ไม่เคยมีการพูดถึงศีลธรรมจริยธรรมในการรับน้องประชุมเชียร์ ทั้งๆที่มันสำคัญที่สุดเพราะอยู่ในช่วงจุดเปลี่ยนของชีวิต มีแต่พูดกันเรื่อง ”รุ่น” จนเป็นที่มาของระบบใช้เส้นสายในระบบอุปถัมภ์ที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบต่อกัน สอนแต่คำว่าอดทน อดทนกับสิ่งเลวร้ายแต่ไม่สอนให้แก้ไขสิ่งเลวร้ายในชาติบ้านเมืองนี้ นิ่งเฉยอดทนไปวันๆกับความเลวร้ายในบ้านเมืองนี้จนชั่วครองเมืองไปหมด พอโตเป็นผู้ใหญ่ เอ้า สังคมไทยมีระบบอุปถัมภ์แฮะ ไปเราพี่น้องกัน พรรคพวกเดียวกันต้องช่วยกันอย่างโน้นอย่างนี้นะ ติดสินบน ใช้เส้นสายกันเข้าไว้ win win กันไป เอาเข้าไป คนโกงชาตินะหรือ? ระบบอุปถัมภ์ก็เป็นที่มาของการโกงอยู่แล้ว ไม่สนหรอกโกงไม่โกง เห็นใครมีเงินมาก มีผลประโยชน์ให้มากก็ไหว้เข้าไป เคารพไปโดยไม่ดูความดีความชั่ว ได้เงินได้ผลประโยชน์กลับไปกินดีอยู่ดีกันแล้ว ใครไม่ใช่พวกกูไม่สน ปล่อยมันไป แบ่งแยกมันไป ชาวบ้านก็ไม่ต่างกัน บอกโกงได้ไม่เป็นไรแต่ขอให้ทำงาน (ทั้งๆที่งานทำไป โกงไป มันจะมีประสิทธิภาพดีได้อย่างไร คนที่รับกรรมคือประชาชน ไม่คิดกัน) ชาวบ้านอยู่ในสภาวะที่พึ่งตนเองไม่เป็น ได้แต่เรียกร้องหาชนชั้นนำในการโกงชาติให้มาช่วยเหลือ ชาวบ้านอีกกลุ่มที่ไม่สนับสนุนคนโกงซึ่งเพียงเห็นต่างและไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เขามีสิทธิควรได้ ก็ถูกกีดกันออกไปอย่างไม่สนใจใยดีว่าพวกเขาเป็นอย่างไร ประชุมเชียร์มีปัญญาสอนได้แค่ให้อดทน อดทนจนชั่วครองเมือง จนทนกันไม่ไหวระเบิดออกมากลายเป็นกระแสสงครามประชาชน จากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เกิดความแตกแยกในชาติของเราอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งๆที่ทุกคนก็คือคนไทยด้วยกันทั้งนั้น นี่แหละคือผลพวงแห่งระบบอุปถัมภ์แบ่งชนชั้นที่สร้างปัญหาให้ชาติมากมายถึงเพียงนี้

สำหรับในแง่ของความเป็นเผด็จการก็เช่นกัน การประชุมเชียร์นั้นเป็นลักษณะของการสั่งการโดยรุ่นพี่สั่งให้รุ่นน้องทำอะไรก็ตามที่รุ่นพี่สั่งให้ทำ และมีการสร้างสภาวะกดดันทางจิตใจให้แก่รุ่นน้องอย่างชัดเจน เช่นการกำหนดจำนวนคนเข้าประชุมเชียร์ว่าในครั้งหน้าคุณต้องพาเพื่อนคุณมาให้ได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้ ทั้งๆที่มันเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยอยู่แล้ว การประชุมเชียร์คือการเข้ามาฟังรุ่นพี่บ่น มาฟังรุ่นพี่ว้าก ซึ่งก็ว้ากเรื่องจริงบ้าง เพ้อเจ้อเมกกันขึ้นมาเองบ้าง แล้วใครหน้าไหนมันจะอยากมา คนที่เข้าจะมีแนวโน้มน้อยลงเสมอ แต่รุ่นพี่จะกำหนดโควตาให้มากขึ้นสวนทางกับจำนวนที่น้อยลง คนไม่เข้าประชุมเชียร์ก็ไม่โดนลงโทษอะไรอยู่แล้ว โดดไปสบายๆ คนไม่เข้านั้นก็มีสาเหตุอยู่ไม่กี่อย่าง คือบ้านอยู่ไกล กับไม่อยากเข้า คงมีไม่กี่คนหรอกที่เขาจะมาคิดว่า “เพื่อนที่เข้าไปเป็นไงบ้างนะ เราจะเข้าไปบ้างดีไหม” ส่วนคนเข้านั้นแม้จะเป็นการเข้าเพราะอยากรู้สถานการณ์ หรือเข้าเพราะรับผิดชอบ รักเพื่อน ไม่รู้จะโดดไปทำไม (เช่นผมที่เข้าทุกครั้งจึงรู้และเอามาบอกเล่า) ก็คือคนที่จะโดนบ่น โดนว้ากแทนเพื่อนที่ไม่เข้า ดังนั้นคนที่เข้าก็เจอสภาวะกดดันทางจิตใจ เช่นการต้องคิดว่าเราจะทำยังไงให้เพื่อนมาเข้าประชุมเชียร์เยอะขึ้น ซึ่งเมื่อเราพยายามจะชวนเพื่อนเข้ามาเพื่อแสดงให้รุ่นพี่ดูว่าเราทำได้ก็ไม่สำเร็จอยู่ดี เพราะเพื่อนที่ไม่เข้าย่อมรู้อยู่แล้วว่า “เข้าไปโดนว้ากจะเข้าไปทำไม” เป็นเรื่องธรรมดาที่เราไปบังคับจิตใจคนอื่นไม่ได้ ช่วงรับน้องประชุมเชียร์ที่เรียกกันว่า “ช่วงว้าก”นี่แหละคือช่วงที่รุ่นน้องถูกกดดันมากที่สุด ผมไม่แปลกใจเลยถ้ามีคนต้องฆ่าตัวตายเพราะระบบรับน้องประชุมเชียร์ จากที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าระบบนี้ไม่มีความยุติธรรมในแง่ที่ว่า คนโดดไม่เป็นไร แต่คนเข้ากลับโดนว้าก แม้คนเข้าจะได้ประสบการณ์ชีวิตก็ตาม แต่อย่างไรคนก็ย่อมคิดในแง่คิดแรก(โดดรอด เข้าโดน)มากกว่าอยู่ดี ถ้าคนที่จิตใจมีธรรมะไม่มากพอ ก็อาจจะคิดต่อไปในแง่ที่ว่า “ทำไมทำดีไม่ได้ดี” ซึ่งความคิดแบบนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิในทางธรรม คือความคิดเห็นผิดไปจากทำนองคลองธรรมเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายทั้งปวง จึงสรุปได้ว่า ระบบรับน้องและประชุมเชียร์ในปัจจุบันเป็นระบบเก่า ระบบน้ำเน่าที่ล้าหลังและไม่พัฒนา ไม่ต่างจากการเมืองน้ำเน่าหรือละครน้ำเน่าเลย เป็นการใช้ระบบอำนาจนิยมอย่างชัดเจน จึงไม่มีความชอบธรรม เป็นรากเหง้าของความเลวร้ายก่อวิกฤตในประเทศไทยทุกวันนี้โดยไม่รู้ตัว แล้วเราจะรักษาความเก่าของระบบนี้ไว้อีกนานแค่ไหน ลูกหลานไทยต้องทรมาน ต้องตายกันอีกกี่คนเพื่อสังเวยระบบรับน้องประชุมเชียร์ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรปฏิรูประบบรับน้องประชุมเชียร์ใหม่เสียที!

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ประชุมเชียร์ ระบบอำนาจนิยม?)

บทที่ 3

ประชุมเชียร์ ระบบอำนาจนิยม?

จากสิ่งที่เรียกว่า ประชุมเชียร์ เมื่อเราวิเคราะห์ให้ดีๆจะพบว่ามันเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ การแบ่งชนชั้น ระบบเผด็จการที่เข้ามาแฝงอยู่ โดยรวมนั้นคือระบบอำนาจนิยม(อำนาจเป็นใหญ่เหนือสิ่งใด)นั่นเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าสลดว่าทั้งๆที่ประเทศไทยนั้นปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค มีหน้าที่อันสมควรปฏิบัติ วีรชนในอดีตจวบจนปัจจุบันตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519 , พฤษภาประชาธรรมหรือพฤษภาทมิฬ , 7 ตุลาคม 2551 ,เมษาทมิฬ 2552 และ 2553 ได้สละเลือดเนื้อและชีวิตต่อสู้กับเผด็จการ ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอด
แต่เหตุใดเยาวชนที่ได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชนของชาติกลับกระทำตรงกันข้ามกับวีรชนเหล่านี้ ยังคงอนุรักษ์ระบบรับน้องประชุมเชียร์แบบเก่าๆ ซึ่งเป็นรากเหง้าของระบบอำนาจนิยม สวนทางกับระบอบประชาธิปไตย และเป็นการนำพาประเทศของเราให้ถอยหลังอยู่ในคลอง(ไม่น่าใช้คำว่าถอยหลังเข้าคลองในยุคนี้เสียแล้ว เพราะทุกวันนี้ประเทศของเราก็เหมือนถอยหลังจมอยู่ในคลองอยู่แล้ว มีปัญหามากมายดั่งกลียุค) จะเห็นได้ชัดว่าประเทศของเราวันนี้ไม่พัฒนาเป็นประเทศพัฒนาแล้วเสียที เพราะแม้แต่ปัญญาชนของชาติยังคงงมงายกับระบบประชุมเชียร์อำนาจนิยมเช่นนี้อยู่เลย

ถามว่าประชุมเชียร์เป็นระบบอุปถัมภ์ แบ่งชนชั้น และเผด็จการอย่างไร? ก็จะขออธิบายเป็นลำดับไป สำหรับระบบอุปถัมภ์และการแบ่งชนชั้นนั้น สิ่งที่ชัดเจนนั่นคือการแบ่งรุ่นพี่รุ่นน้องอย่างรุนแรงในระบบรับน้องประชุมเชียร์ ซึ่งมีการเน้นย้ำกันในเชิงว่า “กูเป็นพี่ มึงเป็นน้อง ไม่เหมือนกัน” ในลักษณะเช่นนี้ทุกๆคณะในมหาวิทยาลัยที่มีระบบนี้ มีที่มาจากคำว่า Seniority ซึ่งมาจากตัว S ตัวแรกในคำว่า SOTUS โดยเป็นไปในเชิงที่ค่อนข้างไม่มีเหตุผลนักตรงที่ว่ารุ่นน้องต้องเคารพผู้อาวุโสอย่างรุ่นพี่ อาจารย์ สำหรับอาจารย์คงไม่เป็นไร แต่ตรงรุ่นพี่นั้นไม่มีเหตุผลที่ว่าไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่ารุ่นพี่แบบไหนควรเคารพ บอกให้แค่เคารพเท่านั้น อาจเป็นผลให้รุ่นพี่ที่ประพฤติไม่ดีเกิดความได้ใจ เขาอาจจะคิดว่า “กูจะทำอะไร มันก็เรื่องของกู ยังไงกูก็ยังมีรุ่นน้องปีหนึ่งที่ต้องเกรงกู” โดยเฉพาะในห้องประชุมเชียร์ที่รุ่นพี่จะแสดงอำนาจบาตรใหญ่ตะโกนด่าโหวกเหวกว้ากแว้กโวยวายเหวงเหวงใส่รุ่นน้องยังไงก็ได้ หรือในกิจกรรมรับน้องที่นิยมปิดตารุ่นน้องแล้วตะโกนใส่ทำนองนั้นแหละ ถ้ารุ่นพี่บางคนค่อนข้างหนักจะยึดติดกับระบบ SOTUS นี้มาก สังเกตง่ายๆว่ารุ่นพี่เหล่านี้จะทำหน้าถมึงทึงตลอดเวลาในช่วงเดือนรับน้อง เวลาเดินผ่านรุ่นน้อง ถ้ารุ่นน้องไหว้จะไม่รับไหว้ เพราะถือว่ายังไม่ได้ “รุ่น”(จะกล่าวในบทต่อไป) ซึ่งดูประหลาดคนจริงๆ เพราะปฏิบัติสวนทางกับวัฒนธรรมไทยที่จะต้อง “ยิ้มไหว้ทักทายกัน” อย่างน้อยก็คนไทยด้วยกัน เลือดไทยเหมือนกัน แต่คนประหลาดพวกนี้คงจะไม่ยึดถือคำว่า “ไทย” เป็นใหญ่ แต่จะยึดถือคำว่า “รุ่น” เป็นใหญ่เท่านั้นในช่วงรับน้องเสียกระมัง

ถามว่าระบบรับน้องประชุมเชียร์ที่มีลักษณะของระบบอุปถัมภ์แบ่งชนชั้นนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมส่วนรวม? ส่งผลแน่นอน สังเกตได้ว่าประเทศไทยนั้นมีระบบนี้มานานจนปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในทุกชนชั้นยึดติดระบบอุปถัมภ์แบ่งชนชั้นกันถ้วนหน้า ก็วัยรุ่นจุดเปลี่ยนของชีวิตก็พบระบบอุปถัมภ์ในการรับน้องประชุมเชียร์แล้ว พอเป็นผู้ใหญ่จะไปเหลืออะไร ชนชั้นนำ(ผู้เขียนนั้นไม่ต้องการแบ่งชนชั้น แต่ชนชั้นในที่นี้เป็นการกล่าวตามหลักวิชาการ)มีเงินมีทุน ปกครองด้วยระบบทุนนิยมสามานย์ ใช้เงินในการกว้านซื้ออำนาจและบริวารเพื่อสร้างการผูกขาด ซื้อกิจการสำคัญ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ แทรกแซงสื่อ แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ซื้อเสียงจากชาวบ้านในการเลือกตั้ง ชาวบ้านได้ผลประโยชน์ส่วนหนึ่งจากประชานิยม แต่ชนชั้นนำและเหล่าบริวารได้ผลประโยชน์ไปเต็มๆจากการหลอกลวงประชาชนและการทุจริตคอร์รัปชั่นหลายแสนล้าน แล้วมันเกี่ยวกับประชุมเชียร์ยังไง? ก็ประชุมเชียร์มิใช่หรือที่สอนให้ต้องเคารพรุ่นพี่ เคารพผู้อาวุโส แต่ไม่อธิบายว่าต้องเคารพคนดีเท่านั้น ไม่เคยมีการบอกเหตุผล ไม่เคยมีการพูดถึงศีลธรรมจริยธรรมในการรับน้องประชุมเชียร์ ทั้งๆที่มันสำคัญที่สุดเพราะอยู่ในช่วงจุดเปลี่ยนของชีวิต มีแต่พูดกันเรื่อง ”รุ่น” จนเป็นที่มาของระบบใช้เส้นสายในระบบอุปถัมภ์ที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบต่อกัน สอนแต่คำว่าอดทน อดทนกับสิ่งเลวร้ายแต่ไม่สอนให้แก้ไขสิ่งเลวร้ายในชาติบ้านเมืองนี้ นิ่งเฉยอดทนไปวันๆกับความเลวร้ายในบ้านเมืองนี้จนชั่วครองเมืองไปหมด พอโตเป็นผู้ใหญ่ เอ้า สังคมไทยมีระบบอุปถัมภ์แฮะ ไปเราพี่น้องกัน พรรคพวกเดียวกันต้องช่วยกันอย่างโน้นอย่างนี้นะ ติดสินบน ใช้เส้นสายกันเข้าไว้ win win กันไป เอาเข้าไป คนโกงชาตินะหรือ? ระบบอุปถัมภ์ก็เป็นที่มาของการโกงอยู่แล้ว ไม่สนหรอกโกงไม่โกง เห็นใครมีเงินมาก มีผลประโยชน์ให้มากก็ไหว้เข้าไป เคารพไปโดยไม่ดูความดีความชั่ว ได้เงินได้ผลประโยชน์กลับไปกินดีอยู่ดีกันแล้ว ใครไม่ใช่พวกกูไม่สน ปล่อยมันไป แบ่งแยกมันไป ชาวบ้านก็ไม่ต่างกัน บอกโกงได้ไม่เป็นไรแต่ขอให้ทำงาน (ทั้งๆที่งานทำไป โกงไป มันจะมีประสิทธิภาพดีได้อย่างไร คนที่รับกรรมคือประชาชน ไม่คิดกัน) ชาวบ้านอยู่ในสภาวะที่พึ่งตนเองไม่เป็น ได้แต่เรียกร้องหาชนชั้นนำในการโกงชาติให้มาช่วยเหลือ ชาวบ้านอีกกลุ่มที่ไม่สนับสนุนคนโกงซึ่งเพียงเห็นต่างและไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เขามีสิทธิควรได้ ก็ถูกกีดกันออกไปอย่างไม่สนใจใยดีว่าพวกเขาเป็นอย่างไร ประชุมเชียร์มีปัญญาสอนได้แค่ให้อดทน อดทนจนชั่วครองเมือง จนทนกันไม่ไหวระเบิดออกมากลายเป็นกระแสสงครามประชาชน จากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เกิดความแตกแยกในชาติของเราอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งๆที่ทุกคนก็คือคนไทยด้วยกันทั้งนั้น นี่แหละคือผลพวงแห่งระบบอุปถัมภ์แบ่งชนชั้นที่สร้างปัญหาให้ชาติมากมายถึงเพียงนี้

สำหรับในแง่ของความเป็นเผด็จการก็เช่นกัน การประชุมเชียร์นั้นเป็นลักษณะของการสั่งการโดยรุ่นพี่สั่งให้รุ่นน้องทำอะไรก็ตามที่รุ่นพี่สั่งให้ทำ และมีการสร้างสภาวะกดดันทางจิตใจให้แก่รุ่นน้องอย่างชัดเจน เช่นการกำหนดจำนวนคนเข้าประชุมเชียร์ว่าในครั้งหน้าคุณต้องพาเพื่อนคุณมาให้ได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้ ทั้งๆที่มันเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยอยู่แล้ว การประชุมเชียร์คือการเข้ามาฟังรุ่นพี่บ่น มาฟังรุ่นพี่ว้าก ซึ่งก็ว้ากเรื่องจริงบ้าง เพ้อเจ้อเมกกันขึ้นมาเองบ้าง แล้วใครหน้าไหนมันจะอยากมา คนที่เข้าจะมีแนวโน้มน้อยลงเสมอ แต่รุ่นพี่จะกำหนดโควตาให้มากขึ้นสวนทางกับจำนวนที่น้อยลง คนไม่เข้าประชุมเชียร์ก็ไม่โดนลงโทษอะไรอยู่แล้ว โดดไปสบายๆ คนไม่เข้านั้นก็มีสาเหตุอยู่ไม่กี่อย่าง คือบ้านอยู่ไกล กับไม่อยากเข้า คงมีไม่กี่คนหรอกที่เขาจะมาคิดว่า “เพื่อนที่เข้าไปเป็นไงบ้างนะ เราจะเข้าไปบ้างดีไหม” ส่วนคนเข้านั้นแม้จะเป็นการเข้าเพราะอยากรู้สถานการณ์ หรือเข้าเพราะรับผิดชอบ รักเพื่อน ไม่รู้จะโดดไปทำไม (เช่นผมที่เข้าทุกครั้งจึงรู้และเอามาบอกเล่า) ก็คือคนที่จะโดนบ่น โดนว้ากแทนเพื่อนที่ไม่เข้า ดังนั้นคนที่เข้าก็เจอสภาวะกดดันทางจิตใจ เช่นการต้องคิดว่าเราจะทำยังไงให้เพื่อนมาเข้าประชุมเชียร์เยอะขึ้น ซึ่งเมื่อเราพยายามจะชวนเพื่อนเข้ามาเพื่อแสดงให้รุ่นพี่ดูว่าเราทำได้ก็ไม่สำเร็จอยู่ดี เพราะเพื่อนที่ไม่เข้าย่อมรู้อยู่แล้วว่า “เข้าไปโดนว้ากจะเข้าไปทำไม” เป็นเรื่องธรรมดาที่เราไปบังคับจิตใจคนอื่นไม่ได้ ช่วงรับน้องประชุมเชียร์ที่เรียกกันว่า “ช่วงว้าก”นี่แหละคือช่วงที่รุ่นน้องถูกกดดันมากที่สุด ผมไม่แปลกใจเลยถ้ามีคนต้องฆ่าตัวตายเพราะระบบรับน้องประชุมเชียร์ จากที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าระบบนี้ไม่มีความยุติธรรมในแง่ที่ว่า คนโดดไม่เป็นไร แต่คนเข้ากลับโดนว้าก แม้คนเข้าจะได้ประสบการณ์ชีวิตก็ตาม แต่อย่างไรคนก็ย่อมคิดในแง่คิดแรก(โดดรอด เข้าโดน)มากกว่าอยู่ดี ถ้าคนที่จิตใจมีธรรมะไม่มากพอ ก็อาจจะคิดต่อไปในแง่ที่ว่า “ทำไมทำดีไม่ได้ดี” ซึ่งความคิดแบบนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิในทางธรรม คือความคิดเห็นผิดไปจากทำนองคลองธรรมเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายทั้งปวง จึงสรุปได้ว่า ระบบรับน้องและประชุมเชียร์ในปัจจุบันเป็นระบบเก่า ระบบน้ำเน่าที่ล้าหลังและไม่พัฒนา ไม่ต่างจากการเมืองน้ำเน่าหรือละครน้ำเน่าเลย เป็นการใช้ระบบอำนาจนิยมอย่างชัดเจน จึงไม่มีความชอบธรรม เป็นรากเหง้าของความเลวร้ายก่อวิกฤตในประเทศไทยทุกวันนี้โดยไม่รู้ตัว แล้วเราจะรักษาความเก่าของระบบนี้ไว้อีกนานแค่ไหน ลูกหลานไทยต้องทรมาน ต้องตายกันอีกกี่คนเพื่อสังเวยระบบรับน้องประชุมเชียร์ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรปฏิรูประบบรับน้องประชุมเชียร์ใหม่เสียที!

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ประสบการณ์ในการถูกรับน้องและการประชุมเชียร์)

บทที่ 2

ประสบการณ์ในการถูกรับน้องและการประชุมเชียร์

ผมจะขอเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้พบเจอในคณะที่ผมกำลังศึกษานี้ก่อน ซึ่งอาจจะมีทั้งส่วนที่เหมือนและต่างกับคณะในประสบการณ์ของท่าน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเบื้องต้นเสียก่อน

วันแรกพบคณะจัดขึ้นในวันเสาร์ถัดจากวันสอบสัมภาษณ์ทันที เพื่อให้น้องใหม่ได้พบกับรุ่นพี่ กิจกรรมมีตั้งแต่เช้าถึงประมาณสี่โมงเย็น ในช่วงเช้ามีกิจกรรมสันทนาการตามปกติ เล่นเกมส์ ร้องรำทำเพลง ดูรุ่นพี่โชว์เชียร์ลีดเดอร์ และดูรุ่นพี่สันทนาการแต่งตัวประหลาดๆโชว์เต้นแร้งเต้นกากันไป ไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งพักเที่ยงเข้าสู่ช่วงบ่าย...

บ่ายวันนั้นทำให้รุ่นน้องได้รู้ความจริงว่า การรับน้องนั้นมันโหดอย่างไร แม้ว่ามันจะไม่โหดดิบถ่อยเถื่อนเหมือนพวกช่างกลก็เถอะ โดยให้แบ่งรุ่นน้องเป็นกลุ่มไปตามฐาน ซึ่งฐานส่วนใหญ่นอกจากโหดแล้วยังซ้ำซาก คือการดัดแปลงซุ้มของภาควิชาให้เป็นถ้ำนรก โดยนำผ้าใบสีดำมาปิดล้อมทุกด้าน ให้รุ่นน้องผูกผ้าปิดตาแล้วต่อแถวเข้าไปในซุ้มซึ่งมีรุ่นพี่ทั้งหลายตะโกนแหกปากเอะอะโวยวายอย่างบ้าคลั่งอยู่ข้างใน เมื่อเข้าไปแล้วก็จะเผชิญเสียงบ้าคลั่งเหล่านั้นตะโกนถามชื่อหรือถามอะไรก็แล้วแต่ พร้อมๆกับละเลงแป้งละเลงน้ำใส่ บางคนก็ให้ชิมอะไรแปลกๆเป็นต้น แล้วก็เป็นอย่างนี้หลายฐาน ฐานบางฐานไม่เป็นก็โอเคหน่อย ส่วนประเภทกินของต่อกันก็เจอให้กินกล้วยต่อกันคนละคำฐานนึง เรียกว่ายังเชยอยู่เพราะไม่รู้จักคำว่าไวรัสตับอักเสบบี จบจากรับน้องวันนั้นได้ข้อคิดว่า”ปัญญาชนเมืองไทยเป็นบ้าอะไรเนี่ย”

ต่อมามีการรับน้องภาควิชา อันนี้ถือว่ายังดี ในแต่ละฐานมีกิจกรรมที่มีสาระ ไม่ค่อยมีตะโกนบ้าๆบอๆ ฉะนั้นขอชมเชย ไม่มีอะไรต้องวิพากษ์วิจารณ์

การประชุมเชียร์เป็นกิจกรรมรับน้องคณะที่จัดขึ้นต่อมาเป็นระยะเวลา 1 เดือน ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี ซึ่งผมเข้าทุกครั้งจนรู้ความเป็นไปอย่างดี ในครั้งแรกจะไม่กดดันมากนัก เป็นการแนะนำตัวพี่ว้ากและอธิบายกฎกติกาในการประชุมเชียร์ โดยใช้บรรยากาศภายใต้ระเบียบประชุมเชียร์ทันที และได้มอบการบ้านให้ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัย ครั้งต่อมาเรียกสปิริตให้มาตอบคำถาม และมอบการบ้านให้ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติคณะ ถัดมาอีกครั้งก็ตอบคำถามประวัติคณะ และมอบให้ไปหาความหมายของคำว่า SOTUS และการบ้านหลักที่ให้ทุกคนช่วยกันทำคือ ทำบอร์ดรายชื่อและรูปภาพของพวกเรารุ่นน้องทุกคนในคณะ ในแต่ละครั้งจะมีช่วงผ่อนคลายสอนร้องเพลงหลังจบการประชุมเชียร์

หลังจากนั้นการประชุมเชียร์ในครั้งต่อๆมาก็จะโหดและเพิ่มความกดดันมากขึ้น มีการตั้งโควต้ากำหนดจำนวนให้รุ่นน้องที่เข้าประชุมเชียร์ครั้งต่อไปต้องมากขึ้นให้ได้ตามที่กำหนด มีการดุด่ามากขึ้น ทั้งด่าเป็นเรื่องเป็นราวและไม่เป็นเรื่องเป็นราว ครั้นถึงกำหนดส่งบอร์ดรายชื่อปรากฏว่าทำไม่เสร็จ จึงมีการว้ากดุด่าวุ่นวายในห้องประชุมเชียร์กันอย่างรุนแรง โดยพี่ว้ากและคณะที่ยืนรายรอบรุ่นน้องหลายสิบคน ในครั้งสุดท้ายสามารถทำบอร์ดรายชื่อสำเร็จได้ แต่ก็ต้องมาร้องเพลงกันหลายสิบรอบ จนกระทั่งจบเข้าสู่พิธีปิดการประชุมเชียร์(อธิบายละเอียดในวรรคท้าย บทที่ 4)

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ประชุมเชียร์ คืออะไร?)

บทที่ 1

ประชุมเชียร์ คืออะไร?

สำหรับความหมายของการประชุมเชียร์นั้นคงไม่ได้มีการบันทึกไว้ใน

พจนานุกรมหรือตำราทางวิชาการชัดเจนนัก ผมจึงขออนุญาตอธิบาย

ความหมายและลักษณะให้กับท่านผู้อ่าน โดยอาศัยจากประสบการณ์ของ

ผมเอง

ประชุมเชียร์ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการรับน้อง จะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา

1 – 2 เดือน สัปดาห์ละประมาณ 2 ครั้ง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในที่

อื่นๆ

ประชุมเชียร์คือการเข้าประชุมของรุ่นน้องชั้นปี 1 ของคณะนั้นๆ และจะมี

กลุ่มพี่อบรมที่เรียกกันในภาษาพูดว่า “พี่ว้าก” เป็นผู้ควบคุมการประชุม

ลักษณะการประชุมไม่ใช่การพูดคุยสัมมนาหรือการบันเทิง แต่จะเป็นการ

ฝึกเพื่อสร้างระเบียบวินัยและความสามัคคี ในที่ประชุมเชียร์นั้นไม่ใช้

ไมโครโฟน จะใช้การตะโกนด้วยปากเปล่าแทน ช่วงที่กล่าวมานี้จะเรียก

ว่า “ระเบียบประชุมเชียร์” กิจกรรรมนั้นจะเป็นการอธิบายกฎเกณฑ์ต่างๆ

การเรียกนิสิตปี 1 ที่มีความกล้าซึ่งเรียกว่า “สปิริต” ให้ออกมาตอบ

คำถามที่ได้สั่งไว้ในคราวก่อน หรือถามความคืบหน้าในการบ้านที่สั่งให้

ไปช่วยกันทำ และกิจกรรมอื่นๆซึ่งอาจต่างกันไปในแต่ละสถาน

ที่

บรรยากาศในการประชุมเชียร์จะมีตั้งแต่ระดับปกติ (ระดับเครียดน้อย

สำหรับคนที่ไม่ชอบอยู่แล้ว) ไล่ไปจนถึงระดับเครียดมาก สร้างความ

กดดันให้รุ่นน้องเต็มที่ (สำหรับคนที่ไม่ชอบอยู่แล้วจะไม่เผชิญระดับ

เครียดมาก เพราะเผ่นตั้งแต่ระดับปกติแล้ว) แต่ในการประชุมเชียร์นั้นก็มี

ช่วงผ่อนคลาย คือปิดประชุมเชียร์ แล้วเป็นการสอนน้องร้องเพลง แจก

น้ำแจกขนมกันไป

การประชุมเชียร์จะมีอุดมการณ์ที่เรียกว่า SOTUS

เป็นข้อปฏิบัติที่มุ่งหวังให้ทุกคนนำไปปฏิบัติให้ได้เพื่อแสดงออกถึงความ

เป็นรุ่น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คำว่า SOTUS มีความหมายดังนี้

S – SENIORITY = เคารพต่อผู้ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิสูงกว่าตนเอง

O – ORDER = ปฏิบัติตามคำสั่งที่ดี

T – TRADITION = ปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี

U – UNITY = มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

S – SPIRIT = มีความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง

ฟังแล้วก็ถือว่าดูดีนะครับ แต่ว่าการปฏิบัติที่ทำกันมานั้น ความสำคัญอยู่ที่

ว่ารุ่นน้องได้สิ่งเหล่านี้ไปมากน้อยเพียงใด และคุ้มหรือไม่กับการเสียเวลา

เสียจิตมาทำอะไรแบบนี้ นี่คือคำถามที่ขอฝากไว้


สำหรับการประชุมเชียร์ในมหาวิทยาลัยอื่น คณะอื่นนั้นเป็นอย่างไรในตอน

นี้ข้าพเจ้าก็ยังไม่ทราบนัก แต่ที่แน่ๆทุกมหาวิทยาลัยจะต้องมีการกล่าว

ขานกันอยู่เสมอว่า คณะนั้น คณะนี้ประชุมเชียร์โหด รับน้องหนัก ไหนจะ

ยังมีเรื่องรับน้องนอกสถานที่ โดยไม่มีอาจารย์รู้เห็นอีกมากมาย...