วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS) (บทนำ)

วิพากษ์ว้าก เป็นบทความชุดที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงการวิพากษ์วิจารณ์ระบบรับน้องและ
การ
ประชุมเชียร์ของมหาวิทยาลัยภายใต้กฎโซตัส(SOTUS) ซึ่งเป็นที่นิยมของมหาวิทยาลัย
หลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนบนโลกไซเบอร์ได้เคยวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงกันเป็นจำนวนมากถึงระบบนี้ที่แท้จริงแล้วว่ามันขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ นี่จึงเป็นบทความของบุคคลคนหนึ่งที่ใช้นามปากกาว่า "คนเก๋าแห่งแผ่นดิน" ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบนี้ อยากให้ทุกท่านได้เข้ามาอ่าน คิด และร่วมวิพากษ์วิจารณ์ไปกับเรา เนื่องในโอกาสที่เดือนนี้เป็นเดือนเริ่มต้นของเทศกาลรับน้องใหม่กันครับ


การรับน้อง วัฒนธรรมที่มีมายาวนานในสังคมไทย อันเป็นเรื่องราวภายในมหาวิทยาลัยที่รุ่นพี่จัด

ขึ้นเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ คือรุ่นน้องที่ฝ่าฟันอุปสรรคในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยมา

เป็นนิสิตนักศึกษาปี 1 ได้ โดยการรับน้องนั้นมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้รุ่นพี่และรุ่นน้องได้

ทำความรู้จักกัน เกิดความสมัครสมานสามัคคีและความเคารพต่อกัน

แต่ในปัจจุบัน ปัญหาการรับน้องรุนแรงก็ยังคงมีปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ให้เห็นทุกปี อดีต

เรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งปัญหาการรับน้องที่รุนแรงถึงขั้นเป็นข่าวนั้น เป็นการรับน้องของรุ่นพี่ที่ไร้

มนุษยธรรมบวกโรคจิตเต็มขั้น กระทำการทำร้ายร่างกายและจิตใจของรุ่นน้องด้วยวิธีการพิสดาร

ทำให้บาดเจ็บสาหัส จนถึงกับเสียชีวิตก็มี และยังไม่ทราบว่าในปีต่อๆไป เหตุการณ์สลดใจเช่นนี้

จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่

การรับน้องรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่แท้จริงของการรับน้อง เพียง

แต่เป็นการตอบสนองตัณหาของคนโรคจิตเท่านั้น

ปัญหาการรับน้องรุนแรงเป็นปัญหาใหญ่ข้อหนึ่งที่สังคมไทยพยายามหาทางแก้ไขเรื่อยมา ผม

ขอสนับสนุนและอวยพรให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อลูกหลานของเราในภายภาคหน้าไม่ต้องบาดเจ็บ

เสียชีวิตเพื่อสนองตัณหาคนบ้าอีกต่อไป

ส่วนตัวผมนั้น แม้ไม่ได้ประสบพบเจอกับการรับน้องรุนแรงไร้มนุษยธรรม โรคจิต โหด ดิบ ถ่อย

เถื่อน ก็ตามที ผมนั้นพบแต่การรับน้องแบบปกติที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ทำกัน แต่ทว่าในความ

ปกตินี้ มันก็ไม่ปกติเสียทีเดียวนัก มันเป็นความรุนแรงแอบแฝงหรือภัยสีขาวเสียมากกว่า สิ่งที่ได้

พบเจอนั้นมันเป็นวัฒนธรรมของความเคยชิน คนดูละครน้ำเน่า ดูเพราะความเคยชินในความ

สนุกสะใจ เคยชินกับภาพนางร้ายตบตีนางเอก ทั้งที่มันไม่มีสาระความถูกต้องที่สร้างสรรค์สังคม

แต่ก็ดูกันจนเป็นเรื่องปกติ การรับน้องก็คงไม่ต่างอะไรกับที่ยกตัวอย่างมานี้ ชัดเจนที่สุดคือหนึ่ง

ในกิจกรรมรับน้องอย่าง ”การประชุมเชียร์”

ที่ปกติในความไม่ปกติ มันใช่จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมอำนาจนิยม ที่เป็นปัญหาของสังคมไทย

ทุกวันนี้หรือไม่? เราจึงต้องมาวิพากษ์วิจารณ์ ตีแผ่ สะสางเรื่องราวการรับน้องกันกับ

“วิพากษ์ว้าก” เล่มนี้ครับ